TNN โอลิมปิกปารีส 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการปฏิวัติ

TNN

World

โอลิมปิกปารีส 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการปฏิวัติ

โอลิมปิกปารีส 2024  มหกรรมกีฬาแห่งการปฏิวัติ

ฝรั่งเศสกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬา ปารีสโอลิมปิก 2024 ในเดือนกรกฎาคมนี้.. ฝรั่งเศสประกาศว่า จะเป็นมหกรรมกีฬา “แห่งการปฏิวัติ” ..​หมายความว่าอย่างไร?​


“ฝรั่งเศสมีความพยายามอย่างหนักในการที่จะทำให้โอลิมปิกที่เราเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้เป็นเวทีแห่งการปฏิวัติอย่างแท้จริง” 


เบื้องต้น คือคำคุยโวของ ฟิลิป แบร์ตู เอกอัคราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศเกาหลีใต้ ไว้ในบทสัมภาษณ์กับ The Korea Times ที่เน้นย้ำความสำคัญในการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกในปี 2024 นี้ ว่าไม่เหมือนทั่วไป ที่โฟกัสที่การแข่งขันล้วน ๆ หากแต่ดินแดนน้ำหอมยังต้องการที่จะ “กระทำการ” บางอย่าง เพื่อให้เกิดการ “เล่นฉีก” ให้จงได้


แน่นอน ในบทสัมภาษณ์ดังกล่าว เป็นเรื่องที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ฝรั่งเศส-เกาหลีใต้ เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่คำถามที่อาจจะสามารถขยายความต่อไปได้ นั่นคือ การปฏิวัติที่ฝรั่งเศสอยากให้เกิดขึ้นนั้น ต้องการปฏิวัติอะไร? จะเป็นจริงได้หรือไม่?


ลองมาประเมินจาก “ประเด็น” ที่ฝรั่งเศส “อยากปฏิวัติ” ดังต่อไปนี้


ปฏิวัติงบประมาณ  


ประการแรก แบร์ตูได้มีการออกมาเคลมแบบออกนอกหน้าว่า โอลิมปิกครั้งนี้ เรา “ไม่ได้สร้างอะไรใหม่” ทั้งสนามที่ใช้ในการแข่งขัน หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับนักท่องเที่ยว


รวมไปถึง ที่สำคัญอย่างมาก นั่นคือ การที่พิธีเปิด จะไม่จัดใน “สนามกีฬา” แบบที่เคยเป็นมา แต่จะทำการจัดแบบ “Outdoor” ในบริเวณใกล้กับแม่น้ำแซน โดยท่านทูตให้เหตุผลว่า “เป็นการโชว์แลนด์มาร์คสำคัญของปารีส ผู้คนกว่าหมื่นคนจะได้มีส่วนร่วมและสนุกสนานไปด้วยกัน … สิ่งนี้ จะช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมทั้งในทางตรงและทางอ้อม”


ทั้งสองอย่างนี้ คาดการณ์ว่า จะช่วย “ลดงบประมาณ” ของการจัดการแข่งขันลงไปได้มาก เพราะสนามไม่ต้องสร้างใหม่ และไม่ต้องจ่ายค่า แสง สี เสียง ตระการตาในสนาม 


แต่หากว่ากันตามหลักการแล้ว ฝรั่งเศสถือได้ว่า “มีต้นทุน” ที่สูงอย่างมากในการที่จะเป็น “สารตั้งต้น” ในการจัดมหกรรมกีฬา เพราะอย่าลืมว่า ฝรั่งเศสถือเป็นชาติมหาอำนาจทางกีฬาระดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะฟุตบอล ที่สามารถคว้าแชมป์โลกมาแล้ว 2 สมัย และมีลีกระดับติด Top 5 ของโลก 


แน่นอน แม้รัฐไม่ต้องสร้างเอง แต่ภาคเอกชนก็ได้ทำการสร้างสนามไว้อยู่ก่อนหน้า อาทิ สนามสต๊าด เวโลโดรม ของสโมสรฟุตบอล โอลิมปิก มาร์กเซย์ ที่มีความจุมากกว่า 6 หมื่นที่นั่ง หรือปาร์ค เดอ แปร็งซ์ ของสโมสรฟุตบอล ปารีส แซงต์ แชร์กแม็ง ก็มีความจุกว่า 5 หมื่นที่นั่ง รอให้รัฐเข้ามาเช่ายืมเพื่อจัดการแข่งขัน


อีกทั้ง ยังเป็นการ “จ่ายทีเดียวจบ” เพราะค่าบำรุงรักษา ปฏิสังขรณ์ หรือรีโนเวท เป็นเรื่องของสโมสรที่ต้องกระทำการทั้งสิ้น


ตรงนี้ ถือว่า “ได้เปรียบ” กว่าบรรดาเจ้าภาพอื่น ๆ ที่อาจจะไม่ได้มีต้นทุนตรงนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด นั่นคือ จีน สมัยโอลิมปิก 2008 ที่ต้องทุ่มเม็ดเงินมหาศาล ในการสร้าง “สนามกีฬารังนก” ทั้งยังต้องบำรุงรักษาด้วยตนเองเป็น Fixed Costs ในระยะยาว เพราะภาคเอกชนในประเทศไม่ได้ลงทุนในกีฬามากมาย


ปฏิวัติสิ่งแวดล้อม 


อีกประเด็นที่แบร์ตูชี้ชัด นั่นคือ โอลิมปิกในครั้งนี้ “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งตรงนี้ ถือเป็นแคมเปญของปารีส ตั้งแต่ชนะ Bidding การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักอย่างมาก


แน่นอน ตรงนี้ถือว่า Making Sense เนื่องจากการไม่ได้สร้างสนามแข่งขันใหม่เพิ่มขึ้น ด้วยการ “กินบุญเก่า” ย่อมหมายความว่า การก่อสร้าง ที่จะนำไปสู่ “การสร้างฝุ่นละออง” หรือ “การปล่อยคาร์บอน” ย่อมไม่อาจเพิ่มขึ้นได้


แต่สิ่งที่จำเป็นต้องสร้าง อาทิ หมู่บ้านนักกีฬา ทางปารีสได้ปรับแก้สเปกของโครงสร้าง ด้วยการนำ “วัสดุประเภทไม้” เข้ามาประกอบ เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้คอนกรีต ไม่เปลืองเครื่องปรับอากาศ จากการที่ไม้จะสามารถดูดซับความเย็นได้มากกว่าคอนกรีตเป็นไหน ๆ และที่สำคัญ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นวัสดุธรรมชาติ


เหนือสิ่งอื่นใด ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า ในเรื่องของการจัดการนั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขนาดไหน แต่อยู่ที่ว่า “ระหว่างการแข่งขัน” นั้น มีการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขนาดไหน เป็นสำคัญ


เพราะอย่าลืมว่า การรับชมการแข่งขันนั้น ต้องมีเรื่องของการคมนาคมไปรับชม การบริโภคสินค้าและบริการ และอื่น ๆ ที่คาดไม่ถึงตามมาอีกมาก 


อย่างโอลิมปิกที่จีนปี 2008 มีสถิติชัดเจนว่า ภายหลังจากการแข่งขันจบลง มลพิษทางอากาศของปักกิ่ง “ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ” 


ปฏิวัติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  (ขึ้นข้อความ)


เมื่อมาถึงตรงนี้ ย่อมต้องชื่นชมความพยายามของฝรั่งเศส ในการที่จะ “สร้างจุดขาย” เรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นที่หนึ่ง สิ่งที่สำคัญ นั่นคือ ฝรั่งเศสมีข้อได้เปรียบอยู่ก่อนหน้านั้นที่ “มีแนวโน้ม” จะกระทำได้ ด้วยการกินบุญเก่าของสนามภาคเอกชน 


แต่อย่าลืมว่า การจะ “บรรลุผลลัพธ์” ได้นั้น เป็นเรื่องในระหว่างและหลังการแข่งขัน ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น


ทั้งนี้ มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือ การปฏิวัติที่ว่านั้น อาจเป็นเรื่องของ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” เป็นที่ตั้ง


ดังที่เห็นได้จาก ขนาดว่า วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ยังต้องยอมสยบ “รับหลักการหยุดยิง” ในระหว่างแข่งขันโอลิมปิก 2024 ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยมาก ว่ามหาอำนาจอย่างรัสเซีย ยอมได้อย่างไร?


ซึ่งตรงนี้ ไม่แน่ว่า โอลิมปิก อาจมีความสำคัญที่มากกว่า “องค์การระหว่างประเทศ” อื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปลี่ยนใจรัสเซียได้ประการหนึ่ง


แหล่งอ้างอิง


ข่าวแนะนำ