TNN เปิดรายชื่อ 52 จังหวัดเผชิญ ‘พายุฤดูร้อน’ 6- 7 พ.ค. เตือนฝนฟ้าคะนอง - ลมแรง

TNN

Earth

เปิดรายชื่อ 52 จังหวัดเผชิญ ‘พายุฤดูร้อน’ 6- 7 พ.ค. เตือนฝนฟ้าคะนอง - ลมแรง

เปิดรายชื่อ 52 จังหวัดเผชิญ ‘พายุฤดูร้อน’  6- 7 พ.ค. เตือนฝนฟ้าคะนอง - ลมแรง

เปิดรายชื่อ 52 จังหวัดเผชิญ ‘พายุฤดูร้อน’ 6 -7 พ.ค. นี้ เตือนฝนฟ้าคะนอง - ลมแรงลูกเห็บตก แนะปชช. เลี่ยงอยู่ที่โล่งแจ้ง

กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือน ‘พายุฤดูร้อน’ บริเวณประเทศไทยตอนบนซึ่งจะมีผลกระทบจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม  โดยกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด 


ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย


อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. 67 แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


จังหวัดเผชิญพายุฤดูร้อน วันที่  6 - 7 พฤษภาคม 2567


ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี


ภาคกลาง:  จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 


 ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.


สำหรับพยากรณ์ปริมาณฝนในเดือนพฤษภาคมนั้น ปริมาณฝนรวมประเทศไทยตอนบนจะน้อยค่าปกติประมาณร้อยละ 20 ส่วนภาคใต้ จะน้อยค่าปกตปิระมาณร้อยละ10โดยจะมีปริมาณฝนรวมตามภาคต่างๆดังนี้ภาคเหนือประมาณ120-160มม.ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 130 - 170 มม. ภาคกลางประมาณ 100 - 140 มม. ภาคตะวันออกประมาณ 140 - 180 มม. กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 190 - 230 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 100 - 140 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 250 - 300 มม.


อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยส่วนใหญ่จะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 - 1.5 องศาเซลเซียส โดยประเทศไทย ตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37 - 39 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่าสุดเฉลี่ย 25 - 27 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้ จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 - 36 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่าสุดเฉลี่ย 24 - 26 องศาเซลเซียส


สำหรับ เดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน ปกติสภาวะอากาศในระยะครึ่งแรกของเดือนจะยังคง มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป และมักเกิดพายะฝนฟ้าคะนองหรือพายุฤดูร้อนได้บ่อยครั้ง และในบางครั้งอาจมีลูกเห็บตก ได้ด้วย จากอิทธิพลของความกดอากาศต่าเนื่องจากความร้อน ส่วนระยะครึ่งหลังของเดือน ซึ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน อุณหภูมิ จะลดลงและมีฝนตกชุกเพิ่มมากขึ้น โดยลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนร่องความกดอากาศที่พาดผ่านประเทศมาเลเซียได้เลื่อนขี้นมาพาดผ่านภาคใ ต้แ ละภาคกลางของประเทศไทยตามลำดับ  


นอกจากนี้อาจมีพายุไซโคลนก่อตัวในทะเลอันดามันหรืออ่าวเบงกอลแล้วเคลื่อนเข้ามาใกล้หรือเข้าสู่ทางด้านตะวันตก ของประเทศได้


ภาพจาก: AFP 

ข่าวแนะนำ