TNN กทม.เปิด 3 สาเหตุกลิ่นไหม้กลางดึก นักวิชาการชี้เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี แต่เจือจางแล้วไม่เป็นอันตราย

TNN

Earth

กทม.เปิด 3 สาเหตุกลิ่นไหม้กลางดึก นักวิชาการชี้เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี แต่เจือจางแล้วไม่เป็นอันตราย

กทม.เปิด 3 สาเหตุกลิ่นไหม้กลางดึก  นักวิชาการชี้เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี  แต่เจือจางแล้วไม่เป็นอันตราย

กทม.เปิด 3 สาเหตุกลิ่นไหม้กลางดึก แม้มีฝนตกหนักแต่ค่าฝุ่นยังพุ่งสูง ด้านนักวิชาการชี้เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีแต่เจือจางแล้วไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

จากกรณีกลิ่นไหม้กลางดึกเมื่อคืนวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของ กทม. และนนทบุรี มีกลิ่นควันคล้ายกลิ่นไหม้รุนแรงจนทำให้แฮชแท็ก #กลิ่นไหม้ ขึ้นเทรนด์ X อันดับ 1 และในช่วงเวลา 00.05 น. ของวันที่ 21 มี.ค. เพจ“เพื่อนชัชชาติ” โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า 

พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ และผู้บริหารด้านความยั่งยืน กทม. ได้ชี้แจงถึง 3 สาเหตุ #กลิ่นไหม้ ดังนี้


1.ทิศทางลมวันที่ 20 เป็นทิศตะวันออก (ตามภาพ) ซึ่งต่างจากวันอื่นๆช่วงนี้ที่มาจากอ่าวไทย ส่วนจุดเผาในช่วง 24 ชม.ที่ผ่านมาพบที่ปริมณฑลหลายจุด


2.ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฤดูร้อน ประกอบกับมีความกดอากาศสูงผ่านทางอีสานมาเมื่อวาน ส่งผลให้ความสูงของชั้นบรรยากาศผสม (Mixing Height) ลดต่ำลง ฝุ่นละอองเกิดการสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น


3.ความชื้นในบรรยากาศทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 ทุติยภูมิ (Secondary PM2.5) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากพวกสารประกอบไนโตรเจนและแอมโมเนียจะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง


ทางด้าน อ.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุถึงสาเหตุของการเกิดกลิ่นไหม้ในหลายพื้นที่ กทม.ของคืนที่ผ่านมา (20 มี.ค.) ว่าการที่เกิดกลิ่นไหม้แสบตา แสบจมูกแบบเจือจาง น่าจะมาจากสาเหตุดังนี้


1.สถานการณ์สภาพอากาศในกทม.วันที่ 20มีค.ที่ผ่านมาฝนตกหนักหลายพื้นที่ในช่วงเช้าและฝนตกเกือทั้งวันหลังฝนตกในและช่วงกลางคืนจึงมีความชื้นสูงมากที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ


2. ก่อนหน้านั้นอากาศร้อนปกคลุมกทม. มาหลายวันเมื่อมีความกดอากาศสูงหรือมวล อากาศเย็นพัดเข้าปะทะทำให้ฝนตกลงมาค่อนข้างมาก การที่มวลอากาศเย็นพัดปกคลุมพื้นที่ทำให้อากาศปิดอัตราการระบายอากาศในแนวดิ่งเกิดได้น้อยและลมค่อนข้างนิ่ง มลพิษทางอากาศทั้งฝุ่น PM2.5 และอนุภาคของกำมะถัน คาร์บอนต่างๆมีปริมาณมากมาจากรถยนต์ การเผาในที่โล่งและโรงงานต่างๆที่เกิดตลอดวันในเขตกทม.และปริมณฑลจะลอยไปสะสมอยู่ในบรรยากาศใกล้ผิวโลกเมื่อรวมกับก๊าซ O2ในอากาศ กลายเป็นSO3(ก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์),CO2(ก๊าซคาร์บนไดออก ไซด์) เป็น ต้น สะสมในบรร ยากาศ เมื่ออากาศมีความชื้นสูงจึงทำปฎิกิยากับSO3 และ CO2 กลายเป็นกรดซัลฟิวริคและกรดคาร์บอนิค บางส่วนแตกตัวเป็นSO2 และ CO2ด้วย กรดซัลฟิวริคปกคลุมผิวดินทำให้เกิดอาการแสบตาแสบจมูกได้ และSO2จะมีกลิ่นคล้ายกำมะถันและกลิ่นไหม้ แต่ทั้งหมดไม่ได้มีอันตรายต่อสุขภาพเพราะเจือจางแล้วเพียงแค่ได้กลิ่น หากความชื้นในอากาศน้อยลงและลมพัดแรงขึ้นเหตุการณ์นี้ก็จะหายไป


ที่มา: (X):เพื่อนชัชชาติ, Facebook:sonthi.kotchawat


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง