TNN สกัดภูมิคุ้มกันจากตัว "ลามะ" เสริมภูมิต้านโควิด-19 ในมนุษย์

TNN

เกาะติด COVID-19

สกัดภูมิคุ้มกันจากตัว "ลามะ" เสริมภูมิต้านโควิด-19 ในมนุษย์

ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโควิด-19 ของมนุษย์เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา มีการทดลองภูมิคุ้มกันจากสัตว์ที่อาจทำให้ร่างกายต้านทานต่อไวรัสได้

วันนี้ (25 ส.ค.64) ภารกิจต่อสู้กับโรคโควิด-19 ยังไม่เสร็จสิ้นง่ายๆ ในเร็ววันนี้ วงการวิทยาศาสตร์ค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด นักวิทยาศาสตร์ได้หันไปหาแหล่งการรักษาที่อาจมีประสิทธิภาพ นั่นคือ “แอนติบอดีขนาดเล็ก” ที่สร้างขึ้นโดยธรรมชาติโดยเจ้าลามะ สัตว์ตระกูลเดียวกับอูฐ

คำถามคือ แอนติบอดี้ หรือสารโปรตีนที่มาจากลามะจะเข้ามาช่วยต่อสู้กับโรคโควิด-19 ได้หรือไม่ แล้วทำไมถึงต้องเป็นลามะ ก่อนอื่นต้องพูดถึงคำว่า แอนติบอดี สารโปรตีนที่ร่างกายคนเราและสัตว์สร้างขึ้นต่อสู้กับเชื้อโรคที่เป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย 

มีงานวิจัยที่น่าสนใจจากทีมนักวิจัยจากสถาบันด้านเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศเบลเยียมร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญกำลังศึกษาเรื่องของแอนติบอดี้จากเจ้าตัวลามะ หรือ สารภูมิต้านทานในลามะ โดยเป็นการทดลองสกัดแอนติบอดีจากตัวลามะ ชื่อว่า “วินเทอร์” เป็นลามะตัวเมีย แล้วเริ่มทดลองไปไม่นานมานี้ เพื่อดูว่าเมื่อนำแอนติบอดีของเจ้าวินเทอร์ และพองเพื่อนไปทดลองในกลุ่มทดลอง คือ กลุ่มผู้มีสุขภาพดี และผู้ป่วยโควิด-19 ร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร จะสามารถจัดการเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่ 

สกัดภูมิคุ้มกันจากตัว ลามะ เสริมภูมิต้านโควิด-19 ในมนุษย์

ลามะ หรือ llama สัตว์ตระกูลเดียวกับอูฐ ถิ่นที่อยู่ในเทือกเขาแอนดีส ในทวีปอเมริกาใต้ : เปรู โบลิเวีย และชิลี ใช้ประโยชน์ เป็นสัตว์ขนสัมภาระข้ามภูเขาสมัยโบราณ ลามะมีอายุยืนประมาณ 20 ปี สัตว์ตระกูลนี้ ผลิตแอนติบอดีชนิดพิเศษ “นาโนบอดี้” ที่ต่อต้านโรค มีขนาดเล็กครึ่งหนึ่งของสารภูมิคุ้มกันที่ร่างกายคนผลิตเองได้

ทำไมต้องเป็นลามะ พิเศษตรงไหนนั้น เพราะว่า "สัตว์ตระกูลอูฐ" ซึ่งลามะ เป็นสัตว์ที่มีแอนติบอดีสองชนิด เมื่อมีสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรียหรือไวรัส ล่วงล้ำเข้าไป ระบบภูมิคุ้มกันของมันจะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา ตัวแรกมีลักษณะคล้ายแอนติบอดี้ที่มีในร่างกายมนุษย์เรา ตัวที่สองจะมีขนาดเล็กเพียงหนึ่งในสี่ 

ซึ่งแอนติบอดีชนิดพิเศษที่ลามะผลิตขึ้น เรียกว่า “นาโนบอดี้” (Nanobody) ที่ต่อต้านโรค ลักษณะของแอนติบอดี้นี้ มีขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพไม่เล็กตามตัว เพราะมันสามารถเข้าไปเกาะจับเชื้อไวรัสได้อย่างเหนียวแน่น เหมือนกาวขวาง ไม่ให้ไวรัสไปจับตัวรับในร่างกายได้ เมื่อไวรัสไปจับกับเซลล์ไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ติดเชื้อไวรัสนั่นเอง 

สกัดภูมิคุ้มกันจากตัว ลามะ เสริมภูมิต้านโควิด-19 ในมนุษย์

การค้นพบความลับของสัตว์ตระกูลอูฐนี้เป็นที่ทราบในแวดวงวิทยาศาสตร์มานานกว่า 30 ปีแล้ว จุดตั้งต้นค้นพบคือที่มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ของเบลเยี่ยม ก่อนจะศึกษามายาวนานเน้นว่า ทำไมลามะถึงมีแอนติบอดีแบบนี้? 

ทีมนักวิจัยได้ศึกษาในช่วงต้นถึงประสิทธิภาพของแอนติบอดี้ของลามะในการต่อสู้กับโรคต่างๆ รวมถึงเชื้อเดลต้าที่ติดเชื้อได้สูง ถ้าผลงานวิจัยนี้มีข้อพิสูจน์ว่า สารภูมิต้านทาน จากลามะมีประสิทธิภาพต่อสู้กับไวรัสได้จริง ก็อาจเป็น "ตัวเปลี่ยนเกม" ในการศึกโควิด-19 นี้

สกัดภูมิคุ้มกันจากตัว ลามะ เสริมภูมิต้านโควิด-19 ในมนุษย์

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เริ่มมีงานวิจัยเกี่ยวกับลามะและสัตว์ตระกูลอูฐมากขึ้น อย่างเยอรมนี ก็มีทีมศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอัลปากา สัตว์ตระกูลเดียวกันกับลามะ ที่ผลชี้ว่าสารภูมิต้านทานของอัลปากาช่วยต้านทานโควิด-19 ได้  โดยในงานวิจัยนี้ระบุว่า นาโนบอดี้ในอัลปากา ทนทานต่อความร้อน และมีราคาถูก จะมีการต่อยอดสู่การทดลองในระดับคลินิกเพื่อดูประสิทธิภาพต่อไป เบื้องต้นสารสกัดนี้อาจมาในรูปแบบของอุปกรณ์สูดดม เพื่อดัดไวรัส

เช่นเดียวกับงานวิจัยของเบลเยี่ยมที่ทำเดินอยู่ในเวลานี้ก็มองว่า สารสกัดภูมิต้านทานจากลามะ ไม่ได้เข้ามาแทนที่วัคซีน แต่เป็นเหมือนตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มคนที่ร่างกายอ่อนแอ 


ข่าวแนะนำ