TNN online เช็กกันสักนิดแค่ "ปวดหลัง-เหงื่อออก" ก็อาจเป็นอาการติดโอมิครอน

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

เช็กกันสักนิดแค่ "ปวดหลัง-เหงื่อออก" ก็อาจเป็นอาการติดโอมิครอน

เช็กกันสักนิดแค่ ปวดหลัง-เหงื่อออก ก็อาจเป็นอาการติดโอมิครอน

เช็กกันสักนิดอาการป่วยของโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน หลักมีทั้งหมด 8 อาการ แต่มี 2 อาการใหม่ที่ส่งสัญญาณเตือนว่า อาจเข้าข่ายติดเชื้อ

วันนี้ ( 28 ธ.ค. 64 )โควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ขณะนี้แพร่กระจายไปแล้วมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก   ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด แม้ว่าในเรื่องความรุนแรงจะไม่หนักเท่าสายพันธุ์เดลตา และโอมิครอนจะกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนเป็นหลักมากกว่าอาการของเชื้อลงปอด โดยพบว่า ร้อยละ 54  มีอาการไอ  //ร้อยละ 37 มีอาการเจ็บคอ และพบว่าร้อยละ 29 มีไข้   ขณะที่มีอาการใหม่ของผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอน ซึ่งแตกต่างไปจากโควิดสายพันธุ์อื่นๆที่พบก่อนหน้า  

 ข้อมูลจากศาสตราจารย์ ทิม สเปคเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาทางพันธุกรรม ของมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ หัวหน้าคณะวิจัย โซ (ZOE Covid App Symptom)  ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับอาการผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด "สายพันธุ์โอมิครอน  (Omicron )  ที่แม้จะอาการคล้ายไข้หวัด แต่มี 2อาการใหม่ที่น่าสนใจและอาจแสดงให้เห็นสัญญาณว่าคนนั้นติดโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน   อาการแรก คือ การที่เหงื่อออกจำนวนมากขณะนอนหลับแม้ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศที่เย็น ทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นต้องถอดเสื้อผ้าเพราะเหงื่อออกจำนวนมาก  //และอาการใหม่ที่ตรวจพบล่าสุด ก็คือ อาการปวดหลังส่วนล่าง  ซึ่งอาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นอาการที่พบมากที่สุด  ซึ่งเป็นไปตามผลการศึกษาวิจัยของแพทย์ทั่วไปในแอฟริกาใต้  

สำหรับผู้ป่วยโอมิครอนในระยะแรกที่ตรวจพบ มักจะมีอาการคล้ายหวัด  ได้แก่

1. เจ็บคอ 

2. เหนื่อยล้า  

3.ปวดศีรษะ 

4.ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ  

5.น้ำมูกไหล 

6.จาม 

การที่ผู้ป่วยมีอาการเล็กน้อยแต่ก็สามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้อย่างรวดเร็ว  ขณะที่พบว่าผู้ป่วยบางรายยังมีอาการถ่ายเหลวอีกด้วย    ซึ่งข้อบ่งชี้เหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ที่ต้องระวัง ส่วนใหญ่ในภาพรวมของอาการไม่มาก 

ด้านกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข  ออกมาให้ข้อมูลย้ำถึงการใช้หน้ากากผ้าหน้าทั่วไป ไม่สามารถป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ได้  พร้อม แนะนำใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์แบบ 3 ชั้นแทน แต่สามารถสวมหน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัยได้ ขณะที่พบว่าผู้ติดเชื้อ และผู้เสี่ยงรับเชื้อหากไม่สวมหน้ากากอนามัย และผู้ติดเชื้อไอ หรือจาม จะทำให้ มีความเสี่ยงสูงมากในการติดเชื้อ แต่ความเสี่ยงจะน้อยลงจนกลายเป็นเสี่ยง ต่ำ และเสี่ยงต่ำมาก หากทั้งผู้ติดเชื้อ และผู้เสี่ยงรับเชื้อสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง 

ภาพจาก : AFP

ข่าวแนะนำ