TNN online บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมเทศนากัณฑ์แรก

TNN ONLINE

สังคม

บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมเทศนากัณฑ์แรก

บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมเทศนากัณฑ์แรก

บทสวดมนต์ข้ามปี 2567 บทที่7 ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดง มีความหมายว่า ทำกงล้อแห่งธรรม ให้หมุนไป คือ การนำพระพุทธศาสนาให้แผ่ขยายไปทั่วทุกทิศ

  บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

     อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง      สัมพุชฌิต๎วา ตะถาคะโต

     ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ          ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง

     สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต       โลเก อัปปะฏิวัตติยัง

     ยัตถากขาตา อุโภ อันตา      ปะฏิปัตติ จะ มัชฌิมา

     จะตูส๎วาริยะสัจเจสุ              วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง

     เทสิตัง ธัมมะราเชนะ           สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง

     นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง         ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง

     เวยยากะระณะปาเฐนะ         สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ


  คําแปล 

     พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อจะทรงประกาศธรรมที่ใครๆ ยังมิได้ให้

เป็นแล้วในโลกให้เป็นไปโดยชอบแท้ ทรงแสดงอนุตตรธรรมจักรใด คือในธรรมจักรใด พระองค์ตรัสซึ่งที่สุด ๒

ประการ และข้อปฏิบัติเป็นกลาง และปัญญาอันรู้เห็นที่หมดจดแล้ว ในอริยสัจทั้งสี่ 

     เราทั้งหลายจงสวดธรรมจักรนั้น ที่พระองค์ผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงแล้ว ปรากฏโดยชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นสูตรประกาศพระสัมมา สัมโพธิญาณ อันพระสังคีติกาจารย์ ร้อยกรองไว้โดยเวยยากรณปาฐะเทอญ

อานิสงส์แห่งการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

     เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

     เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หิโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ

     เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัต ตะติ ฯ

     กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

     อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ


     อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะ กะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ฯ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ 

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัต๎ระ ตัตราภินันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะ วิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

     อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ

ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


     อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะ ปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะ นุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

     ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ 

     เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ 

     ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถา ภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

     อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายา สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ 


     ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ

     อิทะมะโวจะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ

     ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะวา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พ๎รัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัส๎มินติ ฯ

     ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา, จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา, นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา, ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา, พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 


     เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง, อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติฯ

     อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พ๎รัห๎มะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ

     อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ

โกณฑัญโญติ ฯ

     อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญเตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ


  คำแปล

     ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า

     ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด 2 ประการ บรรพชิตไม่พึงเสพ ที่สุด 2 ประการ อะไรบ้าง คือ กามสุขัลลิกานุ

โยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่

ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

     มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

     มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิด ญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์แปด นี้แล ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมา สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้คือ มัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาที่ก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

     ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขอริยสัจ คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

     

     ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทําให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความกําหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

     ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละ คืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา

     ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

     ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้น แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ

     จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกําหนดรู้ 


     จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กําหนดรู้แล้ว

     ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ

     จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ควรละ

     จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้เราละได้แล้ว

     ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ


     จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ควรทําให้แจ้ง

     จักษุเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราได้ทําให้แจ้งแล้ว

     ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ

     จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว

     ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจสี่ ประการนี้ มีวน3 รอบ มี 12 อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตราบนั้น


     ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ญาณทัสสนะตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจสี่ ประการนี้ มีวน 3 รอบ มี 12 อาการอย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก

     พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณะอยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา

     ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ทวยเทพชั้นภุมมะกระจายข่าวว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้

     ทวยเทพชั้นจาตุมหาราชสดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้


    ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ สดับเสียงของทวยเทพชั้นจาตุมหาราชแล้วได้กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ 

    ทวยเทพชั้นยามา สดับเสียงของทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้วได้กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นดุสิต สดับเสียงของทวยเทพชั้นยามาแล้วได้กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นนิมมานรดีสดับเสียงของทวยเทพชั้นดุสิตแล้วได้กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีสดับเสียงของทวยเทพชั้นนิมมานรดีแล้วได้กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    (หมายเหตุ หากสวดย่อเพียง สรรค์ ๖ ชั้น ก็แปลว่าทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของทวย

เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้วก็กระจายข่าวว่า)

    ทวยเทพชั้นพรหมปาริสัชชา สดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นปโรหิตา สดับเสียงของทวยเทพชั้นพรหมปาริสัชชาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นมหาพรหม สดับเสียงของทวยเทพชั้นปโรหิตาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นปริตตาภา สดับเสียงของทวยเทพชั้นอาภาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ


    ทวยเทพชั้นอัปปมาณาภาสดับเสียงของทวยเทพชั้นปริตตาภาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นอาภัสสรา สดับเสียงของทวยเทพชั้นอัปปมาณาภาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป

    ทวยเทพชั้นปริตตสุภา สดับเสียงของทวยเทพชั้นอาภัสสราแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นอัปปมาณสุภาสดับเสียงของทวยเทพชั้นปริตตสุภาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นสุภกิณหกาสดับเสียงของทวยเทพชั้นอัปปมาณสุภาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    (ทวยเทพชั้นอสัญญพรหม สดับเสียงของทวยเทพชั้นสุภกิณหกาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ)

    ทวยเทพชั้นเวหัปผลาสดับเสียงของทวยเทพชั้นสุภกิณหกาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นอวิหาสดับเสียงของทวยเทพชั้นเวหัปผลาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นอตัปปาสดับเสียงของทวยเทพชั้นอวิหาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นสุทัสสาสดับเสียงของทวยเทพชั้นอตัปปาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ

    ทวยเทพชั้นสุทัสสีสดับเสียงของทวยเทพชั้นสุทัสสาแล้ว ก็กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ


    ทวยเทพชั้นอกนิฏฐาสดับเสียงของทวยเทพชั้นสุทัสสีแล้ว ก็กระจายข่าวว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้  เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่น

โลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็ปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

    ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ดังนั้น คําว่า อัญญาโกณฑัญญะ นี้จึงได้เป็นชื่อของพระโกณฑัญญะนั่นแล 


ที่มา 1


ดาวน์โหลด บทสวดมนต์ข้ามปี โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม 

ที่นี่ >> บทสวดมนต์ ดาวน์โหลด


ภาพจาก : TNN Online

ข้อมูลจาก :  สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง