TNN ค่าจ้าง 400 บาท ต่อลมหายใจผู้ใช้ “แรงงาน” และความเท่าเทียม?

TNN

TNN Exclusive

ค่าจ้าง 400 บาท ต่อลมหายใจผู้ใช้ “แรงงาน” และความเท่าเทียม?

ค่าจ้าง 400 บาท ต่อลมหายใจผู้ใช้ “แรงงาน” และความเท่าเทียม?

“ ผู้ประกอบกิจการโรงแรม คือ ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่จะได้รับผลประโยชน์ จากมติครม.เมื่อ 26 มี.ค.ที่เห็นชอบปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท/วัน ใน 10 จังหวัดนำร่อง และเริ่มบังคับใช้ 13 เม.ย.เพื่อเป็นของขวัญเทศกาลสงกรานต์ หรือ ปีใหม่ไทย...ด้านตัวแทนภาคแรงงาน เรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศเท่ากันทั้งหมด 492 บาท/วัน เพื่อผลประโยชน์ที่ครอบคลุมกับผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วนซึ่งต้องประสบกับปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นแทบไม่แตกต่างกัน”

ย้อนดูค่าแรงขั้นต่ำปี 2567 ที่มีการปรับขึ้นครั้งแรก และมีผลเมื่อ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ไตรภาคี  เมื่อ 8 ธ.ค. 2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากครั้งล่าสุด1 ต.ค. 2565  ปรับขึ้น 2-16 บาททั่วประเทศ ต่ำสุด 330 บาท และสูงสุด 370 บาท  แต่นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เศรษฐา ทวีสิน ออกมาท้วงติงเหตุใดจึงปรับขึ้นน้อยเกินไป  โดยเปรียบเทียบว่า "ขึ้นแค่ 2-3 บาท ยังซื้อไข่ 1 ฟองไม่ได้ด้วยซ้ำ  เมื่อค่าแรงขั้นต่ำติดดินขนาดนี้ ก็ต้องทบทวนเรื่องค่าจ้างใหม่  ขณะที่  สิงคโปร์ เกาหลี ค่าแรงต่อวัน 1,000 บาท " จึงนำมาสู่การพิจารณาปรับขึ้นอีกรอบในครั้งนี้  (26 มี.ค)   สำหรับ 10 หวัดนำร่องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาท /วัน มีเพียง จังหวัดภูเก็ต เพียงจังหวัดเดียวที่ได้ปรับขึ้นเท่ากันทั้งจังหวัดที่ 400 บาท ส่วนอีก 9 จังหวัด มีการปรับขึ้นบางพื้นที่เท่านั้น  กรุงเทพมหานคร เฉพาะเขตปทุมวันและเขตวัฒนา,กระบี่ เฉพาะเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง,ชลบุรี เฉพาะเขตเมืองพัทยา,เชียงใหม่ เฉพาะเขตเทศบาลนครเชียงใหม่,ประจวบคีรีขันธ์ เฉพาะเขตเทศบาลหัวหิน,พังงา เฉพาะเขตเทศบาลตำบลคึกคัก,ระยอง เฉพาะเขตตำบลบ้านเพ,สงขลา เฉพาะเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ และ,สุราษฎร์ธานี เฉพาะเขตอำเภอเกาะสมุย เป็นการปรับขึ้นในอัตรา 30-55 บาท ภูเก็ตซึ่งปรับขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วพื้นที่ 400 บาทแต่เป็นจังหวัดที่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ"น้อยที่สุด"  30 บาท  คือจาก 370 บาท เป็น 400 บาท    ส่วน 5 จังหวัดได้รับการปรับมากที่สุดเท่ากันที่ 55 บาทได้แก่ จประจวบคีรีขันธ์,พังงา ,สงขลา และสุราษฎร์ธานี  ส่วนกรุงเทพมหานคร ปรับเพิ่มครั้งนี้ 37 บาท   แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของประเทศในอาเซียน   กลับพบว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีค่าแรงขั้นต่ำที่แซงหน้าหลายๆ ประเทศในอาเซียนแล้ว หลังปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท/วัน ข้อมูลเมื่อปี 2566 พบว่า  มาเลเซียมีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 392 บาท/วัน  รองลงมาเป็นฟิลิปปินส์ ที่มีค่าแรงขั้นต่ำ 362 บาท/วัน   อินโดนีเซีย 351 บาท/  ส่วนเมียนมา  มีค่าแรงขั้นต่ำน้อยที่สุดที่ 81 บาท/วัน  ซึ่งมากกว่าลาวเล็กน้อย โดยลาวมีค่าแรงขั้นต่ำที่ 85 บาท/วัน   ด้าน สิงคโปร์ ไม่ได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ แต่แรงงานมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 46,051 บาท เช่นเดียวกันกับรูไน ก็ไม่ได้กำหนดค่าแรงขั้น่ำ แต่มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 28,431 บาท 


ค่าจ้าง 400 บาท ต่อลมหายใจผู้ใช้ “แรงงาน” และความเท่าเทียม?


แน่นอนว่า เมื่อมีกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จาการปรับค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ ก็ย่อมมีกลุ่มที่ไม่ได้รับประโยชน์แม้ว่ารัฐบาล จะออกมายืนยันว่า จะมีการพิจารณาปรับเพิ่มในส่วนของกลุ่มอื่นเพิ่มเติม  โดยกลุ่มผู้นำแรงงาน ได้เดินทางไปกระทรวงแรงงานเพื่อยื่นหนังสือขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ 492 บาท  กลุ่มผู้นำแรงงาน ประกอบด้วย กลุ่มสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  ยกเหตุผล จากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ครั้งแรกในปีนี้  2-16 บาท  ซึ่งสังคมเห็นตรงกันว่า ค่าจ้างขั้นต่ำต้องปรับขึ้นอีก เพราะราคาสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตทุกหมวดปรับตัวสูงขึ้น   จึงควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 492 บาท/วัน โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวเท่ากันทั้งประเทศ เพราะราคาสินค้าไม่ได้แตกต่างกัน และยังเห็นว่าพื้นที่ต่างจังหวัดบางแห่งสินค้ายังแพงกว่าด้วย  รวมถึงเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดให้เป็นค่าจ้างแรกเข้าและให้ทุกสถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้าง เพื่ออนาคตของคนทำงาน ครอบคลุมลูกจ้างภาครัฐและเอกชน รวมถึงแรงงานภาคบริการ


ค่าจ้าง 400 บาท ต่อลมหายใจผู้ใช้ “แรงงาน” และความเท่าเทียม?


ค่าจ้าง 400 บาท ต่อลมหายใจผู้ใช้ “แรงงาน” และความเท่าเทียม?


ส่วนคำชี้แจงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนหน้านี้  กระทรวงแรงงาน  ระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ขณะที่ธุรกิจการให้บริการที่พักโรงแรมมีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง  และ 10 จังหวัดที่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ เป็นจังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง คณะกรรมการค่าจ้างฯ จึงกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรม  เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว   โดยพิจารณาบนพื้นฐานของความเสมอภาคและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อให้นายจ้าง/ลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข  และหลังจากนี้ จะติดตามผลกระทบที่เกิดจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรมเพื่อนำไปสู่การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรมการค่าจ้างฯด้วยความรอบคอบ   และเตรียมพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ กลุ่มธุรกิจภาคการส่งออก และโลจิสติกส์ เป็นกลุ่มต่อไป 


การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ในครั้งนี้อาจเป็นเพียงหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลเร่งผลัดดันและขับเคลื่อนประเทศภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงวิกฤต ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่รัฐบาลยังมีอีกหลายแนวทางเพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระประชาชน ทั้งการลดค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ และอีกนโยบาย เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่มีไทม์ไลน์ออกมาแล้ว ภายในไม่เกินไตรมาส 4 ปีนี้จะได้รับเงินดิจิทัล แน่นอน และ 10 เม.ย.นี้จะมีความชัดเจน


ค่าจ้าง 400 บาท ต่อลมหายใจผู้ใช้ “แรงงาน” และความเท่าเทียม?


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง