TNN online รู้จัก "สมองส่วนหน้าเสื่อม" โรคที่พระเอกดัง "บรูซ วิลลิส" กำลังเผชิญ

TNN ONLINE

Health

รู้จัก "สมองส่วนหน้าเสื่อม" โรคที่พระเอกดัง "บรูซ วิลลิส" กำลังเผชิญ

รู้จัก สมองส่วนหน้าเสื่อม โรคที่พระเอกดัง บรูซ วิลลิส กำลังเผชิญ

ทำความรู้จัก "สมองส่วนหน้าเสื่อม" มีอาการอย่างไร โรคที่พระเอกดังระดับตำนาน "บรูซ วิลลิส" กำลังเผชิญ

ทำความรู้จัก "สมองส่วนหน้าเสื่อม" มีอาการอย่างไร โรคที่พระเอกดังระดับตำนาน "บรูซ วิลลิส" กำลังเผชิญ


ครอบครัวของ "บรูซ วิลลิส" อดีตนักแสดงระดับตำนานจากบทบาทของนายตำรวจนิวยอร์กในภาพยนตร์เรื่อง "Die Hard" เปิดเผยว่า คณะแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยอาการป่วยของบรูซครั้งล่าสุดซึ่งพบว่า ป่วยด้วยโรคสมองส่วนหน้าเสื่อม (Frontotemporal Dementia - FTD) ความยากลำบากในการสื่อสารเป็นหนึ่งในอาการของโรคที่บรูซกำลังเผชิญ ถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะเจ็บปวด แต่พวกเราก็รู้สึกโล่งใจที่เขาได้รับการวินิจฉัยที่ชัดเจนในที่สุดในขณะนี้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2565 ครอบครัวของบรูซ วิลลิส ได้ออกแถลงการณ์ผ่านทางอินสตาแกรมว่า บรูซจำเป็นต้องยุติอาชีพนักแสดง หลังจากแพทย์วินิจฉัยว่าเขาเป็นโรคอะเฟเซีย ซึ่งข่าวดังกล่าวได้สร้างความตกใจให้กับแฟนภาพยนตร์ทั่วโลก โดยครอบครัวโพสต์คำแถลงดังกล่าวพร้อมโพสต์รูปของบรูซ และลงชื่อของทุกคนในครอบครัว 


Frontotemporal dementia(FTD) คือ โรคสมองเสื่อม ที่มีพยาธิสภาพอยู่ในสมองบริเวณ frontal lobe และ anterior temporal lobe ทำให้มีอาการ ได้แก่ ความผิดปกติทางพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพ การเข้าสังคม การวางแผนตัดสินใจ และการใช้ภาษา การวินิจฉัย Frontotemporal dementia ให้ได้มีความสําคัญเพราะนอกจากเป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 3 (รองลงมาจาก Alzheimer’s diseaseและ Dementa withLewy bodies ตามลาดับ) ํหรือพบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี


อาการของ Frontotemporal dementia ยังคล้ายคลึงกับ อาการของโรคทางจิตเวชหลายชนิด ทําให้บางครั้งการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมชนิดนี้เป็นเรื่องยาก ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางด้านความรู้ในการวินิจฉัยอาการทางคลินิก ด้านรังสีวินิจฉัย หรือด้าน molecular imaging จะช่วยเพิ่มความแม่นยําในการวินิจฉัยแยกโรคFrontotemporal dementia ออกจากโรคทางจิตเวชแต่ก็ไม่ได้มีใช้แพร่หลายทั่วไปและอาจมีราคาสูง การมีความรู้เกี่ยวกับอาการทางคลินิกและการใช้รังสีวินิจฉัย

เบื้องต้นที่ช่วยให้นึกถึงการวินิจฉัยนี้ยังคงมีความจำเป็น และใช้molecular imaging ในรายที่จำเป็นเพื่อช่วยในการวางแผนการการรักษาที่เหมาะสม


ลักษณะอาการทางคลินิก

FTD จะมีลักษณะอาการทางคลินิกแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่


1. Behavioral-variant FTD (bvFTD): มีความ ผิดปกติทางพฤติกรรมและการวางแผนตัดสินใจ ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้อย่างปกติพฤติกรรมผิดปกติที่สามารถพบได้ได้แก่ ขาดความยับยั้งชั่งใจวางตัวในสังคมไม่เหมาะสม เฉยเมย ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การทําพฤติกรรมซ้ำ และ hyperorality สามารถพบ echolalia หรือ mutism ได้ใน FTD ระยะหลัง นอกจากนี้ยังมี cognitive impairment ในด้าน fluency,mental flexibility, responseinhibition,socialcognition และ disease insight แต่ยังไม่กระทบด้านความจำและ visuospatial การที่ผู้ป่วย FTD สามารถทำกิจวัตรประจําวันได้ลดลง นอกจากเป็นผลจากการสูญเสีย executivefunction แล้ว ยังเป็นผลมาจากการสูญเสียความสามารถในการเปลี่ยนกิจกรรมที่ทํา หรือการยับยั้งชั่งใจเพื่อทําตามเป้าหมายในแต่ละวันได้


2. Non-fluent variant primary progressive aphasia(nfvPPA): มีความผิดปกติในการใช้ภาษาทางด้านไวยากรณ์มีปัญหาในการนึกคำพูด พูดตะกุกตะกักไม่ต่อเนื่อง หรือต้องใช้ความพยายามอย่างมากใช้คำผิด ความหมายหรือผิดหลักไวยากรณ์หรือไม่สามารถเข้าใจประโยคที่ซับซ้อนได้


3. Semantic-variant primary progressiveaphasia (r-svPPA, l-svPPA): มีความผิดปกติในการบอกชื่อสิ่งต่างๆ และ semantic knowledge พูดได้คล่องปกติแต่พูดอ้อมค้อมหรือใช้คําที่ไม่จําเป็น


อาการของ FTD ที่ต่างกันนอกจากขึ้นกับบริเวณในสมองที่ผิดปกติแล้ว ซีกของสมองก็มีผลต่อ อาการของ FTD เช่นกัน โดยผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่สมองซีกขวาเป็นหลัก (bvFTD,r-svPPA) มักจะมีอารมณ์เย็นชามีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว และมีปัญหาพฤติกรรรมที่มักถูกเข้าใจว่าเป็นอาการทางจิตเวช ใน


ขณะที่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่สมองซีกซ้ายเป็นหลัก (l-svPPA) มักมีความผิดปกติในการใช้ภาษา  หากตัวโรค FTD เป็นมากขึ้นผู้ป่วยสามารถมีอาการของ FTD ทั้ง 3 ชนิดรวมกันได้เนื่องจากพยาธิสภาพได้กระจายกว้างขึ้นในสมองส่วน frontal lobe และ temporal lobe


ท้ายสุดผู้ป่วยจะมี globalcognitiveimpairment และในบางคนอาจมีความผิดปกติทาง motor ได้แก่ parkinsonismและmotorneuron disease ผู้ป่วย FTDระยะสุดท้ายจะมีปัญหาในการกิน การเคลื่อนไหว และการกลืน มักเสียชีวิตหลังจากมีอาการประมาณ 8 ปี ส่วนใหญเสียชีวิตจากปอดติดเชื้อหรือ secondary infection การมีmotor symptoms ร่วมด้วยบ่งบอกถึง prognosis ที่ไม่ดี


ปัญหาพฤติกรรมที่เป็นผลจากโรคสมองเสื่อม

-อายุที่เริ่มต้นป่วย 

เริ่มมีอาการครั้งแรกตอนอายุมากกว่า50 ปี

-การเริ่มต้น 

ส่วนใหญ่มักเป็นอย่างรวดเร็ว หรือมีเป็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยฉับพลันโดยอาจไม่มีความเครียด หรือ stressful lifeevent ใดๆ นํามาก่อน

-อาการ

ปัญหาพฤติกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของโรคทางกาย หรือ โรคสมองเสื่อมอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปมา(fluctuation)ได้ ผู้ป่วยและญาติอาจไม่สังเกตปัญหาเรื่องของ cognitivefunction แต่ถ้าหากประเมิน cognitivefunctionอาจพบความผิดปกติของ cognitive domain ใดๆ ก็ได้ขึ้นกับสาเหตุของโรคนั้น ที่พบบ่อยได้แก่ memory,executivefunction และ visuospatial อาการร่วม เช่น ภาพหลอนหรือประสาทหลอน ในลักษณะอื่นๆ มากกว่าหูแว่ว

-การตรวจทางระบบประสาท

อาจตรวจพบความผิดปกติ(neurological sign) ที่อธิบายอาการที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่ชวนให้นึกถึงโรคทางระบบ ประสาท เช่น ปฏิกิริยาหรือผลข้างเคียงของยาทางจิตเวชที่ไวเกินกว่าปกติได้แก่ sensitivetoantipsychotic, SSRIinduced severe parkinsonism, lithium intoxication


สัญญาณแรกที่บ่งบอกภาวะสมองเสื่อม กรมการแพทย์ เคยให้ข้อมูลดังนี้ 

แม้จะมองเห็นได้ยากมาก ไม่ชัดเจน และอาการจะค่อยเป็นค่อยไปจนไม่สามารถมองเห็นได้ในทันที แต่ญาติและบุคคลใกล้ชิดก็สามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

1. หลงลืมบ่อยกว่าเคย: จำเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้

2. รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่ทำอยู่ประจำรู้สึกว่าสิ่งที่เคยทำเป็น เรื่องยากเช่น ลืมขั้นตอนทำ อาหารที่ทำบ่อย ๆ

3. ติดขัดในการใช้ภาษาสื่อสารกับผู้อื่นยากขึ้น พูดจาติดขัด ลืมคำศัพท์ง่ายๆ

4. สับสนในการลำดับเหตุการณ์ : รวมทั้งหลงวันเวลา สับสนเรื่องสถานที่

5. ตัดสินใจช้า หรือผิดพลาด : แก้ปัญหาไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องยากๆหรือ สถานการณ์ที่ต้องใช้ความคิด

6. สมาธิสั้น วอกแวกง่าย: ไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องอะไรนาน ๆ ได้

7. วางของผิดที่ผิดทาง : และไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ผิด เช่น เอาโทรศัพท์

 ไปใส่ตู้เย็น

8. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป : บุคลิกภาพเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

9. มีปัญหามิติสัมพันธ์ : งงกับป้ายสัญญาณที่เห็นอยุ่ประจำ ทำความเข้าใจภาพได้ยาก อ่านแผนที่ไม่เป็น ไม่สามารถบอกทางผู้อื่นได้

 ไม่เห็นภาพสำเร็จที่ตนเองกำลังลงมือทำ

10. แยกตัวจากสังคม : นั่งหรือนอนทั้งวัน ไม่อยากเจอผู้คน เก็บตัว





ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย / กรมการแพทย์

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง