TNN online เปิดหลักการ "คุ้มครองช่วยเหลือพยาน" โดยสำนักงาน ป.ป.ช.

TNN ONLINE

TNN Exclusive

เปิดหลักการ "คุ้มครองช่วยเหลือพยาน" โดยสำนักงาน ป.ป.ช.

เปิดหลักการ คุ้มครองช่วยเหลือพยาน โดยสำนักงาน ป.ป.ช.

เปิดหลักการ "คุ้มครองช่วยเหลือพยาน" โดยสำนักงาน ป.ป.ช. สามารถยื่นคำร้องได้ที่ไหน การคุ้มครองจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

เปิดหลักการ "คุ้มครองช่วยเหลือพยาน" โดยสำนักงาน ป.ป.ช. สามารถยื่นคำร้องได้ที่ไหน การคุ้มครองจะสิ้นสุดลงเมื่อใด


ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากมาย หรือมีประชาชนพบเห็นการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่แต่ไม่กล้าแจ้งหรือให้ข้อมูลกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เพราะเกรงกลัวและกังวลเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและครอบครัว หากท่านต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการร้องขอคุ้มครองช่วยเหลือพยาน จะต้องดำเนินการอย่างไร มาร่วมทำความเข้าใจผ่านคลิปนี้กันครับ


หลักการคุ้มครองช่วยเหลือพยาน โดยสำนักงาน ป.ป.ช.


“ผู้ร้องขอ” ได้แก่ ผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำ หรือผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป.ป.ช. และรวมถึง คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ร้องขอด้วย


การยื่นคำร้องขอคุ้มครองช่วยเหลือพยาน สามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้


(1) ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารหลักฐานด้วยตนเองต่อสำนักงานตามแบบที่สำนักงานกำหนดหรือ


(2) ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองช่วยเหลือพยานและให้หน่วยงานดังกล่าวประสานการปฏิบัติงานเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือพยานกับสำนักงาน


ในกรณีเร่งด่วนที่ผู้ร้องขอไม่อาจมายื่นคำร้องได้ด้วยตนเอง ให้ทำเป็นหนังสือ จดหมาย โทรศัพท์ โทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน


ทั้งนี้ การร้องขอกรณีดังกล่าวต้องระบุชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ร้องขอตลอดจนพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องขออาจไม่ได้รับความปลอดภัย และต้องลงลายมือชื่อหรือระบุชื่อผู้ร้องขอแล้วแต่กรณี


การยื่นคำร้องสามารถยื่นได้ที่


1.สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง


2. สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนภาค


3. สำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัด


4.กระทรวงยุติธรรม


5.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ


6.โทรสายด่วน 1205


วิธีการคุ้มครองช่วยเหลือพยานตามมาตรการทั่วไป สำนักงานดำเนินการจัดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยให้เหมาะสมแก่สถานะและสภาพของพยาน รวมทั้งมีอำนาจเปลี่ยนแปลงวิธีการคุ้มครองความปลอดภัย โดยอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด


(1) จัดพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครอง ณ ที่พักอาศัย หรือสถานที่ที่พยานร้องขอ


(2) จัดให้พยานอยู่หรือพักอาศัยในสถานที่ที่สำนักงานกำหนด


(3) จัดให้มีมาตรการปกปิดไม่ให้มีการเปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ ภาพ หรือข้อมูลอย่างอื่นที่สามารถระบุตัวพยานได้


(4) จัดให้มีการติดต่อสอบถามความเป็นอยู่หรือตรวจสถานที่ที่อยู่หรือัพักอาศัยอย่างสม่ำเสมอ


(5) แจ้งเป็นหนังสือให้หน่วยงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพยานข้อ 15 คือ ให้เจ้าพนักงานที่ได้รับมอบหมายดำเนินการให้การคุ้มครองความปลอดภัยให้เหมาะสมแก่สถานะ สภาพของพยานและลักษณะของคดี


(6) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการป.ป.ช. กำหนด


การคุ้มครองช่วยเหลือพยานตามมาตรการพิเศษ ให้สำนักงานนำวิธีการคุ้มครองพยาน ตามมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน


1.จัดเจ้าหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัย


2.จัดหาที่อยู่ใหม่ เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หลักฐานทางทะเบียน


3.จ่ายค่าเลี้ยงชีพ จัดหาอาชีพหรือการศึกษา เป็นต้น


การคุ้มครองช่วยเหลือพยานจะสิ้นสุดลงเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้


(1) พยานถึงแก่ความตาย


(2) พยานร้องขอให้ยุติการคุ้มครองช่วยเหลือ หรือ ขอเพิกถอนความย่นย่อม


(3) พยานฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบหรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการป.ป.ช.กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร


(4) พฤติการณ์แห่งความไม่ปลอดภัยของพยานเปลี่ยนแปลงไป และกรณีไม่มีความจำเป็น จะต้องให้ความคุ้มครองอีกต่อไป


(5) พยานไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่มาให้ถ้อยคำเป็นพยานโดยไม่มีเหตุสมควร หรือไม่ไปเบิกความหรือไปเบิกความแต่ไม่เป็นไปตามที่ให้การหรือให้ถ้อยคำไว้ หรือไปเบิกความเป็นพยานแต่ไม่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาหรือเปืนปฏิปักษ์


(6) เมื่อสำนักงานได้รับแจ้งจากหน่วยงานอื่นที่คณะกรรมการป.ป.ช. สั่งให้ดำเนินการคุ้มครอง ช่วยเหลือพยานว่า การคุ้มครองช่วยเหลือพยานสิ้นสุดลง


(7)เมื่อมีกรณีอื่นใดที่คณะกรรมการป.ป.ช. เห็นสมควรให้การคุ้มครองช่วยเหลือพยานสิ้นสุดลง



เปิดหลักการ คุ้มครองช่วยเหลือพยาน โดยสำนักงาน ป.ป.ช.

 




ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง