TNN นักบิน NASA ขับเครื่องบินสอดแนม ฝ่าฝนฟ้าคะนองเพื่อศึกษาฟ้าผ่า

TNN

Tech

นักบิน NASA ขับเครื่องบินสอดแนม ฝ่าฝนฟ้าคะนองเพื่อศึกษาฟ้าผ่า

นักบิน NASA ขับเครื่องบินสอดแนม ฝ่าฝนฟ้าคะนองเพื่อศึกษาฟ้าผ่า

นักบินของนาซา (NASA) ขับเครื่องบินสอดแนมฝ่าเข้าไปในฝนฟ้าคะนอง เพื่อศึกษาฟ้าผ่า

นาซา (NASA) จับมือกับห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐฯ (NRL) และมหาวิทยาลัยเบอร์เกน (University of Bergen) ในนอร์เวย์ ภายใต้โครงการเอลอฟท์ (ALOFT) โดยได้ให้นักบินขับเครื่องบินสอดแนมเข้าสู่พายุฝนฟ้าคะนอง เพื่อเก็บข้อมูลในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดใกล้และรังสีอัลตราไวโอเลตของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากฟ้าผ่า ซึ่งปัจจุบัน ดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศยังไม่สามารถเก็บข้อมูลดังกล่าวได้

นักบิน NASA ขับเครื่องบินสอดแนม ฝ่าฝนฟ้าคะนองเพื่อศึกษาฟ้าผ่า

เครื่องบินอีอาร์-2 (ER-2) 

โดยเครื่องบินที่ใช้ชื่อว่าเครื่องบินอี-2 (ER-2) ที่ได้รับการดัดแปลงมาจากเครื่องบินยู-2 (U-2) ของบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) 2 ลำ ที่นาซาซื้อมาในปี 1981 และ 1989 เนื่องจากเป็นเครื่องบินที่สามารถบินได้สูงเหนือ 99% ของชั้นบรรยากาศโลก

นักบิน NASA ขับเครื่องบินสอดแนม ฝ่าฝนฟ้าคะนองเพื่อศึกษาฟ้าผ่า

เครื่องบินทั้ง 2 ลำ ได้บินในภารกิจมากกว่า 4,500 ครั้ง สร้างสถิติบินในระดับความสูงที่สุดในปี 1998 ที่ระดับความสูง 21 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก ในขณะที่เครื่องบินพาณิชย์ทั่วไปสามารถบินได้ที่ระดับความสูง 5,490 - 15,500 เมตร แต่โดยส่วนใหญ่กัปตันจะตัดสินใจโดยอยู่ที่ความสูงราว ๆ 8,500 - 12,500 เมตร เนื่องจากเป็นความสูงที่เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ 


สำหรับอุปกรณ์ที่ติดตั้งไปกับเครื่องบิน คือ เครื่องตรวจจับรังสีแกมมาที่สามารถรวบรวมข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ และเครื่องฟลายส์ อาย จีแอลเอ็ม ซิมูเลเตอร์ (Fly's Eye GLM Simulator) สำหรับบันทึกข้อมูลในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดใกล้และรังสีอัลตราไวโอเลตของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากฟ้าผ่า


มหัศจรรย์ของปรากฏการณ์ฟ้าผ่า 

โดยภายในพายุฝนฟ้าคะนองจะมีลมหมุนวนขึ้นและลงอย่างรวดเร็ว เมื่อผลึกน้ำแข็งชนกันในกระแสอากาศที่หมุนวน อิเล็กตรอนจะถูกดึงออกจากผลึก ทำให้เกิดสนามไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดฟ้าผ่า และอิเล็กตรอนเหล่านี้ยังทำให้แสงวาบของรังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นที่สั้นที่สุดและมีพลังมากที่สุดในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า


ทั้งหมดนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดการณ์ช่วงเวลาที่จะเกิดฟ้าผ่าได้ จากการตรวจสอบความเร็วลมในพายุ เพื่อแจ้งเตือนให้กับประชาชนทราบได้ เพราะปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เข้าใจกระบวนการที่ทำให้เกิดฟ้าผ่าได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถคาดการณ์เวลาที่จะเกิดได้


ข้อมูลจาก space.com

ภาพจาก NASA

ข่าวแนะนำ