TNN online ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" คืออะไร-ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร

TNN ONLINE

Earth

ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" คืออะไร-ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร

ปรากฏการณ์ เอลนีโญ คืออะไร-ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร

ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" คืออะไร-ส่งผลกระทบอย่างไรต่อโลก เกิดภาวะแห้งแล้งและฝนตกหนักในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน

ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" คืออะไร-ส่งผลกระทบอย่างไรต่อโลก เกิดภาวะแห้งแล้งและฝนตกหนักในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน


ปรากฏการณ์ เอลนีโญ


ปรากฏการณ์ เอลนีโญ เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหล ไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น

เอลนีโญก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีเศรษฐกิจเน้นเกษตรกรรมและการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับผลกระทบมากที่สุด 

สำหรับปรากฏการณ์ เอลนีโญ ทำให้สภาวะอากาศนั้นเกิดความแปรปรวน ส่งผลให้เกิดภาวะแห้งแล้งและฝนตกหนักในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ปรากฏการณ์ เอลนีโญ เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหล ไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียอาจจะฝนน้อยลง และเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น 

ดังนั้นถ้าหากเป็นไปตามการคาดการณ์จริงๆ เกษตรกรต้องเตรียมรับมือให้พร้อม ฝนอาจจะน้อยลงในปีนี้ ส่วนเรื่องของอุณหภูมิก็จะสูงกว่าค่าปกติ ผลผลิตทางการเกษตรอาจได้รับความเสียหายได้



ปรากฏการณ์ เอลนีโญ ต่อประเทศไทย


นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยอมรับว่าเป็นกังวลกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อุณภูมิเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลและทำให้เกิดปะการังฟอกขาว ไปจนถึงน้ำทะเลหนุนสูง และเสี่ยงให้เกิดน้ำท่วมตามมาโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนโดยตรง 

ด้านผศ. ณัฐ มาแจ้ง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความคิดเห็นถึงปรากฏการณ์เอลนีโญที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศของทะเลแปซิฟิก ทำให้ประเทศต่างๆ ได้แก่ อินเดีย เมียนมา ไทย ลาว เวียดนาม ภูมิภาคจีนตอนล่าง จนไปถึงออสเตรเลีย ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้มีภาวะของฝนน้อย ซึ่งแตกต่างกับอเมริกาตอนใต้ ที่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ จะมีปริมาณฝนที่มากกว่าปกติ

ทั้งนี้ การสังเกตค่าเฉลี่ยฝนในประเทศไทยที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน แต่ยังมีปริมาณที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างเยอะ โดยมีปริมาณน้ำฝนเพียงแค่ร้อยละ 46 ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณฝนในปีที่แล้ว โดยมองว่าหากฝนยังคงตกในลักษณะเช่นนี้ต่อไป ปริมาณน้ำสำหรับฤดูแล้งในปี 2566-2567 ก็อาจจะมีไม่เพียงพอ เพราะต้องคำนึงถึงความสำคัญของการใช้น้ำเป็นอันดับแรก ซึ่งเกษตรกรในปีนี้จำเป็นที่จะต้องเชื่อฟังภาครัฐ ในการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ที่กำหนด ไม่เช่นนั้นอาจเสี่ยงเกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร




ภาพจาก TNN ช่อง 16




ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง