TNN online ดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา อาจเป็นยานต่างดาวที่แอบส่งยานสำรวจขนาดเล็กลงมาสำรวจโลก ?

TNN ONLINE

Tech

ดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา อาจเป็นยานต่างดาวที่แอบส่งยานสำรวจขนาดเล็กลงมาสำรวจโลก ?

ดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา อาจเป็นยานต่างดาวที่แอบส่งยานสำรวจขนาดเล็กลงมาสำรวจโลก ?

ดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา อาจเป็นยานต่างดาวที่แอบส่งยานสำรวจขนาดเล็กลงมาสำรวจโลก ?

อาวี ลูบ (Avi Loeb) นักวิจัยชื่อดังในด้านของการศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างดาวจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเตรียมศึกษาการตกของอุกกาบาตที่ชื่อว่า CNEOS 2014-01-0 บริเวณนอกชายฝั่งเกาะมานุส (Manus Island) ของประเทศปาปัวนิวกินี ในปี 2014 โดยโครงการดังกล่าวให้งบประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 52 ล้านบาท 


นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอุกกาบาต CNEOS 2014-01-08 มีขนาดประมาณ 0.5 เมตร และมันเดินทางมาจากนอกระบบสุริยะมีส่วนประกอบเป็นแร่ธาตุบางชนิดหรือโลหะมีความแข็งเพียงพอที่จะเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลก 


ก่อนหน้านี้ในปี 2017 อาวี ลูบ (Avi Loeb) เป็นนักวิจัยกลุ่มแรก ๆ ที่ออกมานำเสนอทฤษฎีที่ว่าดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา (ʻOumuamua) ที่ถูกค้นพบในช่วงเวลานั้นเป็นยานอวกาศของสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่เดินทางมาจากระบบดาวอื่น การเสนอทฤษฎีในครั้งนั้นถูกจัดทำขึ้นอย่างจริงจังผ่านโครงการกาลิเลโอของเขาโดยใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กทั่วโลก 


นักวิจัยอาวี ลูบ (Avi Loeb) เชื่อว่าการตกของอุกกาบาต CNEOS 2014-01-08 มีความเกี่ยวข้องกับการมาเยือนของดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา (ʻOumuamua) ที่เป็นยานต่างดาวลำแม่ (Mother ship) ได้ส่งยานลำเล็ก คือ อุกกาบาต CNEOS 2014-01-08 ลงมาสำรวจโลก ซึ่งเป็นดาวที่มีน้ำในสถานะของเหลวจำนวนมากอยู่บนพื้นผิวมีความโดดเด่นมากที่สุดในระบบสุริยะ


แม้ว่าการค้นพบดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอาและการตกของอุกกาบาต CNEOS 2014-01-08 จะมีช่วงเวลาคาบเกี่ยวห่างกันประมาณ 3 ปี แต่นักวิจัยอาวี ลูบ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเพื่อตรวจสอบพื้นที่การตกของอุกกาบาต CNEOS 2014-01-08 และจำกัดพื้นที่การศึกษาให้เล็กลงจากพื้นที่กว่า 100 ตารางกิโลเมตรเหลือเพียง 1 ตารางกิโลเมตร เพื่อค้นงานร่องรอยอุกกาบาตตามทฤษฎีที่ถูกเสนอขึ้นมา


เทคโนโลยีการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวทีมงานวิจัยใช้เรือบนผิวน้ำลากอุปกรณ์ที่ติดตั้งแม่เหล็กไฟฟ้า และเทคนิคแมสสเปกโทรเมตรีที่สามารถระบุส่วนประกอบของธาตุทางเคมีของโมเลกุล ไปตามพื้นมหาสมุทรที่ระดับความลึกประมาณ 1.7-2 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม นักวิจัยอาวี ลูบ (Avi Loeb) เปิดเผยเพิ่มเติมว่าโครงการมีโอกาสที่จะล้มเหลวและไม่พบอะไรเลยก็เป็นไปได้


สำหรับดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา (ʻOumuamua) ถูกค้นพบครั้งแรกในวันที่ 19 ตุลาคม 2017 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ แพนสตาส์ (Pan-STARRS) ตั้งอยู่ที่ยอดเขาฮาเลอาคาลา (Haleakala) ในหมู่เกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกา  ตำแหน่งของโอมูอามูอาขณะถูกค้นพบอยู่ห่างจากโลก 33 ล้านกิโลเมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 315,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนมันจะเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคมปี 2018 และเดินทางออกจากระบบสุริยะไปในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน


นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา (ʻOumuamua) เดินทางมาจากระบบดาวอื่นเนื่องจากลักษณะของมันมีรูปทรงเป็นแท่งความยาวประมาณ 800 เมตร กว้าง 80 เมตร ซึ่งแตกต่างจากวัตถุที่พบในระบบสุริยะรวมไปถึงความเร็วในการเคลื่อนที่สูงกว่าวัตถุอื่น ๆ ที่เคยค้นพบ อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของโอมูอามูอาน้อยมากทำให้ไม่สามารถระบุองค์ประกอบของมันได้


นอกจากนักวิจัยอาวี ลูบ (Avi Loeb) ปัจจุบันยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยทั่วโลกเชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีดาวเคราะห์น้อยโอมูอามูอา (ʻOumuamua) เป็นยานอวกาศของสิ่งมีชีวิตต่างดาว แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะมีข้อมูลเกี่ยวกับมันน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในมุมหนึ่งความเชื่อเรื่องสิ่งมีชีวิตต่างดาวอาจเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานและความมีอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยใช้ความพยายามแสวงหาคำตอบอย่างมีเหตุผล ตามทฤษฎีที่ตนเองพยายามนำเสนอมักนำพามนุษย์ไปพบกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ


ที่มาของข้อมูล 

Dailymail

Livescience

Web.cfa.harvard.edu

Thaiastro.nectec.or.th

Thedailybeast.com 

CNEOS_2014-01-08 

Harvard.edu

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง