TNN online ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบ"แถบแม่เหล็ก" มาใช้ "ชิปการ์ด"

TNN ONLINE

Wealth

ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบ"แถบแม่เหล็ก" มาใช้ "ชิปการ์ด"

ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มาใช้ ชิปการ์ด

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ ขอให้ผู้ถือบัตร ATMหรือบัตรเดบิตที่ยังใช้ระบบแถบแม่เหล็ก   เปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ด ภายในวันที่ 15 ม.ค. 63 เพราะหลังจากนั้นจะไม่สามารถใช้ต่อไปได้

        เชื่อว่าหลายคนอาจจะคุ้นชินกับการใช้บัตรเอทีเอ็มอยู่ แม้ว่าปัจจุบันจะมีบริการชำระสินค้าผ่านระบบพร้อมเพย์ และคิวอาร์โค้ด  หรือแม้แต่บริการกดเงินแบบไม่ใช้บัตร ที่หลายแบงก์ ก็เพิ่มบริการนี้เข้ามาบนตู้เอทีเอ็มด้วย  ซึ่งวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อลดการใช้ทรัพยากร และเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลลูกค้า เพราะเมื่อไม่ต้องพกบัตร ความเสี่ยงจากการโจรกรรมข้อมูลในบัตรหรือแอบอ้างต่างๆกรณีเมื่อทำบัตรหายก็จะลดลง 

ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มาใช้ ชิปการ์ด

CR: thecardz.com

        แต่ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยต่างๆ   แรกเริ่มแล้ว บัตร ATM มีอีกชื่อว่า บัตรถอนเงินและฝากเงินกับเครื่องอัตโนมัติ เกิดขึ้นมาหลังจากการคิดเครื่อง ATM ( Automatic Teller Machine ) เมื่อปี ค.ศ. 1967 โดย Scot John Shepherd-Barron และใช้เป็นครั้งแรกโดยธนาคาร Barclays เพื่อความสะดวกในการถอนเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องทำธุรกรรมผ่านพนักงานธนาคารหน้าเคาน์เตอร์

        โดยระยะแรก ผู้ที่ต้องการใช้บัตรเอทีเอ็มใบแรกจะต้องใส่บัตรแทนเงินสดมูลค่าใบละ 10 ปอนด์กับเครื่อง เพื่อแลกกับธนบัตรใบละ 10 ปอนด์ ก่อนจะเริ่มต้นการพัฒนาบัตรพลาสติก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 แต่มักมีปัญหาเครื่องกินบัตรและต้องซื้อใหม่  จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1968 - 1972 จึงมีการแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยี ATM ที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน

ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มาใช้ ชิปการ์ด
CR: www.thaibankmuseum.or.th 

        ส่วนในประเทศไทย  ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526 ) ถือได้ว่าธนาคารไทยพาณิชย์ ได้สร้างมิติใหม่ ของการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองไทย ด้วยการเปิดให้บริการเงินด่วน ATM (Automatic Teller Machine) เป็นธนาคารแรกในประเทศไทย (เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2526) เป็นเครื่องของยี่ห้อ IBM จอภาพต้องใช้มองผ่านช่องสี่เหลี่ยม เหมือนกล้องส่องทางไกล เป็นแบบจอสีเดียว(สีส้ม) ระบบสามารถให้เราเลือกได้ว่า ต้องการธนบัตรชนิดใดบ้าง 

         ซึ่งการริเริ่มบริการนี้ ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้ภาพลักษณ์ของธนาคารเปลี่ยนไปเป็นธนาคารที่ทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยี และการริเริ่ม นำเอทีเอ็มมาให้บริการ นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย และยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการถือเงินสดของคนไทย จากเดิมที่มักจะเก็บเงินสดติดตัวไว้เป็นจำนวนมากเกินความจำเป็นในแต่ละช่วง ซึ่งทำให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยฝากเงินไว้กับธนาคารมากขึ้น และถอนเงินไปใช้เท่าที่จำเป็น  เนื่องจากสามารถถอนเงินสดไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตลอดเวลาที่ต้องการ 

ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มาใช้ ชิปการ์ด

    CR:FB ไทยพาณิชย์ 

    จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาจากบัตร ATM ที่ใช้กดเงินธรรมดา จนเป็น Debit Card ที่สามารถใช้จ่ายโดยการรูดบัตรผ่านเครื่อง หรือผูกบัญชีเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ตได้เหมือนบัตรเครดิต   อีกทั้งยังมีการใส่ตราโฮโลแกรม มีบัตรติดชิปเพื่อเพิ่มความปลอดภัย มีตู้ที่สามารถสแกนบาร์โค้ดใบแจ้งหนี้เพื่อชำระเงิน  ซึ่งจากสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อ 6 ปีก่อน ( 2555) ประเทศไทยมีผู้ถือบัตร ATM ทั้งสิ้น 15,536,151 ใบ และบัตรเดบิตทั้งสิ้น 37,882,551 ใบ

        ล่าสุด (เมื่อวันที่ 17 ก.ย.62)  ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาประกาศขอให้ประชาชนปรับเปลี่ยนบัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็มจากรูปแบบบัตรแถบแม่เหล็ก (magnetic card) ให้เป็นบัตรชิปการ์ด ซึ่งเป็นการผลักดันร่วมกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสถาบันการเงิน ต่างๆ เพื่อปรับให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและ เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ 

ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มาใช้ ชิปการ์ด

        โดยนางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.และหน่วยงานด้านสถาบันการเงิน ได้ผลักดันเรื่องนี้ร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2559  ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาการปลอมแปลงบัตร (counterfeit card fraud) และการโจรกรรมข้อมูล (skimming) นำไปทำบัตรปลอม และใช้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนบัตรได้ครบถ้วนภายในสิ้นปี 2562 ซึ่งสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ประชาสัมพันธ์และเปลี่ยนบัตรให้ประชาชนมาโดยตลอด ปัจจุบันพบว่ามีผู้เปลี่ยนบัตรเป็นชิปการ์ดไปแล้วประมาณ 47 ล้านใบ  และยังคงมีบัตรแถบแม่เหล็กคงเหลือที่ยังไม่ได้เปลี่ยนอีกประมาณ 20 ล้านใบทั่วประเทศ

        ดังนั้น เพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถใช้งานบัตรได้อย่างต่อเนื่อง ธปท. จึงขอให้ผู้ที่ยังใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มแบบแถบแม่เหล็กอยู่ในปัจจุบัน ให้รีบติดต่อธนาคารที่ใช้บริการได้ทุกสาขาเพื่อเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการ์ดให้แล้วเสร็จ  โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มใบเดิม และสมุดบัญชีเงินฝาก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตร

         ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มาใช้ ชิปการ์ด
CR:EMV Connection

        สำหรับ ผลสำรวจธนาคารที่มีการเปลี่ยนบัตรเดบิต และเอทีเอ็มจากระบบแถบแม่เหล็กมาใช้ระบบชิปการ์ด พบว่า ธนาคารกรุงเทพ  และธนาคารทหารไทย ที่ผลสำรวจระบุว่ามีการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีชิปการ์ดทั้งระบบแล้ว  โดยธนาคารกรุงเทพเป็นเจ้าแรกที่เริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้ระบบชิปการ์ด ตั้งแต่ปี 2552 ส่วนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตรูปแบบเดิมจะสามารถใช้งานได้ไปจนถึงเดือนธันวาคม ปี 2562 นี้ เท่านั้น   โดยหลังจากวันที่ 15 มกราคม 2563 บัตรแถบแม่เหล็กจะไม่สามารถใช้งานได้ที่เครื่องเอทีเอ็มหรือเครื่องรูดบัตรที่ร้านค้าได้อีกต่อไป

ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มาใช้ ชิปการ์ด

        ส่วน ผู้ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการ์ด หากมีความต้องการใช้เงินสดหรือโอนเงิน สามารถเบิกถอนได้ที่สาขาธนาคาร หรือใช้ฟังก์ชั่นกดเงินไม่ใช้บัตรที่ตู้เอทีเอ็ม หรือโอนเงินผ่าน mobile banking / internet banking แทนการใช้บัตร   หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ call center หรือเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารที่ใช้บริการ หรือที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. โทร. 1213

ถึงเวลายกเลิกบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มาใช้ ชิปการ์ด
CR: www.securetechalliance.org

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง