TNN online เชฟดังเปิดภาพ "หนังตัวเงินตัวทองทอด" ดูให้ชัดๆ หน้าตาเป็นแบบนี้?

TNN ONLINE

Social Talk

เชฟดังเปิดภาพ "หนังตัวเงินตัวทองทอด" ดูให้ชัดๆ หน้าตาเป็นแบบนี้?

เชฟดังเปิดภาพ หนังตัวเงินตัวทองทอด ดูให้ชัดๆ หน้าตาเป็นแบบนี้?

เชฟดังเปิดภาพ "หนังตัวเงินตัวทองทอดกรอบ" หน้าตาแบบนี้ ความหนา ความฟูคนละเรื่องกับ "หนังปลาทอดกรอบ"

เชฟดังเปิดภาพ "หนังตัวเงินตัวทองทอดกรอบ" หน้าตาแบบนี้ ความหนา ความฟูคนละเรื่องกับ "หนังปลาทอดกรอบ"


หลังจากก่อนหน้านี้ มีเพจหนึ่งโพสต์รูปภาพตัวเงินตัวทอง พร้อมข้อความระบุว่า ‘บุกทลายโรงงานผลิตลูกชิ้นปลาเจ้าใหญ่ที่ดัดแปลงใช้เนื้อของตัวเงินตัวทองมาทำเป็นลูกชิ้นปลาเนื้อขาวใสไร้ความคาว ส่วนหนังน่านำไปตากแห้งทำเป็นหนังปลาทอดกรอบ จัดจำหน่ายส่งขายทั่วประเทศมานานแล้ว’ ทำเอาประชาชนกังกลกันมาก 


ต่อมา ตำรวจสอบสวนกลาง ได้ชี้แจงว่า ภาพดังกล่าวเป็นผลงานการจับกุมของตำรวจ บก.ปทส. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ที่เข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาที่ลักลอบซื้อขายเพื่อการค้าและมีไว้ในครอบครองซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน ในพื้นที่อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวานที่ผ่านมา โดยจากการสอบถามผู้ต้องหา และจากการสืบสวน ยืนยันว่า ซากตัวเงินตัวทองเหล่านี้ เตรียมนำไปขายต่อที่ตลาดชายแดนภาคตะวันออก เพื่อนำไปประกอบเป็นอาหารป่าขายแก่ผู้ชื่นชอบเท่านั้น ไม่ได้เป็นไปตามที่มีกระแสข่าวแต่อย่างใด 


ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก SchwedaKong หรือ เชฟบังก้อง ได้ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ตัวเงินตัวทอง ว่า "ผมไปคุ้ยรูปหนังแลน จากฮาร์ดดิสก์เก่า ที่เคยทำไว้เมื่อสิบกว่าปี ตอนพันทิปโน่น มาให้ดูเป็นวิทยาทานครับจะสังเกตได้ว่า หนังหนากว่าปลาเยอะมากครับ นี่ขนาดตัวเล็กแล้วนะ 


ซึ่งส่วนนึงผมลองเอาไปตากแห้ง แล้วทอดดูครับ ก็ออกมาค่อนข้างพองฟู และยังเป็นไตด้านในบ้าง ซึ่งจะเห็นว่ามันต่างจากหนังปลาบางๆที่ขายมากครับ ดังนั้น วางใจได้หนังปลาที่ขายน่ะ หนังปลาแน่ๆครับ ไม่ใช่หนังตัวเงินตัวทองปนครับ ความหนา ความฟู มันคนละเรื่องเลยครับ และย้ำอีกครั้งว่า เป็นวิทยาทานนะครับ

ผมสงสารคนทำธุรกิจหนังปลาทอด ที่ได้รับผลกระทบจากการปั่นข่าวนี้ ไม่สนับสนุนให้ล่า หรือหามากินนะครับ มันเป็นสัตว์กินซาก ลำพังตัวมันเองก็พยาธิไม่น้อยนะ หนังก็กินหมูกินปลาคัง เนื้อกินกบแทนไปครับ


*เพิ่มเติม 

ขอบคุณที่ท้วงว่า แลนกะตัวเงินตัวทอง คนละตัวครับ ที่วงเล็บไว้ และที่เทียบเพราะ ที่เคยกินคือแลนครับ แลนกับตัวเงินตัวทองต่างกัน แต่อยู่วงศ์เดียวกันครับ 

แลนอยู่ต้นไม้ ตัวเงินตัวทองอยู่น้ำ แลนตัวเล็กกว่า ตัวเงินตัวทองตัวใหญ่กว่า ตามค่าเฉลี่ย

ดังนั้น ตัวเงินตัวทองหนังหนากว่าแน่นอนครับ

คลิปคนอินโดทำตัวเงินตัวทอง

https://youtu.be/8cuRZVVYx2w

https://youtu.be/oi3dezhNAAI"

 




ทำความรู้จัก ตัวเงินตัวทอง


เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย (แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด ดูในตาราง[2]) โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ


ชนิดย่อย

-V. s. salvator –เป็นชนิดย่อยที่ได้รับการเสนอชื่อและขณะนี้เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในศรีลังกา ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ kabaragoya (කබරගොයා) ในภาษาสิงหลและ kalawathan ในภาษาทมิฬ

-V. s. andamanensis –พบเฉพาะบนหมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ตอนใต้ สถานที่พบเป็นครั้งแรกคือ เมืองพอร์ตแบลร์

-V. s. bivittatus (Mertens 1959) –ตัวเงินตัวทองชนิดย่อยที่มีแถบหลังคอข้างละสองแถบ พบได้ทั่วไปในชวา บาหลี ลมบก ซุมบาวา โฟลเร็ซ อลอร์ เวตาร์ และเกาะใกล้เคียงภายในหมู่เกาะซุนดา อินโดนีเซีย สถานที่พบเป็นครั้งแรกคือ เกาะชวา

-V. s. macromaculatus –มีถิ่นอาศัยทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว และหมู่เกาะขนาดเล็กโดยรอบ ตัวอย่างต้นแบบถูกจับในประเทศไทย

-V. s. ziegleri (ตัวเงินตัวทองซีกเลอร์) –พบที่เกาะโอบิ

เหี้ยดำจากประเทศไทย (สถานที่พบเป็นครั้งแรกคือ อำเภอละงู จังหวัดสตูล และบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย) เดิมจัดเป็นชนิดย่อย V. s. komaini แต่ในปี พ.ศ. 2551 ถูกยุบรวมเป็นชื่อพ้องและเป็นประชากรเหี้ยที่มีภาวะการมีเม็ดสีเมลานินสีดำมากเกินไป (melanism) ของชนิดย่อย V. s. macromaculatus[7]



ลักษณะ

เป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ ความยาว 2.5–3 เมตร เป็นสัตว์ในตระกูลนี้ที่มีความใหญ่เป็นอันดับสองรองจากมังกรโกโมโด (V. komodoensis) ที่พบบนเกาะโกโมโด ในอินโดนีเซีย[8] โครงสร้างลำตัวประกอบไปด้วยกระดูกเล็กภายใต้ผิวหนังที่เต็มไปด้วยเกล็ดที่เป็นปุ่มนูนขึ้นมา เกล็ดมีการเชื่อมต่อกันตลอดทั้งตัว ไม่มีต่อมเหงื่อแต่มีต่อมน้ำมันใช้สำหรับการป้องกันการสูญเสียน้ำ ช่วยให้อยู่บนบกได้ยาวนานมากขึ้น มีลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่นซึ่งสามารถรับรู้ได้ถึงอาหารเป็นระยะทางไกลหลายเมตร โดยสัมผัสกับโมเลกุลของกลิ่น ปลายลิ้นจะสัมผัสกับประสาทที่ปลายปากเพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังสมอง หางยาวมีขนาดพอ ๆ กับความยาวลำตัว เป็นอวัยวะสำคัญสำหรับการทรงตัวและคลื่อนที่ 

มีฟันที่มีลักษณะที่คล้ายใบเลื่อยเหมาะสำหรับการบดกินอาหารที่มีความอ่อนนุ่มโดยเฉพาะ มีลายดอกสีเหลืองพาดขวางทางยาว ชอบอาศัยอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำ ว่ายน้ำเก่งและ ดำน้ำนาน อุปนิสัยเป็นสัตว์ที่หากินอย่างสงบตามลำพัง จะมารวมตัวกันก็ต่อเมื่อพบกับอาหาร และมีนิสัยตื่นคน เมื่อพบเจอมักจะวิ่งหนี ในช่วงที่ยังเป็นวัยอ่อน จะมีจุดสีเหลืองตลอดทั้งลำตัวและจะจางหายเมื่อโตขึ้น มีมุมมองการมองเห็นแคบกว่ามนุษย์ มีเล็บที่แหลมคมสำหรับการปีนป่าย โดยปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว


เชฟดังเปิดภาพ หนังตัวเงินตัวทองทอด ดูให้ชัดๆ หน้าตาเป็นแบบนี้? แฟ้มภาพ TNN ช่อง 16

 

การหากิน

ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็น ๆ เช่น ไก่, เป็ด, ปู, หอย, งู, หนู, นกอื่นๆขนาดเล็กถึงกลาง และไข่ของสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งปลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเหี้ยมิใช่สัตว์นักล่า แต่เป็นสัตว์กินซากโดยธรรมชาติ บางครั้งอาจกินเหี้ยขนาดเล็กกว่าเป็นอาหารได้ ในตัวที่ยังเล็กอาจขุดดินหาแมลงหรือไส้เดือนดินกินเป็นอาหารได้ มีระบบการย่อยอาหารที่ดีเยี่ยม ในกระเพาะมีน้ำย่อยที่มีความเป็นกรดรุนแรงและแบคทีเรียสำหรับย่อยสลายซากเน่าโดยเฉพาะ


การผสมพันธุ์

ออกลูกเป็นไข่คราวละ 15–20 ฟอง และใช้เวลาฟัก 45–50 วัน ทั้งนี้ตัวเหี้ยจะวางไข่ในปลายฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝน และอาจยาวไปถึงฤดูหนาว จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย สามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งบนบกและในน้ำ อาจผสมพันธุ์ได้มากกว่าปีละหนึ่งครั้ง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารและความสมบูรณ์เพศของตัวเมีย การผสมพันธุ์ครั้งหนึ่งใช้เวลาประมาณ 30 นาที

ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น วางไข่ประมาณ 6–50 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2–3 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม





ขอบคุณข้อมูล SchwedaKong / wikipedia

ภาพจาก SchwedaKong / TNN ช่อง 16

ข่าวที่เกี่ยวข้อง