TNN online นักวิทย์ฯ สร้าง "หัวใจเทียม" เพื่อการศึกษาของศัลยแพทย์ จากเครื่องพิมพ์ 3D

TNN ONLINE

Tech

นักวิทย์ฯ สร้าง "หัวใจเทียม" เพื่อการศึกษาของศัลยแพทย์ จากเครื่องพิมพ์ 3D

นักวิทย์ฯ สร้าง หัวใจเทียม เพื่อการศึกษาของศัลยแพทย์ จากเครื่องพิมพ์ 3D

ศัลยแพทย์ทรวงอกต้องมีประสบการณ์ในการผ่าตัดหัวใจ นักวิทย์จึงสร้าง "หัวใจเทียม" เพื่อให้แพทย์เหล่านี้สามารถฝึกฝนการผ่าตัดได้ ราวกับผ่าตัดหัวใจของจริง

สำหรับแพทย์ที่กำลังศึกษาต่อในสาขาศัลยกรรมทรวงอก สิ่งหนึ่งที่แพทย์เหล่านี้ต้องมีประสบการณ์ คือการศึกษาโครงสร้าง "หัวใจของมนุษย์" และฝึกฝนผ่าตัดหัวใจให้แม่นยำที่สุด เพื่อให้การฝึกซ้อมหรือวางแผนการรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นหัวใจเทียมที่สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3D !!


นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคานเน็กกี้ เมลลอน ได้คิดค้นเทคนิคที่เรียกว่า Freeform Reversible Embedding of Suspended Hydrogels (FRESH) มาใช้ในการสร้างหัวใจเทียมที่คล้ายกับหัวใจของจริงมากที่สุด โดยอาศัยเครื่องพิมพ์ 3D และ "หมึกพิมพ์พิเศษ" เรียกว่า Bioink

นักวิทย์ฯ สร้าง หัวใจเทียม เพื่อการศึกษาของศัลยแพทย์ จากเครื่องพิมพ์ 3D

ที่มาของภาพ https://engineering.cmu.edu/news-events/news/2020/11/18-3d-printed-heart.html

Bioink ที่นำมาใช้ในเทคนิค FRESH นี้ สร้างจากโพลีเมอร์สกัดจากสาหร่ายที่มีชื่อว่า Alginate ในกระบวนการสร้างหัวใจเทียมด้วยเทคนิค FRESH นักวิทยาศาสตร์จะบันทึกโครงสร้างของหัวใจของจริงทั้งหมดด้วย MRI จากนั้นจึงนำแบบโครงสร้างที่ได้ป้อนให้กับเครื่องพิมพ์ 3D ระบบของเครื่องพิมพ์ก็จะเริ่มปล่อย Bioink ออกมาเป็นเส้น ๆ ซ้อนกันอย่างแน่นหนาในบล็อกไฮโดรเจล ให้เกิดเป็นรูปร่างของหัวใจขึ้นมา

นักวิทย์ฯ สร้าง หัวใจเทียม เพื่อการศึกษาของศัลยแพทย์ จากเครื่องพิมพ์ 3D

ที่มาของภาพ https://newatlas.com/3d-printing-soft-biomaterials/40045/?itm_source=newatlas&itm_medium=article-body

เนื่องจาก Bioink มีความยืดหยุ่นคล้ายคลึงกับเนื้อเยื่อของมนุษย์มาก นี่จึงเป็นข้อดีของการสร้างหัวใจเทียมเพื่อการศึกษา ด้วยเทคนิค FRESH เพราะเดิมทีหัวใจเทียมที่ศัลยแพทย์ใช้กันนั้น ทำมาจากพลาสติกหรือยาง จึงให้ความรู้สึกที่แตกต่างไปจากหัวใจของจริงอย่างสิ้นเชิง

นักวิทย์ฯ สร้าง หัวใจเทียม เพื่อการศึกษาของศัลยแพทย์ จากเครื่องพิมพ์ 3D

ที่มาของภาพ https://engineering.cmu.edu/news-events/news/2020/11/18-3d-printed-heart.html

นักวิทยาศาสตร์เผยว่า หัวใจเทียมนี้สามารถใช้ในการฝึกฝนการผ่าตัดของศัลยแพทย์ได้ อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นให้มันเต้นได้คล้าย ๆ กับหัวใจของจริง เพราะฉะนั้นเวลาฝึกซ้อมการผ่าตัดจะช่วยให้แพทย์เข้าถึงบรรยากาศมากขึ้น และในอนาคตอาจนำเทคนิค FRESH นี้ไปใช้ในการสร้างอวัยวะจำลองเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก New Atlas

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง