TNN online ถ่ายทอดสด "จันทรุปราคาเต็มดวง" วันลอยกระทง 2565 คลิกเลยที่นี่!

TNN ONLINE

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ถ่ายทอดสด "จันทรุปราคาเต็มดวง" วันลอยกระทง 2565 คลิกเลยที่นี่!

ถ่ายทอดสด จันทรุปราคาเต็มดวง วันลอยกระทง 2565 คลิกเลยที่นี่!

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ถ่ายทอดสด "จันทรุปราคาเต็มดวง" ในคืนวันลอยกระทง 2565 ทางเพจเฟซบุ๊ก คลิกเลยที่นี่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความลงเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เกี่ยวกับ "จันทรุปราคาเต็มดวง" ในคืนวัน ลอยกระทง 2565


โดย ลำดับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง มีดังนี้

เวลา 17:44-18:41 น. จันทรุปราคาเต็มดวง

เวลา 18:41-19:49 น. จันทรุปราคาบางส่วน

เวลา 19:49-20:56 น. จันทรุปราคาเงามัว

เวลา 20:56 น. สิ้นสุดปรากฏการณ์ ชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศไทย


ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดขึ้นเฉพาะในวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือ ช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก คนไทยสมัยโบราณเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ราหูอมจันทร์"


เงาของโลกที่ทอดไปในอวกาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “เงามัว (Penumbra Shadow)” เป็นเงาส่วนนอกสุด เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะมีความสว่างลดลงเล็กน้อย และ “เงามืด (Umbra Shadow)” เป็นเงาที่มืดสนิท เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะทำให้เกิดส่วนมืดเว้าแหว่ง จึงแบ่งประเภทของปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ดังนี้ 

1. จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) 

เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เนื่องจากแสงขาวจากดวงอาทิตย์จะถูกหักเหเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศโลก สีแดงและสีส้มเบี่ยงทิศทางเข้าหากลางเงามืด จึงมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงระหว่างเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง   

2. จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน โดยจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะเว้าแหว่ง

3. จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด เรายังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่ความสว่างลดน้อยลง สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก


โดยสามารถชมการถ่ายทอดสดผ่านเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้







ที่มา NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพจาก AFP / NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง