TNN “เอเชีย” เป็นภูมิภาคได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุดของโลก จากสภาพอากาศสุดขั้ว ในปี 2566

TNN

Earth

“เอเชีย” เป็นภูมิภาคได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุดของโลก จากสภาพอากาศสุดขั้ว ในปี 2566

“เอเชีย” เป็นภูมิภาคได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุดของโลก จากสภาพอากาศสุดขั้ว ในปี 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยข้อมูล เอเชียเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุดของโลกจากสภาพอากาศสุดขั้ว ในปี 2566 น้ำท่วมและพายุเป็นสาเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต-สูญเสียทางเศรษฐกิจสูงสุด

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยข้อมูลจาก องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยระบุว่า เอเชียเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุดของโลกจากสภาพอากาศสุดขั้ว ในปี พ.ศ. 2566 โดยน้ำท่วมและพายุเป็นสาเหตุทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตและการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ในขณะที่ผลกระทบจากคลื่นความร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบอย่างหนักจากสภาพอากาศสุดขั้วที่มีต่อเอเชีย


รายงานล่าสุดจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เอเชียเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุดของโลกจากสภาพอากาศสุดขั้ว ในปี พ.ศ. 2566 โดยน้ำท่วมและพายุเป็นสาเหตุทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตและการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ในขณะที่ผลกระทบจากคลื่นความร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วยโดยสาระสำคัญได้กล่าวถึง

- แนวโน้มภาวะโลกร้อนในระยะยาวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

- เอเชียเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติมากที่สุดในโลก

- อันตรายจากน้ำถือเป็นภัยคุกคามอันดับต้นๆ ในขณะที่ความร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น

- ธารน้ำแข็งที่กำลังละลายคุกคามความมั่นคงทางน้ำในอนาคต

- อุณหภูมิผิวน้ำทะเลและความร้อนจากมหาสมุทรพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์


รายงานสถานะสภาพภูมิอากาศของภูมิภาคเอเชียปี พ.ศ. 2566 แสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ เช่น อุณหภูมิพื้นผิว การเคลื่อนตัวของธารน้ำแข็ง และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศในภูมิภาคในปี พ.ศ. 2566 อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ แม้แต่มหาสมุทรอาร์กติกก็ประสบกับปัญหาคลื่นความร้อนในทะเลเอเชียร้อนขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก แนวโน้มภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่านับตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2504 – 2533


“หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียเผชิญกับปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปีค.ศ. 2023 (พ.ศ.2566) พร้อมด้วยสภาวะสุดขั้ว ตั้งแต่ภัยแล้ง คลื่นความร้อน ไปจนถึงน้ำท่วมและพายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์ดังกล่าวรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และที่สำคัญที่สุด คือชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่” 


Celeste Saulo เลขาธิการ WMO กล่าว ในปี พ.ศ. 2566 มีการรายงานภัยพิบัติทั้งหมด 79 ครั้งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันตรายทางอุตุนิยมวิทยา ในเอเชีย ตามฐานข้อมูลเหตุการณ์ฉุกเฉิน ในจำนวนนี้มีมากกว่า 80% เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมและพายุ โดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 รายและผู้คนอีก 9 ล้านคนได้รับผลกระทบโดยตรง แม้ว่าความเสี่ยงต่อสุขภาพจะ เพิ่มขึ้นจากความร้อนสุดขั้ว แต่การเสียชีวิตจากความร้อนมักไม่ได้ถูกรายงาน


“เป็นอีกครั้งที่ในปี พ.ศ. 2566 ประเทศกลุ่มเปราะบางได้รับผลกระทบ ตัวอย่างเช่น พายุหมุนเขตร้อน “โมคา (Mocha)” ซึ่งเป็นพายุไซโคลนที่มีกำลังแรงที่สุดในอ่าวเบงกอลในรอบทศวรรษที่ผ่านมา พัดถล่มบังกลาเทศและเมียนมาร์ การเตือนภัยล่วงหน้าและการเตรียมพร้อมที่ดีขึ้นได้ช่วยชีวิตผู้คนได้หลายพันคน” 


Armida Salsiah Alisjahbana เลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก(ESCAP) ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการจัดทำรายงานกล่าว และยังกล่าวอีกว่า “ในบริบทนี้ รายงานสถานะสภาพภูมิอากาศในเอเชียปี พ.ศ. 2566 คือความพยายามที่จะเชื่อมช่องว่างระหว่างวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงจากภัยพิบัติผ่านข้อเสนอนโยบายที่มี หลักฐานเชิงประจักษ์โดย ESCAP และ WMO ซึ่งทำงานร่วมกันจะเดินหน้าลงทุนในการเพิ่มความก้าวหน้าการ ดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศและเร่งดำเนินการตามนโยบายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเตือนภัยล่วงหน้าแก่ทุกคนในภูมิภาคเพื่อไม่ให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง"


ประมาณร้อยละ 80 ของสมาชิก WMO ในภูมิภาคให้บริการด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Services) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม สมาชิกน้อยกว่าร้อยละ 50 ให้ข้อมูลการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปรับแต่งซึ่งจำเป็นต่อการจัดการความเสี่ยง การปรับตัวและการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


รายงานนี้เป็นหนึ่งในชุดรายงานสถานะสภาพภูมิอากาศระดับภูมิภาคของ WMO ซึ่งเผยแพร่ในระหว่างการประชุมสมัยที่ 80 ของคณะกรรมาธิการที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ข้อมูลนี้อ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงาน

อุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาแห่งชาติ พันธมิตรของสหประชาชาติ และเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ WMO ในการจัดลำดับความสำคัญของความคิดริเริ่มและแจ้งการตัดสินใจระดับภูมิภาค


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rnd.tmd.go.th/ebook/01.pdf


“เอเชีย” เป็นภูมิภาคได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุดของโลก จากสภาพอากาศสุดขั้ว ในปี 2566



ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ