TNN online นำเข้าเฮ! เงินบาทแข็งหลังเฟดฯตรึงดอกเบี้ยต่ำ

TNN ONLINE

Wealth

นำเข้าเฮ! เงินบาทแข็งหลังเฟดฯตรึงดอกเบี้ยต่ำ

นำเข้าเฮ! เงินบาทแข็งหลังเฟดฯตรึงดอกเบี้ยต่ำ

"รุ่ง"มองแนวโน้มค่าเงินบาทแข็งค่า หลังสหรัฐฯใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ-มาตรการคิวอี จับตาประกาศจีดีพีไตรมาส 4/63 ของไทย- ตัวเลขค้าปลีกสหรัฐฯ

น.ส. รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้าคาดว่าจะเคลื่อนไหวที่ 29.20 ถึง 30.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเคลื่อนไหวกรอบแคบเนื่องจาก เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนธุรกรรมทางการเงินจะเบาบางเพราะหลายประเทศปิดทำการจนถึงวันที่ 17  ก.พ.นี้ 


โดยปัจจัยที่ติดตามคือตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ  บันทึกการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐหรือ เฟด มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐว่าจะผ่านสภาครองเกรสในเดือนหน้าหรือไม่การกระจายวัคซีน ของสหรัฐและยุโรป แม้ว่ามีบางประเทศที่จะช้าหน่อย เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมันอย่างไรก็ตาม  นักลงทุนหันมาหาลงทุนสินทรัพย์ดิจิตอลเพิ่ม ซึ่งจะสร้างความผันผวนให้กับตลาด เช่น คริปโตเคอเรนซี่ เวลาขึ้นแรงเวลาลงแรง 


ขณะที่ในประเทศรอดูการประกาศตัวเลข GDP  ไตรมาส 4/63 คาดว่า จะติดลบ 5.2 % หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในปี 63 คาดว่าจะติดลบ 6.4%  ส่วนการเมืองในประเทศคาดว่าจะมีผลต่อค่าเงินในกรอบจำกัด 


ทั้งนี้หากเทียบค่าเงินในสกุลภูมิภาค ตั้งแต่ต้นก.พ ถึง 11 ก.พ.ที่ผ่านมาพบว่า วอน-เกาหลีใต้แข็งค่าสุด 1.1% หยวน-จีน 0.33 % ดอลลาร์-สิงคโปร์ 0.3% รูเปียห์-อินโดนีเซีย 0.2% รูปี-อินเดีย 0.15% เปโซ-ฟิลิปปินส์ 0.1% เยน-ญี่ปุ่น 0.1% เงินบาททรงตัว  ยกเว้น ริงกิต-มาเลเซียอ่อนค่า 0.1%


" การเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา  เคลื่อนไหวในกรอบแคบอยู่ที่ระดับประมาณ 3 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตลาดรอปัจจัยใหม่ ซึ่งในบางวันก็มีเงินทุนไหลเข้าและไหลออกทั้ง 2 ด้านก็ทำให้เงินบาทเคลื่อนไหวไม่ได้มากนัก ถือว่ามีเสถียรภาพเพียงพอ ไม่ผันผวนมากจนเกินไป  อย่างไรก็ตาม  ตั้งแต่ 1 ก.พ.-10 ก.พ.ที่ผ่านมา ต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 1,500 ล้านบาทและซื้อสุทธิ พันธบัตร 1,200 ล้านบาท


สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น  เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐยังใช้โอบายดอกเบี้ยที่ต่ำ แล้วยังไม่ถอนมาตรการคิวอี แต่ที่น่ากังวลก็คือตลาดแรงงานสหรัฐฯ การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน ส่วนปัญหา covid ทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลงเนื่องจากการพัฒนาวัคซีนเริ่มเห็นผลมากขึ้น ซึ่งต้องดูทิศทางว่าหลังโควิดตลาดจะไปทางไหน แต่ผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกควรป้องกันความเสี่ยงจาก อัตราแลกเปลี่ยนและใช้สกุลเงินท้องถิ่นทำการค้าขายเ 

ข่าวแนะนำ