TNN แดดร้อนไม่ใช่สาเหตุหลัก! อ.เจษฎ์ อธิบาย ‘ไฟไหม้รถ’ จากกระดาษทิชชู

TNN

TNN Exclusive

แดดร้อนไม่ใช่สาเหตุหลัก! อ.เจษฎ์ อธิบาย ‘ไฟไหม้รถ’ จากกระดาษทิชชู

แดดร้อนไม่ใช่สาเหตุหลัก! อ.เจษฎ์ อธิบาย ‘ไฟไหม้รถ’ จากกระดาษทิชชู

กระแสคลิปรถไหม้จากกระดาษทิชชูวางในรถจอดแดด ทำให้ผู้คนตกใจกังวล อ.เจษฎ์ จุฬาฯ จึงออกมาอธิบายว่าไม่ใช่สาเหตุหลัก เพราะกระดาษทิชชูต้องได้รับความร้อนสูงถึง 232 องศาก่อนจะติดไฟ โอกาสเกิดขึ้นได้ยากมาก แต่ควรระวังวัตถุที่อาจเป็นจุดรวมแสง

จากคลิปวิดีโอที่โพสต์โดยผู้ใช้ TikTok ชื่อว่า @tawan_pick เผยให้เห็นสภาพรถเก๋งคันหนึ่งที่ถูกไฟไหม้เสียหายทั้งเบาะนั่งด้านหลัง กระจกหลัง และคอนโซลกลาง ควันไฟยังคงคุกรุ่นอยู่ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังใช้น้ำฉีดเพื่อดับไฟ


เจ้าของรถ เล่าว่า เขาจอดรถไว้กลางแดดประมาณ 4 ชั่วโมง กลับมาอีกทีก็พบว่าไฟไหม้แล้ว คาดว่าสาเหตุมาจากอากาศร้อนจัด ประกอบกับภายในรถมีกระดาษทิชชูและไม้จิ้มฟันวางอยู่ แสงแดดส่องผ่านกระจกไปรวมจุดที่วางของ จนเกิดประกายไฟและลุกลาม


แดดร้อนไม่ใช่สาเหตุหลัก! อ.เจษฎ์ อธิบาย ‘ไฟไหม้รถ’ จากกระดาษทิชชู


เหตุการณ์นี้ถือเป็นอุทาหรณ์เตือนใจสำหรับคนขับขี่ทุกคน ให้ระวังการจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ควรหาที่จอดรถในร่มหรือใต้ร่มเงา และเก็บสิ่งของที่ไวไฟออกจากรถ


อ.เจษฎ์ชี้แจงกรณีกระดาษทิชชูติดไฟในรถจากแดดร้อน "ต้องเกิดจากความบังเอิญรวมแสงสุดๆ"


ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาชี้แจงว่า สิ่งของเหล่านั้นไม่สามารถติดไฟและเกิดไฟไหม้เองได้เพียงแค่จากการถูกแสงแดดร้อนจากการจอดรถตากแดด


แดดร้อนไม่ใช่สาเหตุหลัก! อ.เจษฎ์ อธิบาย ‘ไฟไหม้รถ’ จากกระดาษทิชชู


อ.เจษฎ์ ระบุว่า วัตถุพวกกระดาษหรือเศษไม้จะเริ่มลุกไหม้ได้นั้น จะต้องได้รับความร้อนสูงถึงประมาณ 232 องศาเซลเซียส ในขณะที่อุณหภูมิภายในรถที่จอดกลางแดด แม้ในช่วงเที่ยงก็จะมีอุณหภูมิสูงสุดเพียงประมาณ 60-70 องศาเซลเซียสเท่านั้น 


ดังนั้น หากจะมีไฟไหม้เกิดขึ้นจริงในรถจากการจอดตากแดดแสงแรง จะต้องเกิดจากความบังเอิญมากๆ ที่วัตถุอย่างกระจก กระป๋องสเปรย์ หรือขวดน้ำ กลายเป็นจุดรวมแสงโดยบังเอิญ ทำให้เกิดจุดร้อนได้ติดไฟวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง อย่างกระดาษหรือผ้าในรถ



แนวทางป้องกันไฟไหม้ในรถ


1. หลีกเลี่ยงการจอดรถตากแดด โดยหาที่จอดในร่มหรือใช้ผ้าคลุมรถ เพื่อป้องกันความร้อนสะสมภายในรถ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ รวมถึงเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้จากความร้อนสูงเกินไป


2. ไม่วางหรือเก็บวัตถุที่ไวไฟไว้ภายในรถ เช่น ถังสเปรย์กระป๋อง พาวเวอร์แบงก์ ให้เก็บวัตถุเหล่านั้นในที่ปลอดภัยภายนอกรถ เนื่องจากความร้อนภายในรถอาจทำให้วัตถุเหล่านั้นระเบิดหรือลุกติดไฟได้ 


3. ตรวจเช็คสภาพระบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่ของรถอย่างสม่ำเสมอโดยช่างผู้ชำนาญ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรหรือแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดประกายไฟหรือไฟไหม้ได้


4. ติดตั้งถังดับเพลิงขนาดพกพาไว้ในรถ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้น และควรตรวจสอบสภาพถังดับเพลิงเป็นประจำด้วย


เหตุการณ์นี้ถือเป็นกรณีศึกษาและอุทาหรณ์เตือนใจสำหรับผู้ขับขี่ทุกคน ให้ระมัดระวังการจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนจัด ควรหลีกเลี่ยงการจอดแดดจัด หาที่จอดในร่มหรือใต้ร่มเงา และเก็บสิ่งของที่เป็นวัตถุไวไฟออกจากห้องโดยสารก่อนจอดรถ


แดดร้อนไม่ใช่สาเหตุหลัก! อ.เจษฎ์ อธิบาย ‘ไฟไหม้รถ’ จากกระดาษทิชชู


อย่างไรก็ตาม อ.เจษฎ์ย้ำว่า แม้โอกาสเกิดไฟไหม้จากการจอดรถตากแดดจะน้อยมาก แต่ก็ควรระมัดระวังและปฏิบัติตามแนวทางป้องกันเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง