"ดัชนีความร้อนสูงสุด" 19 พฤษภาคม 2566 พื้นที่ไหน? ทะลุ 50 องศาฯระดับอันตรายมาก

"ดัชนีความร้อนสูงสุด" 19 พฤษภาคม 2566 เช็กเลยพื้นที่ไหน? ทะลุ 50 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับ "อันตรายมาก" เสี่ยงเกิดภาวะลมแดด
"ดัชนีความร้อนสูงสุด" 19 พฤษภาคม 2566 เช็กเลยพื้นที่ไหน? ทะลุ 50 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับ "อันตรายมาก" เสี่ยงเกิดภาวะลมแดด
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน 19 พฤษภาคม 2566
การคาดการณ์ค่าดัชนีความร้อนวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 มีรายละเอียด ดังนี้
- ภาคเหนือ เพชรบูรณ์ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 48.8 องศาเซลเซียส
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 43.9 องศาเซลเซียส
- ภาคกลาง บางนา กทม. ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน มากกว่า 54 องศาเซลเซียส
- ภาคตะวันออก ชลบุรี ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 52.3 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้ ภูเก็ต ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 48.9 องศาเซลเซียส
ตารางแสดงค่าดัชนีความร้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (ข้อมูลจากกรมอนามัย)
ระดับเฝ้าระวัง 27-31.9 องศาเซลเซียส
ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อนออกกำลังกาย หรือ ใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน
ระดับเตือนภัย 32-40.9 องศาเซลเซียส
ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดอาการตะคริวจากความร้อนและอาจเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
ระดับอันตราย 41-53.9 องศาเซลเซียส
ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดท้องเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดดได้หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
ระดับอันตรายมากมากกว่า 54 องศาเซลเซียส
ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดภาวะลมแดด (Heat Stroke)
ดัชนีความร้อน คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น ว่า อากาศร้อนเป็นอย่างไร หรือ อุณหภูมิที่ปรากฎในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับ ผลกระทบจากความร้อนได้
คำแนะนำสุขภาพ สังเกตอาการตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงควรลดเลิกกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม หลีกเลี่ยงดื่มชา กาแฟ สุรา น้ำอัดลม ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อย สำคัญ เตรียมเบอร์โทรศัพท์ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือ 1669
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา / AFP