TNN online กินอาหารเหล่านี้? ช่วยป้องกัน "โรคใหลตาย" ได้จริงหรือไม่

TNN ONLINE

Health

กินอาหารเหล่านี้? ช่วยป้องกัน "โรคใหลตาย" ได้จริงหรือไม่

กินอาหารเหล่านี้? ช่วยป้องกัน โรคใหลตาย ได้จริงหรือไม่

กินแซลมอน ทูน่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ถั่วดำ ถั่วแระ ช่วยป้องกันโรคใหลตายได้จริงหรือไม่ กรมการแพทย์ชี้แจงเรื่องนี้แล้ว

กินแซลมอน ทูน่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ถั่วดำ ถั่วแระ ช่วยป้องกันโรคใหลตายได้จริงหรือไม่ กรมการแพทย์ชี้แจงเรื่องนี้แล้ว

ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลสุขภาพเรื่องกินแซลมอน ทูน่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ถั่วดำ ถั่วแระ ช่วยป้องกันโรคใหลตายได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้แชร์ข้อมูลที่ระบุว่า กินแซลมอน ทูน่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ถั่วดำ ถั่วแระ ช่วยป้องกันโรคใหลตายได้ ทางสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การกินแซลมอน ทูน่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ถั่วดำ ถั่วแระ ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคใหลตายได้

โรค “ใหลตาย”

โรค “ใหลตาย” (Sudden Unexplained Nocturnal Death syndrome; SUNDS ) คือ กลุ่มอาการที่มีการเสียชีวิตขณะนอนหลับโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหัวใจ โดยที่ไม่มีโครงสร้างหัวใจผิดปกติ มักจะเกิดกับผู้ชายอายุน้อยที่สุขภาพแข็งแรงดี และพบว่า ผู้ที่เสียชีวิตจากลักษณะดังกล่าว มักพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบที่เรียกว่า Brugada หรือ Brugada syndrome ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการทำงานของไฟฟ้าในหัวใจ (channelopathy) ส่งผลให้ระบบนำไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ ทำให้คนไข้มีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะรุนแรง ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถบีบเลือดออกไปเลี้ยงร่างกายได้ มักเกิดขึ้นในระหว่างนอนหลับและเสียชีวิตในที่สุด

ทั้งนี้ พบได้บ่อยในชาวไทยที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบภาคอีสาน พบได้ประมาณ 0.004% และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประวัติและอาการที่มีความเสี่ยงเสียชีวิต คือประวัติบุคคลในครอบครัวที่อายุน้อยเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือเคยมีอาการหน้ามืด หรือหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุมาก่อน โดยปัจจัยที่กระตุ้นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาวะไข้สูง ร่างกายขาดน้ำหรือเกลือแร่ การกินยาบางชนิดที่มีผลต่อการนำไฟฟ้าหัวใจหรือแร่ธาตุในเลือด รวมถึงดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง คือ การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD)

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999



ข้อมูลจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก TNN ONLINE


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง