TNN online กราฟีน วัสดุมหัศจรรย์แห่งอนาคตของโลก ใช้ทำแบตเตอรี่ EV ได้

TNN ONLINE

Tech

กราฟีน วัสดุมหัศจรรย์แห่งอนาคตของโลก ใช้ทำแบตเตอรี่ EV ได้

กราฟีน วัสดุมหัศจรรย์แห่งอนาคตของโลก ใช้ทำแบตเตอรี่ EV ได้

ทำความรู้จัก กราฟีน (Graphene) วัสดุคาร์บอนที่เป็นอนาคตของการผลิตทั่วโลก รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV)

กราฟีน วัสดุมหัศจรรย์แห่งอนาคตของโลก ใช้ทำแบตเตอรี่ EV ได้


กราฟีน (Graphene) เป็นวัสดุประเภทคาร์บอน (Carbon) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นลักษณะของแผ่นหรือเม็ดที่มีความหนา 0.34 นาโนเมตร (nm) หรือความหนาของอะตอมคาร์บอน หรืออาจเปรียบเปรยได้ว่าเป็นแผ่นแกรไฟต์หรือไส้ดินสอ ที่บางมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน


คุณสมบัติของกราฟีน

กราฟีนนั้นเกิดขึ้นโดยอังเดร ไกม์ (Andre Geim) นักฟิสิกส์ชาวเนเธอร์แลนด์-อังกฤษที่เกิดในรัสเซีย และ คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) นักฟิสิกส์ชาวรัสเซียสัญชาติอังกฤษในปี 2004 ซึ่งมีคุณสมบัติที่สำคัญคือการนำไฟฟ้าที่ดีมากกว่าทองแดงถึง 10 เท่า และมีคุณสมบัติเดียวกันดีกว่าซิลิคอน 140 เท่า อีกทั้งยังมีความแข็งแรงของโครงสร้างมากกว่าเพชร ซึ่งรวมถึงความแข็งแรงที่มากกว่าเหล็ก 200 เท่า แต่มีน้ำหนักเบาเพียง 0.77 มิลลิกรัมต่อตารางเมตร และสามารถม้วนพับหรือปรับเปลี่ยนรูปร่างได้ พร้อมมีความโปร่งใสมากกว่ากระจก โปร่งใส 97.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับอากาศ 


การใช้งานกราฟีน

ในปัจจุบัน กราฟีนเป็นที่นิยมมากขึ้นในการนำไปใช้งานหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น หมึกนำไฟฟ้า หรืออีอิ๊งค์ (E-ink) สำหรับการพิมพ์แผงวงจรไฟฟ้าลงบนวัสดุต่าง ๆ หรือการสร้างแผงวงจรไฟฟ้าจากกราฟีนโดยตรง  รวมถึงนำไปสร้างเป็นส่วนขั้วของแบตเตอรี่ ซึ่งมีแนวโน้มนำไปใช้สำหรับแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ตลอดจนเป็นวัสดุสำหรับสร้างเครื่องบิน


ในปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีการสร้างกราฟีนระดับอุตสาหกรรม โดยมีโรงงานผลิตกราฟีนที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่เดือนละ 15 กิโลกรัม โดยมีการสร้างเป็นสิ่งของและนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่ เสื้อเกราะกันกระสุน และสารเคลือบสำหรับผ้าไหม เป็นต้น


ที่มาข้อมูล NSTDA, Virtual Capitallist

ที่มารูปภาพ IRPCNSTDA

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง