TNN online เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สร้าง “กระถางกังหันลม” ผลิตไฟฟ้าจากพืช

TNN ONLINE

Tech

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สร้าง “กระถางกังหันลม” ผลิตไฟฟ้าจากพืช

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สร้าง “กระถางกังหันลม” ผลิตไฟฟ้าจากพืช

ชายชาวนิวซีแลนด์สร้าง “กระถางกังหันลม” จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ด้วยวัสดุที่มาจากพืช ชูแนวคิดการสร้างนวัตกรรมให้กลมกลืนกับธรรมชาติและสวยอีกด้วย

แม้ว่าการสร้างกังหันลมผลิตไฟฟ้าจะเป็นทางเลือกเพื่อธรรมชาติ แต่การก่อสร้างกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำลายธรรมชาติเสียเอง เช่นวัสดุที่ใช้และการติดตั้งอาจมีกระบวนการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) จากนิวซีแลนด์ จึงได้สาธิตการสร้างกังหันลมที่ทั้งผลิตไฟฟ้าได้ สวยงาม และมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง


ข้อมูลกระถางกังหันลมผลิตไฟฟ้า

กังหันลมดังกล่าวมีลักษณะภายนอกเป็น “กระถางต้นไม้” ที่เรียกว่า พาวเวอร์ พอต แพลนท์ (Power Pot Plant) ซึ่งผลิตจากวัสดุกลุ่มพลาสติกพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer: PLA) ที่มาจากพืชด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ พร้อมลักษณะใบพัดกังหันที่ไม่ใช่แบบใบพัด (Blade) ทั่วไป แต่คล้ายกับพุ่มดอกไม้ที่เป็นแฉก 8 แฉก พร้อมฐานวงกลมยกขอบ รองรับการใส่ก้อนหินเพื่อถ่วงน้ำหนักโครงสร้าง


ตัวกังหันลมทั้งส่วนฐานและส่วนใบพัดสามารถยกได้ด้วยคนเดียว การเชื่อมต่อระหว่าง 2 ส่วน จะแกนเหล็กยึด 4 เส้น รอบจุดกลางใบพัดเชื่อมเข้าด้วยกัน และเมื่อกังหันลมเริ่มหมุน พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกสะสมภายในแบตเตอรี่ที่อยู่ส่วนฐานของกังหันระหว่างวัน และเมื่อถึงช่วงเวลากลางคืน เซนเซอร์จะสั่งการให้เปิดหลอดไฟที่ติดตั้งภายในส่วนฐานเช่นกัน


แรงบันดาลใจการสร้างกระถางกันหันลมผลิตไฟฟ้า

รอส สตีเวนส์ (Ross Stevens) อาจารย์ผู้พัฒนาพาวเวอร์ พอต แพลนท์ (Power Pot Plant) ชิ้นนี้ขึ้นมา มองว่าการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดและความซับซ้อนในการพิมพ์แบบ เลยเปลี่ยนมาเป็นการสร้างสิ่งที่มนุษย์เข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งกระถางกังหันลมตัวนี้เขาเชื่อว่าจะเป็นนวัตกรรมที่ผสานระหว่างความสวยงาม ธรรมชาติ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ทางผู้พัฒนาไม่ได้ระบุว่า พาวเวอร์ พอต แพลนท์ รองรับความแรงลมสูงสุดที่เท่าไหร่ รวมถึงยังไม่มีการทดสอบการใช้งานในเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างเป็นทางการในตอนนี้


งานวิจัยและการพัฒนาในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยวิคตอเรียแห่งเวลลิงตันในนิวซีแลนด์ที่เขาเป็นอาจารย์ประจำที่นั่น อย่างไรก็ตาม การทำกระถางต้นไม้ที่เป็นกังหันลมในตัวยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการสาธิตการสร้างวัสดุที่มีผลกระทบกับธรรมชาติต่ำในระดับอุตสาหกรรมเท่านั้น ซึ่งยังไม่มีการระบุถึงกำลังไฟที่ผลิตได้ รวมถึงผลการทดสอบด้านความแข็งแรงของวัสดุชีวภาพที่นำมาใช้ทำกังหันลมด้วย ซึ่งต้องคงต้องจับตาดูกันต่อไป ว่างานวิจัยชิ้นนี้จะถูกนำไปพัฒนาต่อยอดใช้จริงได้เมื่อไหร่ 


ที่มาข้อมูล Designboom

ที่มารูปภาพ Ross Stevens


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง