TNN ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. เหนือพื้นโลก

TNN

Tech

ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. เหนือพื้นโลก

ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. เหนือพื้นโลก

ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. จากพื้นโลก เปิดเผยภาพเนบิวลาทารันทูลาและกาแล็กซีเสาอากาศ (Antennae)

กล้องโทรทรรศน์บอลลูนความดันสูง (SuperBIT) เปิดเผยภาพเนบิวลาทารันทูลาและกาแล็กซีเสาอากาศ (Antennae) โดยเป็นภาพแรกที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้หลังจากถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อวันที่ 16 เมษายน ไปยังระดับความสูง 108,000 ฟุต หรือประมาณ 33 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก

นาซาพัฒนากล้องโทรทรรศน์บอลลูนความดันสูง (SuperBIT) โดยใช้บอลลูนนำตัวกล้องลอยขึ้นสู่ระดับความสูงที่ถูกรบกวนจากเมฆและฝุ่นบนท้องฟ้าเพื่อบันทึกภาพบนอวกาศได้คมชัดมากขึ้น วิธีการดังกล่าวสามารถประหยัดงบประมาณได้มากกว่าการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศขนาดใหญ่ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดที่ระดับวงโคจรของโลกที่อยู่สูงขึ้นไปหลายร้อยกิโลเมตร

สำหรับกล้องโทรทรรศน์บอลลูนความดันสูง (SuperBIT) นาซาออกแบบให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้นานต่อเนื่อง 100 วัน เพื่อบันทึกภาพและรวบรวมข้อมูลบนอวกาศ โดยกล้องจะจับภาพกาแล็กซีในสเปกตรัมแสงอัลตราไวโอเลตที่มองเห็นได้ใกล้ เป้าหมายของภารกิจ คือ การทำแผนที่สสารมืดรอบ ๆ กระจุกกาแล็กซี โดยการวัดวิธีที่วัตถุขนาดใหญ่เหล่านี้บิดเบี้ยวพื้นที่รอบๆ พวกมัน เรียกอีกอย่างว่า เลนส์ความโน้มถ่วงอย่างอ่อน (Weak Gravitational Lensing)


ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. เหนือพื้นโลก


สำหรับภาพเนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula) เป็นพื้นที่ก่อตัวดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ของก๊าซไฮโดรเจนที่แตกตัวเป็นไอออน ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 161,000 ปีแสงในเมฆแมกเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) มีลักษณะเป็นเมฆก๊าซและฝุ่นที่ปั่นป่วนดูเหมือนจะหมุนวนระหว่างดาวสว่างที่เพิ่งก่อตัว ก่อนหน้านี้เนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula) ถูกจับโดยทั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์


ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. เหนือพื้นโลก


ส่วนกาแล็กซีเสาอากาศ (Antennae) ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ NGC 4038 และ NGC 4039 ซึ่งเป็นกาแล็กซีขนาดใหญ่สองแห่งที่ชนกันในระยะทาง 60 ล้านปีแสง ไปทางใต้ของกลุ่มดาวนกกา (Corvus) กาแล็กซีเหล่านี้เคยถูกบันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ Blogs.nasa.gov

ข่าวแนะนำ