TNN online ร้อนระอุ! "ดัชนีความร้อนสูงสุด" 20 พฤษภาคม 2566 พื้นที่ไหน? อยู่ในระดับ "อันตราย"

TNN ONLINE

Earth

ร้อนระอุ! "ดัชนีความร้อนสูงสุด" 20 พฤษภาคม 2566 พื้นที่ไหน? อยู่ในระดับ "อันตราย"

ร้อนระอุ! ดัชนีความร้อนสูงสุด 20 พฤษภาคม 2566 พื้นที่ไหน? อยู่ในระดับ อันตราย

ร้อนระอุ! กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุด 20 พฤษภาคม 2566 พื้นที่ไหน? อยู่ในระดับ "อันตราย"

ร้อนระอุ! กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุด 20 พฤษภาคม 2566 พื้นที่ไหน? อยู่ในระดับ "อันตราย" 


กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน 20 พฤษภาคม 2566


การคาดการณ์ค่าดัชนีความร้อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 มีรายละเอียด ดังนี้


- ภาคเหนือ เพชรบูรณ์ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 44.5 องศาเซลเซียส 

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 43.5 องศาเซลเซียส 

- ภาคกลาง บางนา กทม. ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน มากกว่า 46.9 องศาเซลเซียส  

- ภาคตะวันออก ชลบุรี  ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 51.0 องศาเซลเซียส 

- ภาคใต้ ภูเก็ต ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 46.6 องศาเซลเซียส


ร้อนระอุ! ดัชนีความร้อนสูงสุด 20 พฤษภาคม 2566 พื้นที่ไหน? อยู่ในระดับ อันตราย



ตารางแสดงค่าดัชนีความร้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (ข้อมูลจากกรมอนามัย)


ระดับเฝ้าระวัง 27-31.9 องศาเซลเซียส

 ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อนออกกำลังกาย หรือ ใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน


ระดับเตือนภัย 32-40.9 องศาเซลเซียส 

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดอาการตะคริวจากความร้อนและอาจเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน


ระดับอันตราย 41-53.9 องศาเซลเซียส 

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดท้องเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดดได้หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน


ระดับอันตรายมากมากกว่า 54 องศาเซลเซียส 

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดภาวะลมแดด (Heat Stroke)


ดัชนีความร้อน คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น ว่า อากาศร้อนเป็นอย่างไร หรือ อุณหภูมิที่ปรากฎในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับ ผลกระทบจากความร้อนได้

คำแนะนำสุขภาพ สังเกตอาการตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงควรลดเลิกกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม หลีกเลี่ยงดื่มชา กาแฟ สุรา น้ำอัดลม ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อย สำคัญ เตรียมเบอร์โทรศัพท์ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือ 1669




ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา / AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง