TNN online 1 กรกฎาคม วันรณรงค์ตรวจ HIV เช็กความเสี่ยง-อาการติดเชื้อเป็นอย่างไร?

TNN ONLINE

Health

1 กรกฎาคม วันรณรงค์ตรวจ HIV เช็กความเสี่ยง-อาการติดเชื้อเป็นอย่างไร?

1 กรกฎาคม วันรณรงค์ตรวจ HIV เช็กความเสี่ยง-อาการติดเชื้อเป็นอย่างไร?

1 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันรณรงค์ตรวจ HIV เช็กความเสี่ยง-อาการติดเชื้อเป็นอย่างไร? อ่านที่นี่

1 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันรณรงค์ตรวจ HIV เช็กความเสี่ยง-อาการติดเชื้อเป็นอย่างไร? อ่านที่นี่


วันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ตรวจเอชไอวี (Voluntary Counselling Testing Day : VCT Day) โดยคนไทยมีสิทธิ์ตรวจเอชไอวี (HIV) ฟรีปีละ 2 ครั้ง หากมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ไม่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยสามารถตรวจและรู้ผลภายในวันเดียว หากผลตรวจว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันที ฟรี ครอบคลุมทุกสิทธิ์การรักษา


ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ได้ทำการเผยแพร่เกี่ยวกับ เอชไอวี (HIV) ในเรื่องของการติดต่อ ความเสี่ยง และอาการ โดยมีรายละเอียดดังนี้


อาการของการติดเชื้อ HIV เป็นอย่างไร


1.อาการของผู้ติดเชื้อระยะเฉียบพลัน (รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 1-4 สัปดาห์) จะมีอาการคล้ายเป็นไข้ อ่อนเพลีย ร่างกายมีอุณหภูมิสูง มีผื่นขึ้นบนร่างกาย มีอาการท้องเสียติดต่อกันหลายวัน มี อาการต่อมน้ำเหลืองบวมบริเวณใต้คอ รักแร้หรือขาหนีบ

2.อาการของผู้ติดเชื้อระยะแฝง (รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 2-10 ปีหรือมากกว่า) ไม่มีอาการผิดปกติต่อร่างกาย

3.อาการของผู้ติดเชื้อระยะเอดส์ มีอาการเบื้องต้นอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืดบ่อยครั้ง น้ำหนักลด มีผื่นขึ้นบนร่างกาย แผลหายช้า และอื่นๆ หากร่างการอ่อนแอจะเกิดโรคแทรกซ้อนและโรคฉวยโอกาสได้


ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสเชื้อในแต่ละครั้งมีโอกาสเสียงมากน้อยเพียงใด


1.การรับเลือด (1 ยูนิต) 92.5 %

2.การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน 0.67-0.80 %

3.ฝ่ายรับทางทวารหนัก 1-30%

4.ฝ่ายรุกทางทวารหนัก 0.1-10%

5.ฝ่ายรับทางช่องคลอด 0.1-10%

6.ฝ่ายรุกทางช่องคลอด 0.1-1%

7.ฝ่ายรับทางปาก (การทำออรัลกับอวัยวะเพศชาย) 0-0.04%

8.ฝ่ายรุกทางปาก (การถูกออรัลอวัยวะเพศชาย) 0-0.005%

9.การใช้ปากกับอวัยวะเพศหญิง มีโอกาสแต่น้อยมากๆๆ

10.เข็มที่มีเลือดติด ตำเข้าผิวหนัง 0.3%

11.เยื่อบุ 0.09%

*มีการประมาณว่าโอกาสถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก สูงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดถึง 18 เท่า


โรคเอดส์ติดต่อได้ทางใดบ้าง


1.ทางเลือดจากแม่สู่ลูก

2.การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน

3.การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน


กินข้าวร่วมกัน กินน้ำแก้วเดียวกัน เข้าห้องน้ำเดียวกัน เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ไหม


-ไม่เสี่ยงเพราะโรคเอดส์ไม่ติดทางน้ำลาย


มีแผลที่ซอกเล็บนิ้วมือแล้วใช้นิ้วที่มีแผลช่วยสำเร็จความใคร่ให้หญิงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ไหม


-ไม่เสี่ยง


ภาวะที่เรียกว่าเสี่ยงคืออะไร


-คือการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าทางใดที่ไม่ป้องกัน และการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน


หากมือที่เปื้อนน้ำคัดหลั่งของอีกฝ่ายแล้วนำมือที่เปื้อนมาช่วยตัวเองจะเสี่ยงไหม


-ไม่เสี่ยง แต่ถ้าอวัยวะเพศมีแผลและสัมผัสน้ำคัดหลั่งนานก็อาจมีโอกาสบ้าง


แผลแบบไหนที่อาจทำให้ติดเชื้อได้


-แผลที่สามารถทำให้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่”เยื่อบุอ่อน”เช่น แผลในปาก แผลเริมที่อวัยวะเพศ และทวารหนัก ส่วนแผลที่อยู่นิ้วมือ แล้วเอานิ้วไปแหย่ช่องคลอดนั้นไม่ใช่แผลเยื่อบุอ่อน จึงไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี


ถ้าเป็น HIV ต้องรักษานานแค่ไหนถึงจะกลับมาเป็นปกติได้


-ในปัจจุบันแนวทางการรักษา HIV กระแสหลักจะเป็นการรักษาด้วยการทานยาต้านไวรัส หากผู้ป่วยพบ เชื้อเร็ว-รักษาเร็ว มีวินัยการทานยาที่ดี และติดตามนัดแพทย์สม่ำเสมอ โดยทั่วไปจะสามารถกลับมามีร่างกายที่ แข็งแรงปกติได้ประมาณ 6 เดือนหลังจากเริ่มต้นรักษา


ทั้งนี้ในปัจจุบัน ยาต้านไวรัสยังไม่สามารถกำจัดเชื้อ HIV ให้ไปหมดไปจากร่างกายได้ ผู้มีเชื้อ HIV จำเป็นต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ



1 กรกฎาคม วันรณรงค์ตรวจ HIV เช็กความเสี่ยง-อาการติดเชื้อเป็นอย่างไร? ภาพจาก กรมควบคุมโรค

 




ที่มา ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลีนิคนิรนาม) 

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง