TNN online สภาพคล่องการซื้อ/ขายคืออะไร มีความสำคัญหรือไม่ ? วิเคราะห์โดย Zipmex

TNN ONLINE

คอลัมนิสต์

สภาพคล่องการซื้อ/ขายคืออะไร มีความสำคัญหรือไม่ ? วิเคราะห์โดย Zipmex

สภาพคล่องการซื้อ/ขายคืออะไร มีความสำคัญหรือไม่ ? วิเคราะห์โดย  Zipmex

สภาพคล่องการซื้อ/ขายคืออะไร มีความสำคัญหรือไม่ ? วิเคราะห์โดย เอกราช ศรีศุภวิชากิจ Head of Risk Management & Research Specialist Zipmex Trader

ปัจจัยที่มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจเข้าซื้อ/ขายของนักลงทุนและนักเก็งกำไรในแต่ละช่วงเวลาคือสิ่งที่เรียกกันว่า “สภาพคล่อง” ในการซื้อขาย ไม่ว่าสินทรัพย์นั้นจะเป็นหุ้น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งสภาพคล่องนี้ในหลายครั้งเป็นตัวจำกัดกลยุทธ์การซื้อขาย ในบทความนี้ของเราจึงอยากจะแชร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ในมุมที่เข้าใจง่ายเท่าที่จะทำได้


สภาพคล่องคืออะไร

สภาพคล่อง (Liquidity) หมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนสิ่งของหรือสินทรัพย์ไปเป็นเงินสด (จาก Wikipedia.org) แปลให้ง่ายกว่านั้นคือความสะดวก รวดเร็วในการแลกเปลี่ยนของกันนั่นเอง สำหรับตลาดการซื้อขายอย่างตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ก็คือความสามารถในการเปลี่ยนจากเงินบาทไปเป็นคริปโทฯ หรือเปลี่ยนจากคริปโทฯ กลับมาเป็นเงินบาท โดยที่สภาพคล่องแต่ละสินทรัพย์ แต่ละช่วงเวลาก็จะแตกต่างกันด้วย บางช่วงที่คนกำลังให้ความสนใจ สินทรัพย์นั้นก็จะคึกคัก มีการซื้อการขายอยู่ตลอด แต่หากความนิยมเริ่มหมดลง สภาพคล่องก็จะค่อย ๆ ลดน้อยลง แต่สำหรับตลาดการลงทุน/การเก็งกำไร โดยเฉพาะวิธีการที่เน้นกินส่วนต่างราคาแบบระยะสั้น-ระยะกลาง ความรวดเร็วและความสะดวกในการเข้าออกสำคัญมาก ๆ ถ้าสภาพคล่องน้อย คนส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงที่จะไม่เทรด ถ้าเทรดก็เทรดกันน้อยมากเพราะกลัวถูกขัง (เข้าซื้อได้แต่ขายออกไม่ได้) ซึ่งเรื่องนี้นักลงทุนระยะยาวอาจจะมีผลกระทบบ้างแต่ไม่เยอะเท่ากับกลุ่มอื่น เพราะสามารถทยอยซื้อ/ทยอยขายออกช้า ๆ ได้ แต่ทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “สภาพคล่องเยอะ ยังไงก็ดีกว่า” เราจึงอยากจะขยายความเพิ่มอีกเล็กน้อยว่า สภาพคล่องที่ดีเป็นอย่างไรในเบื้องต้น


สภาพคล่องในการซื้อขายที่ดี เป็นอย่างไร

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าสภาพคล่องการซื้อ/ขายในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Free Float ที่เราคุ้นเคยกันในตลาดหุ้น และไม่ใช่จำนวนเหรียญที่มีการหมุนเวียนในระบบทั้งหมด แต่หมายถึงสภาพคล่องจาก Bid/Ask ที่เราจะต้องดูเวลาซื้อขายนั่นเอง

1.    ความถี่ของจำนวน Bid/Ask และปริมาณในแต่ละช่อง สภาพคล่องในการซื้อขายที่ดี ควรจะมี Bid/Ask ที่มีความถี่พอสมควร อีกทั้งความถี่ในแต่ละช่องนั้นควรมีปริมาณที่มากพอสมควรด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  สภาพคล่องการซื้อ/ขายคืออะไร มีความสำคัญหรือไม่ ? วิเคราะห์โดย  Zipmex


จากภาพประกอบด้านบนนี้เป็น Bid/Ask ของเหรียญหนึ่ง ราคาซื้อขายประมาณ 40 บาท สามารถตั้งราคาได้ด้วยทศนิยม 5 ตำแหน่ง แม้ ราคาในแต่ละช่องจะไม่ได้ถี่ถึงขั้นที่ไล่ตามทศนิยม 5 ตำแหน่งเลย แต่แบบนี้ถือว่าถี่พอสมควร ลองสังเกตุที่ Bid ช่องที่ 1 ไล่ลงมาตามลำดับ

Bid (1) 40.51

Bid (2) 40.48

Bid (3) 40.45

Bid (4) 40.385

Bid (5) 40.381

Bid (6) 40.37


อีกทั้งใน Bid แต่ละช่องมีปริมาณตั้งซื้อเฉลี่ยประมาณ 2-3 แสนบาทต่อหนึ่งช่อง ช่องที่ 1-6 มีมูลค่ารวมประมาณ 1,300,000 บาท ถ้าเทียบกับในตลาดหุ้นแล้ว ราคา 40 จะ Spread ช่องละ 0.25 คือ 40.50, 40.25, 40.00 ตามลำดับ แบบนี้ถือว่า Spread โดยรวมน้อยกว่า


2.   Bid/Ask Spread ไม่ห่างกันมาก ในความหมายคือ ส่วนต่างในการรับซื้อและรับขายช่องแรกของทั้งสองฝั่งควรใกล้กัน หากยกตัวอย่างในรูปด้านบน Bid ช่องที่หนึ่งอยู่ที่ 40.51523 ส่วน Ask ช่องที่หนึ่งอยู่ที่ 40.58562

40.51523 BID – ASK 40.58562

ส่วนต่างประมาณ 0.17% นี้ถือว่าไม่ได้สูงมาก ลองคิดในมุมของเทรดเดอร์ระยะสั้นดูนะครับ ถ้าผมอยากได้เหรียญนี้ทันที จะต้องเคาะขวาที่ ASK ในราคา 40.58562 เป็นจำนวน 1 แสนบาท แล้วเกิดเปลี่ยนใจ กลัวตลาดลงยอมขายทิ้งทันที ซึ่งต้องโยนขายที่ BID เป็นจำนวน 1 แสนในราคา 40.51523 (สมมุติราคาไม่เปลี่ยนแปลง) ทำให้เทรดเดอร์ท่านนั้นจะเสียส่วนต่างเพียง 0.17% ไม่รวมค่าธรรมเนียม แต่ถ้า Bid/Ask Spread กว้างมากเช่น

38.51523 BID – ASK 40.58562

กรณีแบบนี้ถ้าเคาะขวาแล้วเปลี่ยนใจโยนซ้ายคืน จะเสียส่วนต่างหรือขาดทุนทันที 5.1% ไม่รวมค่าธรรมเนียม ยิ่งถ้าปริมาณในแต่ช่องน้อยด้วยแล้ว เราอาจต้องกวาดซื้อ/ขายครั้งละหลายช่อง ทำให้มีต้นทุนมหาศาลจนไม่คุ้มเสี่ยงที่จะเทรดซื้อขายระยะสั้น


3.    สภาพคล่องที่ดีต้องเหมาะสมกับขนาดพอร์ตของเรา เพราะคำว่าสภาพคล่องสูง/ต่ำ ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนมอง ถ้าพอร์ตเราเริ่มต้นที่หลักหมื่น Bid/Ask ต่อช่องประมาณหลักแสน แบบนี้ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าพอร์ตเราหลัก 10 ล้านแต่สภาพคล่องหลักแสน เวลาซื้อขายอาจต้องทยอย หรือไม่สามารถเก็บได้ครบตามปริมาณที่ต้องการ ซึ่งข้อนี้เป็นข้อจำกัดของกองทุนส่วนใหญ่ที่มีขนาดเงินลงทุนจำนวนมาก ทำให้เวลาซื้อขายต้องมีการกระจายสินทรัพย์ กระจายช่วงเวลาในการเข้าซื้อขาย รวมไปถึงไม่สามารถเลือกใช้กลยุทธ์ที่เป็นการซื้อขายระยะสั้นได้ ต่อได้ทำได้ก็เป็นเพียงแค่เงินส่วนเล็ก ๆ ในพอร์ตใหญ่เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเลือกสินทรัพย์ให้เหมาะกับขนาดของพอร์ตเราด้วยนะครับ และต้องไม่ลืมว่าสสภาพคล่องแต่ละช่วงไม่เคยเท่ากัน ตอนซื้ออาจจะสภาพคล่อง ผ่านไป 3 เดือนพอจะขายสภาพคล่องหายหมดจะขายลำบากอีก


สภาพคล่องการซื้อขายที่ Zipmex Exchange เป็นอย่างไร

ในช่วงแรกอาจจะไม่ได้สูงมาก ทำให้เป็นข้อจำกัดของนักลงทุน/เก็งกำไรหลายคน รวมถึงผมด้วยเพราะจะกวาดซื้อทีเหมาไป 10 ช่องก็คงไม่ไหว แต่ในตอนนี้สภาพคล่องของเราสูงมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว ทั้ง Long Term-Short-Term Strategy ก็พอที่จะวางกลยุทธ์กันได้มากขึ้น อีกทั้งจำนวนเหรียญก็มีมากถึง 53 เหรียญ (4 Nov 2021) และภายในเดือนนี้ก็จะลิสต์อีกมาก เพราะฉะนั้นลองเข้ามาดูความเปลี่ยนแปลงตรงนี้กันหรือดูจากภาพประกอบเบื้องต้นด้านล่างนี้ก็ได้ครับ

สภาพคล่องการซื้อ/ขายคืออะไร มีความสำคัญหรือไม่ ? วิเคราะห์โดย  Zipmex

 (BTCTHB Zipmex Exchange)

สภาพคล่องการซื้อ/ขายคืออะไร มีความสำคัญหรือไม่ ? วิเคราะห์โดย  Zipmex

 (DOTTHB Zipmex Exchange)

สภาพคล่องการซื้อ/ขายคืออะไร มีความสำคัญหรือไม่ ? วิเคราะห์โดย  Zipmex

 (AXSTHB Zipmex Exchange)



ข้อมูล: เอกราช ศรีศุภวิชากิจ Head of Risk Management & Research Specialist Zipmex Trader 

ภาพประกอบ : Zipmex Exchange  ,AFP 

ข่าวแนะนำ