TNN online เปิดโพย 18 หุ้นเด่น หลบภัย Commodities ขาลง

TNN ONLINE

Wealth

เปิดโพย 18 หุ้นเด่น หลบภัย Commodities ขาลง

เปิดโพย 18 หุ้นเด่น  หลบภัย Commodities ขาลง

บล.กสิกรไทยแนะลงทุนในหุ้นกลุ่ม Anti-Commodities หลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ปรับลดลงเฉลี่ย 16% สูงสุดรอบ 52 สัปดาห์ เหตุสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัวลง


บล.กสิกรไทย มองว่า  ลมกำลังเปลี่ยนทิศจากกลุ่ม Commodities ไปยังกลุ่ม Anti-Commodities หลังจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงเฉลี่ย 16% จากระดับสูงสุดรอบ 52 สัปดาห์และเราคาดว่าจะปรับลดลงอีกจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงและอุปทานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าระวางเรือ ปาล์มน้ำมัน อะลูมิเนียม ข้าวสาลี ก๊าซธรรมชาติสหรัฐฯ (NG)  ของสหรัฐฯ แนฟทา LNG ทองแดงและทูน่าปรับลดลง

มากขณะที่ราคาอาหารและพลังงานปรับลดลงน้อยกว่า


ทั้งนี้แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นกลุ่ม anti-commodities และขายหุ้นกลุ่มโภคภัณฑ์จากแนวโน้มราคาที่ลดลง  เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัวลงจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงต่อ 


สำหรับผู้เล่นหลักในกลุ่ม anti-commodities ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์BDI ที่ลดลงและราคาน้ำมันปาล์ม อะลูมิเนียม ข้าวสาลี แนฟทา LNG ค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ทูน่าและน้ำมันที่ลดลงคือ BJC([email protected]), CBG (FV@B124), OSP([email protected]), RBF([email protected]), TOA (FV@B29), BGRIM ([email protected]), GPSC([email protected]), GULF(FV@B48), GFPT ([email protected])


 TU ([email protected]), ASIAN ([email protected]), PTG (FV@B17), OR ([email protected]), EPG(FV@B11), DCC ([email protected]), BGC (FV@B10), AAV ([email protected]) และ BA ([email protected])


ขณะที่ผู้เล่นในกลุ่ม commodities ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) หรือ BDI ราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ส่วนต่างราคา HDPE ส่วนต่างราคา PX ค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ส่วนต่างราคา PET และราคาน้ำมันที่ลดลงคือ PSL, BANPU, PTTGC, IRPC, TOP, RCL, IVL, PTT และ PTTEP 


อย่างไรก็ตาม คาดว่าผู้เล่นในกลุ่มอาหารและโรงกลั่น (CPF ,GFPT ,SPRC และ ESSO) จะเคลื่อนไหวดีกว่าคู่แข่งจากราคาผลิตภัณฑ์หลักที่ยังแข็งแกร่งโดยลดลงน้อยกว่า 6% จากระดับสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์   



ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงและอุปทานที่เพิ่มขึ้นซึ่งถือเป็นสตอรี่ที่แตกต่างจากช่วงต้นปีนี้ที่อุปสงค์ที่แข็งแกร่งและอุปทานที่ตึงตัวส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้น แม้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงเฉลี่ยที่ 16% จากระดับสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ แต่ราคายังเพิ่มขึ้นถึง 30% YoY โดยเฉลี่ย 


ดังนั้น เราจึงคาดว่าจะเห็น downside จากระดับปัจจุบันเนื่องจากหลายปัจจัยที่สนับสนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เช่น อุปสงค์ที่อั้นไว้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นและอุปทานที่หยุดชะงักลงจากโควิด-19 กลายมาเป็นปัจจัยลบ


อย่างไรก็ตาม  สถานการณ์คอขวดของอุปทานยังปรับตัวดีขึ้นหลังสามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มมากขึ้นจากนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นของ Fed เราคาดว่าอุปสงค์จะอ่อนตัวลงต่อเนื่องจากราคาและต้นทุนเงินกู้ที่สูงขึ้น ขณะที่การตอบสนองของอุปทานต่อราคาที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ราคาปรับลดลงในอนาคต


ที่มา  บล.กสิกรไทย 

ภาพประกอบ  บล.กสิกรไทย,ดีพร้อม

ข่าวแนะนำ