TNN online ชนวนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและทองคำ วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง

TNN ONLINE

คอลัมนิสต์

ชนวนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและทองคำ วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง

ชนวนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและทองคำ   วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง

ชนวนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน วิเคราะห์โดย ธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฮั่วเซ่งเฮง

Gold Bullish 

  • ความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อ
  • สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ประเด็นชายแดนยูเครน

Gold Bearish 

  • ธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี.ค.
  • ธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.25%
  • การกระจายวัคซีนโควิด-19


ความตึงเครียดในยูเครน ยังเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ

ทองคำสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเหนือบริเวณ 1,900 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จากที่นักลงทุนมีความกังวลถึงความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะบุกยูเครน หากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง อาจนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ ขณะที่รัสเซียมองว่ายูเครนเป็นกันชนสำคัญในการต้านอิทธิพลจากองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ส่วนยูเครนจะมองว่ารัสเซียเป็นผู้บุกรุกที่ยึดครองดินแดนไปบางส่วน ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนมีการวิวาทะตลอดเรื่อยมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยชนวนเหตุสำคัญเริ่มมาจากที่รัสเซียผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งเมื่อปี 2557 โดยเหตุการณ์ในอดีตก็ได้ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำเช่นกัน จากเหตุการณ์ในอดีตตั้งแต่เมื่อปี 2551 ในการประชุมสุดยอดบูคาเรต์ที่ได้มีความพยายามจะเอายูเครนเข้ามาเป็นสมาชิกองค์การนาโต ส่งผลให้ภายหลังการประชุมดังกล่าวราคาทองคำปรับขึ้นไปกว่า 3.9% จากก่อนการประชุมวันที่ 2 เม.ย. 2551
ชนวนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและทองคำ   วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง

ขณะที่ในปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่เป็นชนวนสำคัญของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนตลอดมา นั้นคือวิกฤตการณ์ไครเมีย เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนก.พ. 2557 เป็นวิกฤติการณ์ทางการทูตในเขตปกครองตันเองไครเมีย ประเทศยูเครน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฎิวัติยูเครน ซึ่งโค่นรัฐบาลประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูคอวิช ในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ ส่งผลทำให้มีกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซียบางกลุ่มจัดการประท้วงคัดค้านเหตุการณ์ในเคียฟ และต้องการความสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียใกล้ชิดยิ่งขึ้น จนนำไปสู่เหตุการณ์บานปลายในความตึงเครียดระหว่างประเทศ จนในที่สุดวันที่ 11 มี.ค. 2557 รัฐสภาไครเมียลงมติและอนุมัติคำประกาศอิสรภาพสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอลจากยูเครน ตั้งเป็นสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีมติเห็นชอบ 78 เสียง จากทั้งหมด 100 เสียง และรัฐสภาไครเมียประกาศอิสรภาพจากยูเครนอย่างเป็นทางการ และขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัวในวันที่ 17 มี.ค. 2557 ส่งผลทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวไปกว่า 3.21% 

ชนวนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและทองคำ   วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง


ราคาทองคำในสัปดาห์นี้อาจยังคงมีทิศทางขาขึ้น  ซึ่งตลาดยังคงให้ความสนใจในความตึงเครียดในยูเครน รวมถึงพิจารณาความเป็นไปได้ต่อสถานการณ์ที่รัสเซียจะบุกโจมตียูเครน และการเจรจาหารือกันระหว่างประเทศในการคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าว โดยยังคาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะคลี่คลายได้ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทั้งนี้แนวโน้มราคาทองคำเคลื่อนไหว sideways up อย่างไรก็ตาม หากประเด็นความกังวลในด้านยูเครนเริ่มคลี่คลายลงหรือลดความตึงเครียดน้อยลงก็อาจเกิดแรงเทขายออกมาได้เช่นกัน สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จีดีพีไตรมาส 4 (ประมาณการครั้งที่ 2) ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7.1% จากเพิ่มขึ้น 6.9% และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานเดือนม.ค. ตลาดคาดว่าเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบรายเดือน หรือเพิ่มขึ้น 5.1% เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้สหรัฐเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ. โดย Conference Board ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.ของม.มิชิแกน  และยอดทำสัญญาขายบ้านรอปิดการขายเดือนม.ค.


ราคาทองคำมีแนวรับที่ 1,880 ดอลลาร์ และ 1,860 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้าน 1,920 ดอลลาร์ และ 1,950 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองแท่งในประเทศมีแนวรับ 28,500 บาท และ 28,300 บาท ขณะที่มีแนวต้านที่ 29,000 บาท และ 29,200 บาท


ชนวนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและทองคำ   วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง


ชนวนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและทองคำ   วิเคราะห์โดย ฮั่วเซ่งเฮง

ข้อมูลจาก: ธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฮั่วเซ่งเฮง

ภาพประกอบ : AFP , ฮั่วเซ่งเฮง


ข่าวแนะนำ