TNN online โควิดเพิ่มความเสี่ยงก่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด นานกว่า 6 เดือน

TNN ONLINE

Health

โควิดเพิ่มความเสี่ยงก่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด นานกว่า 6 เดือน

โควิดเพิ่มความเสี่ยงก่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด นานกว่า 6 เดือน

ทีมวิจัยสวีเดนพบความเสี่ยงก่อภาวะลิ่มเลือดอุกตัน นานกว่า 6 เดือน หลังติดเชื้อโควิด แนะนำให้ฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของเชื้อ เป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ณ เวลานี้

นักวิจัยสวีเดน รายงานผลการศึกษาชิ้นใหม่ ซึ่งพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดและขาเป็นเวลานานกว่า 6 เดือด หลังจากติดเชื้อโควิด-19 แล้ว แม้ว่าจะป่วยเล็กน้อยไม่รุนแรงก็ตาม


ผลการศึกษาดังกล่าวถูกตีพิมพ์ลงในวารสารการแพทย์ BMJ โดยในรายละเอียดของงานวิจัยบอกว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มจะเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พบว่ามีความเสี่ยงมากกว่า ผู้ติดเชื้อที่อาการไม่รุนแรง
ทีมนักวิจัยติดตามสุขภาพของคนมากกว่า 1 ล้านคนในสวีเดน ที่มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึง เดือนพฤษาคม 2564 และเปรียบเทียบกับคนอายุและเพศเดียวกัน 4 ล้านคนที่ผลตรวจเป็นลบ


นักวิจัยพบความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้


▶ลิ่มเลือดในขา หรือลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) เป็นระยะเวลานาน 3 เดือน
▶ลิ่มเลือดในปอด หรือเส้นเลือดในปอดอุดตัน เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน
▶ภาวะเลือดออกภายใน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เป็นระยะเวลานาน 2 เดือน


เมื่อนักวิจัยเปรียบเทียบความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด ในคนเคยติดเชื้อ กับคนที่ไม่มีเชื้อ ปรากฏว่า ผู้ป่วยโควิด 4 ใน 10,000 คน มีอาการลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำส่วนลึก นอกจากนี้ มีผู้ป่วยโควิดราว 17 ใน 10,000 คน มีลิ่มเลือดในปอด
ความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดในคนป่วยโควิด-19 อาการหนัก พบว่า มีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 290 เท่า แต่หากติดโควิด-19 แล้วอาการไม่รุนแรง จะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดสูงกว่าคนปกติ 7 เท่า แต่ไม่มีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกภายในในกรณีติดโควิดรุนแรง


อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยชิ่นนี้ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบที่พิสูจน์ได้ว่าโควิดทำให้ลิ่มเลือดก่อตัว ซึ่งอาจเป็นไปได้ตามทฤษีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงของไวรัสต่อชั้นเวลล์ที่เรียงตัวกันในหลอดลเอด หรืออาจเกิดจาการตอบสนองต่อการอักเสบที่มากเกินไปต่อไวรัส หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า ร่างกายทำให้ลิ่มเลือดก่อตัวในเวลาที่ไม่เหมาะสม


ในส่วนสรุป อันน์-มารี คอนโนลี นักวิจัย กล่าวว่า ผลการศึกษาที่ได้เป็นเหตุผลที่ดีที่สนับสนุนว่าทำไมเราจำเป็นต้องฉีดวีคซีน เนื่องจากความเสี่ยงที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังติดเชื้อ มีสูงกว่า ความเสี่ยงเดียวที่กันจะเกิดจากการรับวัคซีนเสียอีก ดังนั้น การฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของเชื้อ ก็ยังเป็นมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ


ที่มา: https://www.bbc.com/news/health-61010090

—————
.
ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Website : https://www.tnnthailand.com/
Youtube : https://bit.ly/TNNHealthYoutube
TikTok : https://bit.ly/TNNHealthTikTok
Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://www.facebook.com/TNN16LIVE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง