TNN online ลุ้น "ค่าไฟ" ลดลงต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วย เตรียมเคาะ 8 มีนาคม 2566

TNN ONLINE

Wealth

ลุ้น "ค่าไฟ" ลดลงต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วย เตรียมเคาะ 8 มีนาคม 2566

ลุ้น ค่าไฟ ลดลงต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วย เตรียมเคาะ 8 มีนาคม 2566

ลุ้น "ค่าไฟฟ้าลดลง" ต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเตรียมเคาะ 8 มีนาคม 2566

ลุ้น "ค่าไฟฟ้าลดลง" ต่ำ 5 บาทต่อหน่วย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเตรียมเคาะ 8 มีนาคม 2566

การประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ Ft งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.66 ซึ่งมีแนวโน้มค่าไฟฟ้าลดลง จากทั้งราคาพลังงานในตลาดโลกที่ย่อตัว รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า แต่ต้องไม่ลืมภาระต้นทุนผลิตไฟฟ้ากว่าแสนล้านบาท ที่กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าต้องแบกรับไว้

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า วันที่ 8 มี.ค.นี้ คณะกรรมการ หรือ บอร์ด กกพ. จะประชุมจะพิจารณาสรุปตัวเลขค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft) งวดใหม่ (พ.ค.-ส.ค.66) ก่อนเปิดรับฟังความเห็นเพื่อที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป โดยเบื้องต้นนับเป็นข่าวดีที่ค่า Ft ในงวดนี้มีทิศทางที่ปรับตัวลดลงจากปัจจัยต่างๆ ในการคำนวณต้นทุนที่มีทิศทางที่ดีขึ้นจากงวดก่อน(ม.ค.-เม.ย.66)

ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยงวดม.ค.-เม.ย.66 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ที่อัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น (ธุรกิจ อุตสาหกรรม บริการฯลฯ) ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.33 บาทต่อหน่วย 

เบื้องต้น ค่าไฟฟ้าจะกลับมาเป็นอัตราเดียวเหมือนปกติ และจะมีราคาต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วย ส่วนจะต่ำกว่าค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยหรือไม่ ต้องรอความชัดเจนหลังการประชุมอีกครั้ง 

สำหรับปัจจัยในการคำนวณค่าFt ได้แก่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นโดยงวดที่ผ่านมาเฉลี่ยอยู่ที่ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่ขณะนี้อัตราค่าเงินบาทแตะระดับราว 34-35 บาทต่อเหรียญสหรัฐซึ่งเป็นผลดีต่อค่า Ft ค่อนข้างมาก รวมไปถึงราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง 

สิ่งสำคัญคือราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)ที่เป็นตัวแปรสำคัญที่กระทบต่อค่า Ft ในงวดม.ค.-เม.ย. 66 ค่อนข้างมาก เพราะมีราคาต่ำลง จากระดับ 30 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ลงมาเหลือ 10 กว่าเหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำเข้า และปริมาณก๊าซอ่าวไทยป้อนให้การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ต่างๆที่เริ่มคลี่คลายจำเป็นต้องมองในแง่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แบกรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงไว้นับแสนล้านบาท กกพ.จึงต้องมองการแบ่งเบาภาระเหล่านี้ให้กับกฟผ.กลับไปบ้างด้วยเพื่อความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้อย่างเหมาะสม



ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง