TNN ยานอวกาศปลดเกษียณอายุ 21 ปี ของ NASA ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก

TNN

Tech

ยานอวกาศปลดเกษียณอายุ 21 ปี ของ NASA ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก

ยานอวกาศปลดเกษียณอายุ 21 ปี ของ NASA ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก

ยานอวกาศปลดเกษียณของนาซา (NASA) เดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเพื่อทำลายตัวเอง

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2023 ที่ผ่านมา ยานอวกาศเรสซิ (RHESSI หรือ Reuven Ramaty High Energy Solar Spectroscopic Imager) ได้ปลดเกษียณและเดินทางกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเหนือพื้นที่ทะเลทรายซาฮาราที่ละติจูด 21.3 องศาเหนือ และลองจิจูด 26 องศาตะวันออก โดยประมาณ


โดยการปรับวงโคจรให้ยานอวกาศดิ่งลงสู่พื้นโลกจะทำให้มันถูกเสียดสีโดยชั้นบรรยากาศของโลกจนกระทั่งเกิดการลุกไหม้ ส่งผลให้ส่วนต่าง ๆ ถูกเผาจนเกือบหมด อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้อาจทำให้ชิ้นส่วนบางชิ้นหลงเหลืออยู่และตกลงบนสู่พื้นโลก ทีมภาคพื้นดินจึงต้องกำหนดจุดตกของยานอวกาศให้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลผู้คน

ยานอวกาศปลดเกษียณอายุ 21 ปี ของ NASA ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก

สาเหตุของการปลดประจำการ 

ยานอวกาศเรสซิถูกปลดประจำการเนื่องจากความขัดข้องในการสื่อสารกับยานอวกาศ ซึ่งอาจมาจากอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเสียหาย ส่งผลให้ทีมภารกิจสำรวจขนาดเล็กของนาซา (NASA Small Explorers) ที่บริหารและดำเนินการโดยศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ของนาซาต้องตัดสินใจยุติหน้าที่ของยานอวกาศในที่สุด


ระยะเวลาการทำงานในวงโคจรราว 21 ปี 

สำหรับยานอวกาศเรสซิมีน้ำหนัก 660 ปอนด์ หรือประมาณ 300 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำของโลกเมื่อปี 2002 โดยจรวดออร์บิทัล ไซแอ้นส์ คอร์ปอเรชัน เพกาซัส เอ็กซ์แอล (Orbital Sciences Corporation Pegasus XL) เพื่อทำการสังเกตแสงแฟลร์ของดวงอาทิตย์ หรือการปะทุของรังสีที่กำเนิดจากจุดมืด (Sunspot) บนดวงอาทิตย์ จากวงโคจรระดับต่ำของโลก ซึ่งมันได้ปฏิบัติหน้าที่มานานราว 21 ปี 

ยานอวกาศปลดเกษียณอายุ 21 ปี ของ NASA ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยานอวกาศเรสซิได้บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับเปลวสุริยะและการพวยพุ่งของมวลโคโรนา (Corona Mass Ejection) จากดวงอาทิตย์มากกว่า 100,000 เหตุการณ์ โดยช่วยในการระบุความถี่, ตำแหน่ง และการเคลื่อนที่ของอนุภาคทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาอนุภาคพลังงานสูงในเปลวสุริยะได้ 


ข้อมูลและภาพจาก NASA

ข่าวแนะนำ