TNN เดือนเมษายน อุณหภูมิจะสูงถึง 44 – 45 องศาฯ จริงหรือ? กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

TNN

Earth

เดือนเมษายน อุณหภูมิจะสูงถึง 44 – 45 องศาฯ จริงหรือ? กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

เดือนเมษายน อุณหภูมิจะสูงถึง 44 – 45 องศาฯ จริงหรือ? กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

เดือนเมษายน 2566 อุณหภูมิจะสูงถึง 44 – 45 องศาฯ จังหวัดที่ร้อนที่สุดคือ ลำปาง และอุตรดิตถ์ จริงหรือ กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

เดือนเมษายน 2566 อุณหภูมิจะสูงถึง 44 – 45 องศาฯ จังหวัดที่ร้อนที่สุดคือ ลำปาง และอุตรดิตถ์ จริงหรือ กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว


จากกรณีที่มีโพสต์ข่าวสารโดยระบุว่า ไทยแลนด์โซฮอตเวอร์! ผู้เชี่ยวชาญสภาพอากาศคาดไทยปี 66 ร้อนสูงสุดเดือนเมษา อุณหภูมิสูงถึง 44-45 องศาฯ โดยจังหวัดที่ร้อนที่สุดคือ ลำปาง และอุตรดิตถ์นั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชี้แจงว่า เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่ได้มาจากการประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา 


โดยฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่าจะเริ่มในช่วงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งจะช้ากว่าปกติประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ลักษณะอากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และจะมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน สลับกับจะมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประเทศไทยตอนบนประมาณ 35.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะใกล้เคียงกับค่าปกติ (ค่าปกติ 35.4 องศาเซลเซียส) แต่จะสูงกว่าปีที่แล้ว (ช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ.2565 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.0 องศาเซลเซียส) และปริมาณฝนรวมเฉลี่ยจะใกล้เคียงค่าปกติ


ซึ่งในช่วงฤดูร้อนของทุกปี มักจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ โดยจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้ ส่วนปริมาณฝนที่ตกนั้น มีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค รวมทั้งด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้ำอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด


ดังนั้นขอประชาชนอย่าแชร์หรือส่งต่อข่าวลือนี้ และให้ติดตามข่าว พยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาเท่านั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนกขึ้นในสังคม และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติม สามารถสอบถามได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th, Facebook กรมอุตุนิยมวิทยา Application Thai weather สายด่วน 1182 (ตลอด 24 ชั่วโมง)


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่ได้มาจากการประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประเทศไทยตอนบนประมาณ 35.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะใกล้เคียงกับค่าปกติ (ค่าปกติ 35.4 องศาเซลเซียส) แต่จะสูงกว่าปีที่แล้ว (ช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ.2565 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.0 องศาเซลเซียส)



คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 1 – 7 เมษายน พ.ศ. 2566


ภาคเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 2 – 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค  ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในวันที่ 7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 – 42 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 2 – 5 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง  อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 – 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 2 – 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง 

ส่วนในวันที่ 7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.  อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 – 41 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 2 – 4 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง 

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 39 องศาเซลเซียส 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 2 – 5 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 7 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 38 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20  ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 2 – 6 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 7 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล อากาศร้อนภึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 2 – 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20  ของพื้นที่ 

ส่วนในวันที่ 7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30  ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.  อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 40 องศาเซลเซียส




ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม / กรมอุตุฯ

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ