TNN online “เมลาโทนิน” ฮอร์โมนช่วยการนอน รู้จักประโยชน์และข้อควรระวัง

TNN ONLINE

Health

“เมลาโทนิน” ฮอร์โมนช่วยการนอน รู้จักประโยชน์และข้อควรระวัง

“เมลาโทนิน” ฮอร์โมนช่วยการนอน รู้จักประโยชน์และข้อควรระวัง

เมลาโทนิน คือฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างได้เองตามธรรมชาติ และสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาในรูปแบบของอาหารเสริม เพื่อช่วยให้นอนหลับง่าย แต่การบริโภคเมลาโทนินมากจนเกินไป ก็สามารถส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เหมือนกัน

เมลาโทนิน (Melatonin) คือฮอร์โมนที่สมองเราสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติ  เพื่อช่วยควบคุมการนอนและเป็นนาฬิกาชีวภาพ หรือ Circadian Rhythm ของร่างกาย โดยสมองจะหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นมาในช่วงเวลากลางคืน ทำให้ร่างกายรู้สึกง่วงและทำให้หลับ นอกจากเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างโดยธรรมชาติ เรายังสามารถผลิตเมลาโทนินด้วยวิธีการสังเคราะห์ได้แล้ว โดยมักผลิตเป็นอาหารเสริมหรือผลิตเป็นยาในการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ

ประโยชน์ของเมลาโทนิน ที่มาให้รูปแบบของอาหารเสริม มีดังนี้
  • รักษาโรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
  • รักษาความผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพ
  • รักษากลุ่มอาการนอนหลับผิดเวลา (Delayed sleep phase syndrome) อาการของโรคนี้คือไม่สามารถนอนหลับก่อนเวลาตีสองได้
  • บรรเทาอาการง่วงนอนเนื่องจากเจ็ทแลค (Jet lag)
  • ช่วยคนที่ทำงานเป็นกะ (Shift work) ให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ดี จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการทางการแพทย์ JAMA international medicine ในปี  2018 พบว่า มีจำนวนประชาชนอเมริกันที่บริโภคอารเสริมเมลาโทนิน เพิ่มมากขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปี ก่อนหน้า และในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ผู้คนจำนวนมากหันไปเพิ่งเมลาโทนินเพื่อช่วยในการนอนหลับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะความเครียด ที่ส่งผลทำให้นอนไม่หลับ

ข้อควรระวังคือ ยาเม็ดที่ขายอาจมีระดับเมลาโทนินที่สูงกว่าที่โฆษณาบนฉลากมาก เพื่อให้การบริโภคต่อครั้งได้ประสิทธิภาพ และให้การนอนหลับสนิทเห็นผลมากขึ้น น่ากลัวที่การตรวจสอบข้อมูล พบว่า บ่อยครั้งก็อาจมีเป็นปริมาณเมลาโทนินที่ไม่ได้ควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ด้วย

แม้ว่าเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกาย แต่การใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนดังกล่าว อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากการได้รับฮอร์โมนนี้ติดต่อกันในระยะยาว โดยอาการเริ่มแรกที่เป็นสัญญาณบอกถึง ผลข้างเคียงระยะสั้น ของการบริโภคเมลาโทนินมากขึ้นไป ได้แก่ อาการง่วงเหงาหาวนอนระหว่างวัน ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการคลายเจ็ตแล็ก

หากต้องการนอนกลับสนิท โดยที่การทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนินยังทำงานอย่างเป็นปกติ ทางที่ดีที่สุดคือการฝึกสมองทำงานอย่างเป็นระบบ โดยการเข้าและตื่นนอนให้ตรงเวลาในทุกวัน ไม่เว้นแม้แต่ในช่วงวันหยุด งดใช้เครื่องมือสื่อสารที่หน้าจอมีแสงสีฟ้า เพราะรบกวนการทำงานของคลื่นสมอง ซึ่งนั่นรวมถึง โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต และการดูโทรทํสน์ก่อนนอน นอกจากนี้การหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายสมอง ในช่วยก่อนเข้านอนก็ช่วยได้ อย่างเช่น การอ่านหนังสือ หรือการทำสมาธิ


ขอบคุณข้อมูลจาก CNN / Forbes / Bumrungrad/ Facebook: TNN Health


ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo

หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://www.facebook.com/TNN16LIVE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง