TNN online (คลิป)ปรับโควิด“โรคประจำถิ่น”ปีนี้ อัตราป่วย-เสียชีวิต 0.1%

TNN ONLINE

รายการ TNN

(คลิป)ปรับโควิด“โรคประจำถิ่น”ปีนี้ อัตราป่วย-เสียชีวิต 0.1%

(คลิป)ปรับโควิด“โรคประจำถิ่น”ปีนี้ อัตราป่วย-เสียชีวิต 0.1%

ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติวันนี้เห็นชอบหลักการให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นในปีนี้ โดยไม่ต้องรอการประกาศจากองค์การอนามัยโลก โดยมีหลักการคือ ต้องมีผู้ป่วยไม่เกิน 1 หมื่นคนต่อวัน อาการไม่รุนแรง // มีผู้เสียชีวิตไม่เกิน 1 คนต่อผู้ติดเชื้อ 1 พันคน //ประชาชนต้องได้วัคซีนครบ 2 เข็มกว่าร้อยละ 80


ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบในหลักการให้โรคติดเชื้อโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่นภายในปีนี้  โดยมีหลักการ คือ 1. โรคไม่รุนแรง รักษาได้  มีการระบาดและการติดเชื้อเป็นระยะ  เช่น ผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 คนต่อวัน อัตราป่วย เสียชีวิตไม่เกิน 1 รายต่อผู้ติดเชื้อ1,000 ราย หรือ ร้อยละ 0.1


2.ประชาชนต้องมีภูมิต้านทานพอสมควร ต้องได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยประชาชนรับวัคซันครบ 2 เข็มแล้ว ประมาณร้อยละ 70-75// และ 3.ระบบรักษาต้องมีประสิทธิภาพ  ซึ่งหากพิจารณาครบตามหลักที่กำหนดและ สถานการณ์เหมาะสมกระทรวงสาธารณสุขจะประกาศแจ้งให้ทราบอีกครั้ง โดยไม่ต้องรอการประกาศขององค์การอนามัยโลก(WHO) หรือประเทศอื่นประกาศก่อนเพราะเรามีหลักที่ชัดเจน 


ส่วนแผนการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็ก 5-11 ปี ให้ดำเนินการตามเกณฑ์ฉีดทั้งในโรงเรียน และในโรงพยาบาล ล่าสุด กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) รายงานมาว่ามีผู้ปกครองยินยอมให้เด็กฉีดวัคซีนไฟเซอร์แล้วร้อยะ 70  โดยวัคซีนล็อตแรกที่เข้ามาวันที่ 26 ม.ค.65 จำนวน 3 แสนโดสแรก ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว หลังจากนี้ก็จะกระจายไปตามแผนงาน โดยจะเริ่มฉีดที่โรงพยาบาลเด็กเป็นแห่งแรกในวันที่ 31 ม.ค.นี้ พร้อมย้ำว่าจากผลการศึกษาในต่างประเทศ วัคซีนเด็ก  ’สูตรฝาสีส้ม’ ที่จะใช้ในเด็ก 5-11 ปี มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าเด็กในกลุ่มอายุ 12 ปีขึ้นไป ช่วยลดความรุนแรงของโรคและสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มเด็กได้เป็นอย่างดี


ด้านนายเกรียงไกร จงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร  กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีเด็กอายุ 5- 11 ปี ที่เข้าเกณฑ์ฉีดวัคซีนจำนวนประมาณ 200,000 คน ขณะนี้่จากการสำรวจ มีผู้ปกครองที่ยินยอมให้บุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนแล้สกว่า 130,000 คน  จาก 431 โรงเรียนระดับประถมศึกษาในสังกัด กทม. โดยทางสำนักอนามัย จะไปตั้งจุดฉีดวัคซีนให้กับในโรงเรียน พร้อมยืนยันว่าเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนสามารถเข้าเรียนได้ตามปกติเพราะก่อนเข้าเรียนทุกคนต้องได้รับการตรวจหาเชื้อโควิดด้วยชุดตรวจเอทีเค โดยกทม.ได้จัดเตรียมชุดตรวจเอทีเคเให้กับทุกโรงเรียนใช้ได้ไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565


นอกจากวัคซีนเด็กที่จะเริ่มฉีดในวันที่ 31 มกราคมนี้แล้วทางกรมควบคุมโรคยังได้เร่งเดินหน้าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็มที่ 3 และ 4 โดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นจำเป็นในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อโอมิครอนที่หลบภูมิคุ้มกันทำให้ประสิทธิภาพวัคซีน 2 เข็มลดลง ประชาชนที่ได้รับวัคซี 2 เข็ม  ครบ 3 เดือนให้เข้ารับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ได้ทันที  // ส่วนเข็มที่ 4 ทางกรมควบคุมโรคได้เริ่มฉีดในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2564 ก่อนที่โอมิครอนจะระบาดทำให้สามารถป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงได้ สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปทางที่ประชุมศบค.ได้เห็นชอบให้ฉีดในจังหวัดสีฟ้านำร่องท่องเที่ยว ซึ่งได้เริ่มดำเนินการฉีดให้ประชาชนในพื้นที่แล้ว 


ในส่วนของพื้นที่กทม.หนึ่งในจังหวัดนำร่องท่องเที่ยววันนี้ทางศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อได้เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับวัคซีนเข็มที่ 4 ผ่าน4 ค่ายมือถือ สำหรับผู้ที่ได้รับเข็มที่ 1,2 เป็นเชื้อตายชนิดวัคซีน ซิโนแวคหรือ ซิโนฟาร์ม และได้รับเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 เป็นชนิดวัคซีน แอสตร้าเซเนก้า หรือ ไฟเซอร์ มาแล้วอย่างน้อย 90 วัน จากทุกศูนย์ฉีดทั่วประเทศ โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปและเริ่มฉีดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ // ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ที่บางซื่อจะมีข้อความนัดให้มาฉีดโดยไม่ต้องลงทะเบียน

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง