TNN online TNN Exclusive : ภาพดาวเทียมโลกในวันที่ร้อนที่สุด จับตา "ดับเบิลเอลนีโญ"

TNN ONLINE

TNN Exclusive

TNN Exclusive : ภาพดาวเทียมโลกในวันที่ร้อนที่สุด จับตา "ดับเบิลเอลนีโญ"

TNN Exclusive : ภาพดาวเทียมโลกในวันที่ร้อนที่สุด จับตา ดับเบิลเอลนีโญ

ภาพดาวเทียมสภาพของโลก ณ วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้กลายเป็นวันที่โลกมีอากาศร้อนจัดที่สุด เท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติ โดยศูนย์พยากรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงสุด แตะ 17.01 องศาเซลเซียส แซงหน้าสถิติเดิมที่ 16.92 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสถิติเมื่อเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2559

แม้กระทั่งในทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ ที่ขณะนี้ยังเป็นฤดูหนาว แต่กลับพบอุณหภูมิสูงผิดปกติ โดยล่าสุด ที่ฐานวิจัยเวอร์นัดสกี ของยูเครน ที่ตั้งอยู่ที่หมู่เกาะอาร์เจนไตน์ในแอนตาร์กติกา วัดอุณหภูมิสูงสุดได้ 8.7 องศาเซลเซียส ทุบสถิติอุณหภูมิสูงสุดของเดือนกรกฎาคมในแอนตาร์กติกา 


ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ TNN ช่อง 16 ระบุว่า การที่โลกอุณหภูมิเฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา สะท้อนว่า  เอลนีโญคือความร้อนแล้งมาเจอกับภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก กลายเป็นอุณหภูมิร้อนหนักกว่าเดิมแบบ 2 เด้ง และในอนาคตโลกก็จะมีสถิติใหม่ๆ ของอุณหภูมิที่สูงมากขึ้นไปอีก


TNN Exclusive : ภาพดาวเทียมโลกในวันที่ร้อนที่สุด จับตา ดับเบิลเอลนีโญ


"อุณหภูมิสูงก็เป็นภัยพิบัติอย่างหนึ่งอยู่แล้ว นอกจากอุณหภูมิสุงก็ยังมีเรื่องของความแห้งแล้งอีก เพราะร้อนจัด ตอนนี้ก็เริ่มเห็นชัดเจนแล้ว ซึ่งบ้านเราจะเจอฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ตุลาถึงมกราปีหน้า ฝนจะน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะภาคใต้ แค่แล้งก็แย่แล้วครับ เมื่อปี 58 เราเสียผลผลิตการเกษตรไปหลายหมื่นล้าน เพราะน้ำไม่พอ ปีนี้ก็จะพอๆกันหรือมากกว่าเพราะโลกร้อนมากขึ้น" ผศ.ดร.ธรณ์กล่าว


TNN Exclusive : ภาพดาวเทียมโลกในวันที่ร้อนที่สุด จับตา ดับเบิลเอลนีโญ


ซึ่งการรับมือ ผศ.ดร.ธรณ์ บอกว่า ต้องปรับพืช และเปลี่ยนแผนเรื่องการปลูกพืช และการเก็บน้ำไว้ใช้เอง ทั้งการปลูกพืช และการเก็บน้ำ ซึ่งผู้ที่ปรับตัวได้ ก็จะเจอกับผลกระทบที่น้อยกว่า  


"หลายฝ่ายก็เข้าใจตรงกันว่าน้ำยังไงก็ไม่พอ ฉะนั้นเราก็ต้องมีการปรับ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ลงพืชให้น้อยลง ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยลง เพราะยังไงน้ำก็ไม่มีทางเท่าเดิม เทคโนโลยีที่มีอยู่ก็ต้องใช้ให้เต็มที่ ทั้งลอกคลอง แบ่งปันน้ำ แต่เทคโนโลยีอื่นก็คงไม่มี ไม่งั้นอเมริกาเขาคงใช้ไปแล้ว ที่มีก็แค่น้ำบาดาล ต้องมัธยัสถ์ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เพราะน้ำที่มีอยู่มันก็คงไม่พอ" ผศ.ดร.ธรณ์กล่าวเพิ่มเติม


TNN Exclusive : ภาพดาวเทียมโลกในวันที่ร้อนที่สุด จับตา ดับเบิลเอลนีโญ


ขณะที่การทำนายล่วงหน้าว่าเอลนีโญจะแล้งนาน หรือ เกิดดับเบิลเอลนีโญ หรือ เอลนีโญติดต่อกัน 2 ปีหรือไม่ ยังไม่สามารถคาดการณ์ไปไกลได้ เพราะการคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้าในปัจจุบันทำได้แค่ 8 -10 เดือนเท่านั้น แต่หลายฝ่ายห่วงเรื่องดับเบิลเอนีโญ เพราะเคยเจอกับลานีญามานาน 2 ปีติดต่อกันมาแล้ว


TNN Exclusive : ภาพดาวเทียมโลกในวันที่ร้อนที่สุด จับตา ดับเบิลเอลนีโญ


ภาพ ทีมข่าว TNN 

เรียบเรียงโดย : นนท์สมร ศานติวงศ์สกุล

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง