TNN online ม.นเรศวร ประสบผลสำเร็จวิจัย “ข้าวพระองค์ดำ” ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโภชนเภสัชสารสูง

TNN ONLINE

ภูมิภาค

ม.นเรศวร ประสบผลสำเร็จวิจัย “ข้าวพระองค์ดำ” ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโภชนเภสัชสารสูง

ม.นเรศวร ประสบผลสำเร็จวิจัย “ข้าวพระองค์ดำ” ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโภชนเภสัชสารสูง

มหาวิทยาลัยนเรศวร ประสบผลสำเร็จวิจัย “ข้าวพระองค์ดำ”นำเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ที่ได้รับพระราชทานมาปรับปรุงสายพันธุ์ จนมีลักษณะใบ กาบใบ ลำต้นและสีของข้าวเปลือกมีสีม่วง คุณสมบัติมีโภชนเภสัชสารสูง เป็นข้าวเจ้าดำทำยา ใช้รักษาโรคปัจจุบัน โดยเฉพาะโรคเลือด








วันที่ 5 สิงหาคม 2564 ที่แปลงสาธิต คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร  จ.พิษณุโลก อ.ดร.ภาวัช วิจารัตน์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้พาชมแปลงนาข้าวพระองค์ดำ  หรือเรียกอีกชื่อว่า ข้าวเจ้าดำทำยา ที่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์  โดยได้นำข้าวนางพญาแม่ทองดำ ซึ่งเป็นข้าวเขมรในถิ่นไทย สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช  ยกทัพไปตีเมืองจันทบูร  เป็นข้าวที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ หรือ โภชชนเภสัชสารสูง โดยเฉพาะ เป็นพันธุ์ข้าวที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง จ.จันทบุรี มีเรื่องราวที่น่าสนใจของข้าวที่ใช้เป็นพันธุ์แม่ เป็นส่วนผสมเป็นพันธุ์ข้าวหอมแม่นางพญาทองดำ  เป็นข้าวเจ้าดำทำยา เป็นของชาติพันธุ์ชอง เนื่องจากชาติพันธุ์ชอง เป็นชาติพันธุ์เก่าแกดังเดิมสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ซึ่งได้สืบทอดเก็บพันธุ์ข้าวนี้ปลูกมาตลอด ขณะที่คนอื่นปลูกข้าวนาปรังซึ่งเป็นข้าวเศรษฐกิจแล้ว แต่กลุ่มชาติพันธุ์ชองยังคงอนรักษ์ข้าวชนิดนี้ไว้อย่างเข้มแข็ง 


ม.นเรศวร ประสบผลสำเร็จวิจัย “ข้าวพระองค์ดำ” ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโภชนเภสัชสารสูง


อ.ดร.ภาวัช วิจารัตน์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ตนเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว  มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก  ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีการเพาะปลูกข้าวแหล่งใหญ่สำคัญของประเทศ  เมื่อครั้งไปถวายงานการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อพ.สธ. ได้เฝ้ารับเสร็จเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมาที่กรมการข้าว   ได้รับพระราชทาน พันธุ์ข้าวหอมแม่นางพญาทองดำ มา ซึ่งสรรพคุณข้าวชนิดนี้เป็นยาระบาย รักษาโรคเลือด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง  และจุดเด่นของข้าวสายพันธุ์ดังกล่าว เมื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวชนิดนี้ กับข้าวเศรษฐกิจแล้ว ได้ลูกออกมา ปรากฏว่าเป็นพันธุ์ข้าวต้นเตี้ย  แตกกอสูง ตอบสนองต่อพืชต่ำ ใช้ปุ๋ยน้อย ชาวนาปลูกใช้ลดต้นทุนต่ำ ต้านทานโรค แมลง ปลูกระบบน้ำน้อย หรือไม่มีน้ำได้แบบข้าวนาไร่  เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นสถาวะโลกร้อน สภาวะขาดแคลนน้ำ  สามารถใช้เพาะปลูกให้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติเฉพาะกับตลาดผู้บริโภคที่เฉพาะเจาะจง (nich market)


จึงตั้งชื่อพันธุ์ข้าวชนิดนี้ว่า “ข้าวพระองค์ดำ” เป็นพันธุ์ผสมข้าว 3 ชนิดคือ ระหว่างข้าวหอมแม่นางพญาทองดำ กับข้าวไรท์เบอรี่ และกข.43  ส่งผลทำให้ที่มีใบสีม่วง เน้นจุดเด่น โภชชนเภสัชสาร คือสารสำคัญทางโภชนาการ เน้นกินข้าวเป็นยารักษาโรค  เนื่องจากปัจจุบัน พบการเกิดโรคภัย โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง คือโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ ระบบหลอดเลือด ที่ทำให้คนเป็นอัมพฤกต์ อัมพาตได้  มีไฟโตสเตอรอล คือช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย และยังมีงานวิจัยที่กล่าวถึงประโยชน์ของไฟโตสเตอรอลอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) โดยที่ไม่ลดคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ยิ่งไปกว่านั้นไฟโตสเตอรอลยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอก เป็นสารไปทดแทนคอลเลสเตอรอลในเส้นหลอดเลือดได้    คุณสมบัติ สารแอนโทไซยานิล มีสีน้ำเงินม่วง มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ พันธุ์ข้าวนี้ ยังเป็นยาระบาย มีวิตามินบี1 บี 2  ปัจจุบันพันธุ์ข้าวพระองค์ดำ  ที่ปรับปรุงเป็นพันธุ์นาปรัง มีระยะเวลาตั้งแต่หว่าน-เก็บเกี่ยว มีอายุการปลูก 110-120 วัน  ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวน้อยมาก จากเดิมใช้ไร่ละ 1 ถังหรือ 15 กิโลกรัม แต่สายพันธุ์นี้ใช้พันธุ์ข้าวเพียง 2 ขีด แต่เป็นการปลูกทำนาแบบประณีต  


ม.นเรศวร ประสบผลสำเร็จวิจัย “ข้าวพระองค์ดำ” ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโภชนเภสัชสารสูง


อย่างไรก็ตาม พันธุ์ข้าวที่พัฒนาจากการผสมพันธุ์และทำการคัดเลือกสายพันธุ์ได้พันธุ์ข้าว 2  สายพันธุ์ด้วยกัน ได้แก่ สายพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะใบ กาบใบ ลำต้นและสีของข้าวเปลือกมีสีม่วง  ซึ่งโครงการวิจัยเรียกว่า “ข้าวพระองค์ดำ” ส่วนอีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะใบ กาบใบ ลำต้นมีสีม่วงและสีของเมล็ดข้าวมีสีน้ำตาลปนแดง ซึ่งเรียกว่า “ข้าวพระองค์ขาว”  ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการวิเคราะห์โภชนเภสัชสารต่างๆ และคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์แท้  สำหรับแปลงทดลองปลูก ช่วงที่ 6 ซึ่งช่วงที่ 7 จึงจะได้พันธุ์แท้ คาดปีหน้า 2565 จะมีการจดสิทธิบัตร ก่อนนำผลผลิตไปให้กับโครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายเอกาทศรถ  โครงการนาขั้นบันได และนาข้าวคาเฟ่ ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและใกล้เคียง และส่งมอบข้าวคืนให้ จ.จันทบุรี ต่อไป


ม.นเรศวร ประสบผลสำเร็จวิจัย “ข้าวพระองค์ดำ” ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโภชนเภสัชสารสูง

ข่าวแนะนำ