TNN โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นเปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยซ่อมเตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย

TNN

Tech

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นเปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยซ่อมเตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นเปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยซ่อมเตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย

ญี่ปุ่นเปิดตัวหุ่นยนต์ผู้ช่วยแก้ปัญหาใหญ่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยหุ่นยนต์สุดล้ำถูกพัฒนาขึ้นเพื่อภารกิจสำคัญ ช่วยซ่อมแซมเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย ช่วยฟื้นฟูโรงไฟฟ้า หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ

บริษัทผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิ (Fukushima Daiichi) ที่ได้รับความเสียหายในญี่ปุ่นสาธิตการใช้งานหุ่นยนต์มีท่อแบบยืดหดได้ที่สามารถควบคุมจากระยะไกล ซึ่งอาจจะมาใช้ช่วยงานเก็บซากชิ้นส่วนและวัตถุที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีได้ภายในช่วงปลายปีนี้

 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นเปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยซ่อมเตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย ภาพจาก TEPCO

หุ่นยนต์นี้จะถูกทดสอบภายในหนึ่งในเตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย ภายในเดือนตุลาคมที่จะถึง ซึ่งจะเป็นการทดสอบครั้งแรก นับตั้งแต่โรงงานเกิดความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 และสึนามิในปี 2011 ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำลายระบบจ่ายไฟ และระบบทำความเย็นของโรงงาน จนส่งผลให้แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลาย และก่อให้เกิดการระเบิดของไฮโดรเจน กลายเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ 


สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์นี้ เป็นผลงานของ บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมปานี หรือ เทปโก (TEPCO) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น 


โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บริษัทเคยเผยแผนการที่จะส่งโดรนขนาดเล็กจำนวน 4 ลำและหุ่นยนต์ เข้าไปปฏิบัติหน้าสำรวจความเสียหายที่เครื่องปฏิกรณ์ เพื่อช่วยให้ทีมงานมองเห็นภาพรวมของความเสียหายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และหวังว่าภาพที่ได้มาจะช่วยให้พวกเขาประเมินได้ว่า จะกำจัดเศษเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่หลอมละลายออกไปได้อย่างไร 


สำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เสียหาย เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องมาจากการเผชิญกับสึนามิขนาดใหญ่ ที่พัดถล่มชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทเชื่อว่า ยังมีเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่หลอมละลาย และมีกัมมันตภาพรังสีสูงประมาณ 880 ตัน อยู่ภายในเตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย แต่เจ้าหน้าที่กล่าวว่ารายละเอียดส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด


อย่างไรก็ตามบริษัทหวังว่าการใช้งานหุ่นยนต์นี้ จะช่วยในการกำจัดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หลอมละลายที่ยังคงค้างอยู่ภายใน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากระบวนการดังกล่าว อาจต้องใช้เวลานานกว่า 30-40 ปี


ข้อมูลจาก apvideohub

ข่าวแนะนำ