TNN online สมองจิ๋ว (Mini brain) จากห้องวิจัยเยอรมนี สามารถงอก "ดวงตา" ออกมาได้แล้ว !!

TNN ONLINE

Tech

สมองจิ๋ว (Mini brain) จากห้องวิจัยเยอรมนี สามารถงอก "ดวงตา" ออกมาได้แล้ว !!

สมองจิ๋ว (Mini brain) จากห้องวิจัยเยอรมนี สามารถงอก ดวงตา ออกมาได้แล้ว !!

เมื่อนักวิจัยเยอรมนีสร้างสมองจิ๋ว ที่สามารถงอกดวงตาออกมาได้ !!

กลายเป็นเรื่องฮือฮาในวงการวิทยาศาสตร์กันเลยทีเดียว เมื่อนักวิจัยจากเยอรมนีได้ทดลองเพาะเลี้ยงสมองจิ๋ว (Mini brain) จากสเต็มเซลล์ แต่จู่ ๆ สามารถพัฒนาจนมีดวงตาแบบพื้นฐานขึ้นมา !!


สมองจิ๋ว (Mini brain) จากห้องวิจัยเยอรมนี สามารถงอก ดวงตา ออกมาได้แล้ว !! ที่มาของภาพ https://www.sciencealert.com/scientists-used-stem-cells-to-make-mini-brains-they-grew-rudimentary-eyes

 


นักวิจัยตั้งใจเพาะเลี้ยงสมองจิ๋วนี้ขึ้น เพื่อศึกษาพัฒนาการของอวัยวะในระบบประสาทตั้งแต่การก่อกำเนิดของมนุษย์ในครรภ์ และอาจเป็นหนทางไปสู่การพัฒนาวิธีการรักษาโรคหรือความผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากทารกในครรภ์และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญด้วย


สมองจิ๋วถูกเพาะเลี้ยงขึ้นจากสเต็มเซลล์ชนิด Pluripotent ซึ่งสามารถชักนำให้เซลล์เจริญเติบโตอวัยวะใดก็ได้ตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม สมองจิ๋วจะไม่ได้มีฟังก์ชันการทำงานที่เต็มที่เหมือนสมองจริง ๆ มันเป็นเพียง "ส่วนหนึ่ง" ของสมองที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ดังนั้นมันจะไม่มีความคิด การเชื่อมโยง อารมณ์ หรือการตระหนักรู้ใด ๆ ซึ่งถือว่าไม่ผิดจรรยาบรรณของงานวิจัย


สำหรับสมองจิ๋วในงานวิจัยนี้ได้ถูกชักนำให้เกิดการพัฒนา "ดวงตา" ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยในช่วง 30 วันแรกจะมีการสร้างเส้นประสาทจอตา จากนั้นจึงค่อยพัฒนาโครงสร้างจนเห็นว่าเป็นดวงตาชัดเจนในวันที่ 50 ของการทดลอง โดยมีสมองจิ๋วถึง 73% ในการทดลองที่สามารถพัฒนาถึงขั้นนี้ได้ (หากใครเคยชมคลิปการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ จะเห็นดวงตาของตัวอ่อนคล้ายเม็ดชาไข่มุกติดอยู่นั่นเอง) และคาดหวังว่าจะสามารถเลี้ยงสมองจิ๋วต่อไปได้เรื่อย ๆ เพื่อศึกษาพัฒนาการของดวงตาให้กระจ่างมากกว่านี้


จริง ๆ เคยมีการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์เพื่อสร้างดวงตาขึ้นในห้องทดลองมาก่อนหน้านี้ แต่นักวิจัยจากเยอรมนีต้องการศึกษาเพื่อให้เห็นกระบวนการพัฒนาดวงตาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้ได้รายละเอียดตั้งแต่การแบ่งเซลล์ให้กลายเป็นเส้นประสาทจอตา การสร้างม่านตา หรือการสร้างเลนส์ตา แล้วนำไปใช้ในการคิดค้นวิธีการรักษาโรคของดวงตาในทางการแพทย์ต่อไป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Science Alert

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง