TNN online กลุ่มเจนแซดชอบเสี่ยงหวังรวยเร็ว แห่ลงทุนคริปโตฯล้นหลาม

TNN ONLINE

Wealth

กลุ่มเจนแซดชอบเสี่ยงหวังรวยเร็ว แห่ลงทุนคริปโตฯล้นหลาม

กลุ่มเจนแซดชอบเสี่ยงหวังรวยเร็ว แห่ลงทุนคริปโตฯล้นหลาม

สศช.เผยมูลค่าคริปโตฯ ทั่วโลกร่วงหนักเหลือ 8.2 แสนล้านดอลลาร์ จากช่วงที่พีคสุด 2.9 ล้านล้านดอลลาร์ ชี้กลุ่มเจนแซดชอบเสี่ยงลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลหวังรวยเร็ว เตือนระวังลงทุนแพลตฟอร์มต่างประเทศเสี่ยงสูญอาจสูญเงินเป็นจำนวนมาก

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สศช.)  เปิดเผยว่า คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัล เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดหนึ่งที่พัฒนาบนระบบเทคโนโลยี blockchain ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงให้คนทั่วโลกเข้าถึงได้ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นสินทรัพย์ที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจในการเข้ามาลงทุน และหาผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก โดย ณ สิ้นปี 2564 คริปโตฯ มีมูลค่าตลาดถึง 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากต้นปี 2563 ที่มีมูลค่าเพียง 1.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 12.4 เท่าตัว และทำให้ในปี 2564 เพียงปีเดียวมีผู้ครอบครองคริปโตฯ เพิ่มขึ้นจาก 106 ล้านคนทั่วโลกในเดือนมกราคม เป็น 295 ล้านคน ณ สิ้นปี 


เช่นเดียวกับประเทศไทย จากข้อมูลของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล พบว่า ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีจานวนบัญชีซื้อขายคริปโตฯ ถึง 2.5 ล้านบัญชีเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากปี 2563 ที่มีจานวนเพียง 1.7 แสนบัญชีเท่านั้น และจากรายงานของสานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่า ในปี 2564 ไทยมีมูลค่าการซื้อขายคริปโตฯ เฉลี่ยประมาณ 1.4 แสนล้านบาทต่อเดือน 


โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าคนไทยให้ความสนใจในคริปโตฯ มากขึ้น อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 2564 – 2565 มูลค่าของคริปโตฯ ในตลาดปรับตัวลดลง

อย่างมาก จากมูลค่าสูงที่สุด 2.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 เหลือเพียง 8.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 สาเหตุมาจากความไม่มีเสถียรภาพของเศรษฐกิจและการเมืองในระดับโลก และความไม่เชื่อมั่นในตลาดคริปโตฯ จากเหตุการณ์การล่มสลายของเหรียญ LUNA – UST และแพลตฟอร์มการซื้อคริปโตฯ 


ซึ่งส่งผลกระทบต่อนักลงทุน อาทิ กองทุนที่ลงทุนในคริปโตฯ ถูกคำสั่งศาลให้ล้มเลิกกิจการ หลายบริษัทเสี่ยงล้มละลาย การฆ่าตัวตายของนักลงทุนที่สูญเสียจากการลงทุน ทั้งนี้ แม้ว่าผลกระทบต่อไทยจะไม่ชัดเจนดังเช่นกรณีของต่างประเทศ แต่เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการลงทุนในตลาดคริปโตฯ ของคนไทย อาจมี

ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากการลงทุนดังนี้


 -ผู้ลงทุนในคริปโตฯ ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างผลกำไรที่สูงในเวลาที่รวดเร็วโดย พบว่า บัญชีของผู้ลงทุนในคริปโตฯ กว่าครึ่งเป็นผู้ที่มีอายุต่ากว่า 30 ปี โดย  3% เป็นเยาวชนที่มีอายุต่ากว่า 20 ปี และ  47 % เป็นบัญชีลงทุนของผู้ที่มีอายุ 21 - 30 ปี ซึ่งการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล (CMMUพบว่า 


สาเหตุที่คน Gen Z สนใจลงทุนในคริปโตฯ เพราะต้องการรวยเร็ว ทั้งนี้ แม้ว่าทัศนคติความต้องการผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้นอาจทาให้หลายคนกลายเป็นเศรษฐีในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่อีกด้านหนึ่งผู้ลงทุนในคริปโตฯ อาจเกิดความสูญเสียมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดได้ในระยะเวลาอันสั้นเช่นกัน

2.  1 ใน 5 ของผู้ลงทุนในคริปโตฯ ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคริปโตฯ อยู่ในระดับน้อย และ  25 % ใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจลงทุน

3. มากกว่า 1 ใน 4 ของคนรุ่นใหม่ที่ลงทุนในคริปโตฯ ลงทุนเพื่อความสนุก บันเทิง และเข้าสังคม 

4.นักลงทุนคริปโตฯ มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้แพลตฟอร์มต่างประเทศ    


สำหรับการลงทุนในคริปโตฯ ผู้ลงทุนควรเข้าใจความเสี่ยงของตลาดคริปโตฯ ที่สำคัญ ดังนี้ 

1.ตลาดคริปโตฯ ไม่มีการกำกับดูแลตามกฎหมาย ตลาดของคริปโตฯ เป็นการซื้อ/ขาย ในระดับโลกที่สามารถทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของประเทศใด ๆ ก็ได้ และตลาดเปิดให้บริการตลอดเวลา แม้ว่าประเทศไทยจะมี ก.ล.ต. ทำหน้าที่กำากับดูแลในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับคริปโตฯ ที่ครอบคลุมถึง5 ประเภท ได้แก่ (1) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (exchange (2) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (broker


(3) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (dealer (4) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ ดิจิทัล (investment advisor และ (5) ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (fund manager แต่การกำกับดูแลเป็นเพียงบางส่วนของธุรกรรมในตลาดคริปโตฯ เท่านั้นไม่สามารถกำกับดูแลการออกเสนอขายคริปโตฯ และคุ้มครองผู้ลงทุนในคริปโตฯ ที่ทำการซื้อ/ขาย ผ่านแพลตฟอร์มที่ไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนในประเทศไทยได้


2. คริปโตฯ ส่วนใหญ่ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน  ทำให้เมื่อเกิดการด้อยค่าผู้ที่เป็นเจ้าของจะไม่มีหลักประกันใด ๆ เลย อาทิ กรณีเหรียญ Terra Classic ที่เคยมีมูลค่าสูงถึง 3,903 บาท/เหรียญ ในเดือนเมษายน 2565 และตกลงมาเหลือเพียง 0.003 บาท/เหรียญ ในเดือนถัดมา


3. ตลาดคริปโตฯ ถูกชี้นำได้ง่าย โดยการเปลี่ยนแปลงของราคา คริปโตฯ เกิดขึ้นจากความต้องการและสามารถถูกชี้นำจากข่าวสาร แทนการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐาน (งบการเงิน ผลประกอบการ) ดังเช่นการลงทุนในหุ้น รวมทั้งตลาดคริปโตฯ ยังสามารถปั่นราคาสินทรัพย์ (Pump and Dump) ได้ง่าย และควบคุมได้ยาก โดยนักลงทุนรายใหญ่ปล่อยข่าวเท็จหรือปั่นให้ราคาเหรียญขึ้นไปสูงๆ (Pump และเพื่อดึงให้รายย่อยเข้ามาซื้อ จนสุดท้ายเจ้ามือก็ทำการเทขายเหรียญออกมาจำนวนมาก (Dump เช่นเดียวกับการปั่นหุ้น


4. ตลาดคริปโตฯ มีการหลอกลวง และการโกงหลายรูปแบบ  โดย
ต้องการหลอกล่อให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายก่อนที่จะเทขายทิ้ง หรือฉ้อโกงเงินในระบบ และส่งผลให้เหรียญนั้น ไร้มูลค่า ซึ่ง rug pullมีรูปแบบการโกง อาทิ การขโมยสภาพคล่องออกจากระบบ การล็อกคาสั่งขายเหรียญ เช่น กรณีเหรียญ$SQUID ซึ่งอ้างอิงกระแสจากซีรีส์ชื่อดังของเกาหลีใต้ เรื่อง Squid Game ที่ถูกปั่นราคาขึ้นไปจนมีมูลค่ากว่า3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และผู้สร้างทาการเทขายเหรียญออกไปเป็นเงินสดและปิดระบบ ซึ่งทาให้มูลค่าเหรียญลดลงเหลือ 0 ดอลลาร์สหรัฐฯ สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท

 

ที่มา   สศช. 

ภาพประกอบ  พิกซาเบย์

ข่าวแนะนำ