TNN online เดือนพฤษภาคม 2566 เตือนรับมือ "ฝนตกหนักสูงสุด" ช่วงไหนเช็กเลย!

TNN ONLINE

Earth

เดือนพฤษภาคม 2566 เตือนรับมือ "ฝนตกหนักสูงสุด" ช่วงไหนเช็กเลย!

เดือนพฤษภาคม 2566 เตือนรับมือ ฝนตกหนักสูงสุด ช่วงไหนเช็กเลย!

รศ.ดร.เสรี คาดการณ์ฝนตกหนักสูงสุดสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม แนะเตรียมพร้อมรับมืออากาศแปรปรวนหนักขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

พยากรณ์อากาศ คาดการณ์ฝนตกหนักสูงสุดสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม แนะเตรียมพร้อมรับมืออากาศแปรปรวนหนักขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 


รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศประเทศไทยที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูฝน และต้องเผชิญกับปรากฎการณ์เอลนีโญ่ โดยคาดการณ์ว่าหากเข้าสู่หน้าฝนฝนจะตกหนักสูงสุดในสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม 

เนื่องจากมีความกดอากาศจากจีนแผ่ลงมา แต่จากนั้นปริมาณฝนจะค่อยๆลดลง ก่อนได้รับอิทธิพลของเอลนีโญ่ สิ่งที่ต้องเตรียมรับมือ คือ ภาคการเกษตร ที่ในช่วงพายุฝนตกหนักต้องกักเก็บน้ำไว้ใช้ ชุมชนควรมีแหล่งน้ำสำรอง เนื่องจากหากจะหวังเพียงน้ำจากกรมชลประทานจะไม่เพียงพอ 

โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทาน แนะนำว่าควรลดการเพาะปลูกลง ซึ่งปรากฎการณ์เอลนีโญ่ในรอบนี้จะอยู่ยาวนานต่อเนื่องไปอีก 4-5 ปี ผลคือ ในปีหน้าจะเกิดภาวะภัยแล้งหนัก น้ำในเขื่อนหลักใหญ่ๆอาจไม่เพียงพอ 

เนื่องจากที่ผ่านมาการกักเก็บน้ำเข้าเขื่อนสามารถบริหารจัดการไว้ใช้แบบปีต่อปีเท่านั้น ขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศควรจะวางแผนบริหารจัดการน้ำไว้ใช้แบบระยะยาวอย่างน้อย 5 ปี

รศ.ดร.เสรี  ยังบอกด้วยว่า ปัจจุบันทั้งไทย และทั่วโลกต้องเผชิญกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทุกปี เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้น และ อากาศร้อนเพิ่มขึ้นกว่าในอดีต 3-4 องศา ขณะเดียวกันหากเกิดฝนตกก็จะตกมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้สภาวะอากาศแปรปรวน หรือ เอลนีโญ่ ลานีญ่า 

ซึ่งมักจะส่งผลให้เกิดภัยแล้งหนัก ฝนตกหนัก น้ำท่วมหนัก ขึ้นอยู่กับปรากฎการณ์ทีต้องเผชิญในแต่ละปี ดังนั้นควรจะวางแนวทางเตรียมรับมือในระยะยาวเอาไว้เพื่อจะสามารถบริหารจัดการแก้ไขปัญหาได้ทัน



ภาพจาก AFP




ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง