TNN online เปิดข้อมูลเบื้องต้น 4 ข้อ “โอมิครอน BA.2.2” อันตรายกว่าพันธุ์ดั้งเดิมหรือไม่?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

เปิดข้อมูลเบื้องต้น 4 ข้อ “โอมิครอน BA.2.2” อันตรายกว่าพันธุ์ดั้งเดิมหรือไม่?

เปิดข้อมูลเบื้องต้น 4 ข้อ “โอมิครอน BA.2.2” อันตรายกว่าพันธุ์ดั้งเดิมหรือไม่?

เปิดข้อมูลเบื้องต้น 4 ข้อ โควิดโอมิครอน BA.2.2 มีความอันตรายกว่า-รุนแรงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือไม่

วันนี้ ( 14 มี.ค. 65 )จากกรณี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่าประเทศไทยพบประชาชนเข้าข่ายติดเชื้อโอมิครอน เข้าข่ายสายพันธุ์ย่อย BA2.2 เป็นต่างชาติ 1 ราย  คนไทย 3 ราย ซึ่งพบการกลายพันธุ์ในตำแหน่งเดียวกันกับที่พบในประเทศฮ่องกง โดยทั้ง 4 เป็นการพบจากระบบเฝ้าระวังตรวจตราสายพันธุ์ในประเทศ แต่ทั้งนี้ต้องรอข้อมูลอย่างเป็นทางการจากระบบจีเซทก่อน ในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำสายพันธุ์นี้เข้าระบบ เบื้องต้นจำนวน 4 ราย ที่พบในไทยอาการรุนแรงไม่รุนแรงและรักษาหายแล้ว

ทั้งนี้ สามารถประเมินสายพันธุ์โอมิครอน (BA.2.2) เบื้องต้น (วันที่ 13 มี.ค. 65) ได้ดังนี้ 

1. ความสามารถในการแพร่ (transmission) จากข้อมูลทางระบาดวิทยาไม่มีข้อมูลว่าแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 

2. ความรุนแรงของโรค ไม่มีข้อมูลว่าอัตราป่วยและอัตราตายสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และไม่มีข้อมูลทางระบาดวิทยามาสนับสนุนว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่มีการกลายพันธุ์ S:I1221T มีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่นๆ 

3. ผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่มีข้อมูลว่าการกลายพันธุ์ S.I1221T มีผลให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลง หรือหลีกหนีวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์อื่นๆ 

4. ระยะฟักตัวและระยะเวลา Quarantine ยังไม่มีข้อมูล อย่างไรก็ดี การกลายพันธุ์นี้ไม่ควรส่งผลต่อการฟักตัว หรือระยะแพร่เชื้อของสายพันธุ์นี้

ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 ยังไม่ถูกประเมินให้เป็นสายพันธุ์น่ากังวล หรือเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังจากข้อมูลที่มีในปัจจุบัน โดยปัจจุบันยังไม่มีการพิจารณาจากองค์กรควบคุมโรคใด ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับสายพันธุ์ BA.2.2 เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะประเมินความสามารถในการแพร่กระจาย ความรุนแรงของโรค หรือการหลีกหนีวัคซีน

ภาพจาก :  AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง