TNN online รู้จัก World Economic Forum 2024 ผู้นำไทยเข้าร่วมครั้งแรกในรอบ 12 ปี

TNN ONLINE

World

รู้จัก World Economic Forum 2024 ผู้นำไทยเข้าร่วมครั้งแรกในรอบ 12 ปี

รู้จัก World Economic Forum 2024 ผู้นำไทยเข้าร่วมครั้งแรกในรอบ 12 ปี

รู้จัก World Economic Forum 2024 ผู้นำไทยเข้าร่วมครั้งแรกในรอบ 12 ปี

World Economic Forum (WEF) คืออะไร?


World Economic Forum (WEF) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ มีการจัดงานประชุมประจำปี ณ เมืองดาวอส สหพันธรัฐสวิส เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ WEF เป็นเวทีใหญ่ที่บุคคลสำคัญ ในหลากหลายด้าน ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ นักวิชาการ สื่อมวลชน และบุคคลที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลกมาร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวคิด รวมถึงสร้างความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อรองรับความท้าทายระดับโลกพร้อมทั้งกำหนดทิศทางที่ยั่งยืนในอนาคต


ข้อมูลโดยสังเขปของ WEF World Economic Forum


1. WEF ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514 ) โดย ศ.ดร. Klaus Schwab (ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Executive Chairman) และได้รับสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศในด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (International Organization for Public-Private Cooperation) จากรัฐบาลสหพันธรัฐสวิส

เมื่อปี ค.ศ.  2015 (2558)


2. WEF มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในเวทีโลกในเรื่องการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสนอแนะทิศทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาในระดับระหว่างประเทศ ผ่านเครือข่ายผู้นำภาคการเมือง ธุรกิจ และภาคประชาสังคม


3. การประชุมประจำปีของ WEF ณ เมืองดาวอส ถือเป็นเวทีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับระหว่างประเทศ โดยที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งระดับผู้นำ ผู้บริหารระดับสูงจากภาคธุรกิจ องค์การระหว่างประเทศ และนักวิชาการจากทั่วโลก


4. นอกเหนือจากการประชุมประจำปีที่เมืองดาวอสในช่วงต้นปีแล้ว  WEF ยังจัดการประชุมอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ การประชุมระดับภูมิภาค เช่น ASEAN ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และการประชุม WEF’s Annual Meeting of the New Champions ณ เมืองต้าเหลียน  เทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการประชุมสำหรับผู้นำภาคธุรกิจที่โดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ


5. เมื่อปี 2560  WEF ได้ริเริ่มจัดการประชุม Sustainable Development Impact Summit ขึ้นเป็น ครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18 – 19 ก.ย. 2560 ในช่วงเดียวกับ High-level Week ของการประชุม UNGA

ณ นครนิวยอร์ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบรรลุ SDGs และพันธกรณีภายใต้ Paris Agreementผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4


ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2560  ที่นครนิวยอร์ค รมว.กต. (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้พบหารือกับนาย Philipp Rösler, Head of Regional and Government Engagement, Member of the Managing Board, WEF โดยได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและ WEF ในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชน/คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ และการส่งเสริม/พัฒนาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบริษัท Startups โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ 


ความร่วมมือระหว่างไทยและ WEF ที่ผ่านมา การเข้าร่วมการประชุมประจำปีของ WEF ณ เมืองดาวอส


ปี 2552 (ค.ศ. 2009) – 2555 (ค.ศ. 2012 นรม. เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวติดต่อกัน 4 ปี 

ปี 2556 (ค.ศ. 2013) รอง นรม./ รมว. กค. เป็นผู้แทนเข้าร่วม 

ปี 2558 (ค.ศ. 2015) รอง นรม. กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นผู้แทนเข้าร่วม 

ปี 2560  (ค.ศ. 2017) รมว. พณ. เป็นผู้แทนเข้าร่วม   

ปี 2561 (ค.ศ. 2018 ) รมต. นร. (นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล) เป็นผู้แทนเข้าร่วม



ผู้นำไทยเข้าร่วมครั้งแรกในรอบ 12 ปี


นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง พร้อมด้วยนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ มีกำหนดเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส ระหว่างวันที่ 15-19 ม.ค.67 ซึ่งจะเป็นการเข้าร่วมการประชุมในระดับผู้นำครั้งแรกของไทยในรอบ 12 ปี และป็นการเดินทางเยือนภูมิภาคยุโรปครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีฯ จึงเป็นโอกาสดียิ่งที่จะได้พบกับผู้นำจากทั่วโลก เพื่อแสดงความพร้อมของไทย ที่จะร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน


การประชุมประจำปีของ WEF เป็นเวทีที่มีลักษณะเฉพาะและมีความพิเศษ มีผู้เข้าร่วมทั้งที่เป็นประมุขและผู้นำรัฐบาล หัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ ผู้บริหารภาคธุรกิจ (CEOs) นักวิชาการ ตลอดจนผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับโลก ประมาณ 2,500 คนจากทั่วโลก



WEF World Economic Forum 2024 คุยประเด็นอะไรบ้าง?



โดยการประชุมปีนี้จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ฟื้นฟูความเชื่อมั่น” ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่


(1) การบรรลุความร่วมมือและความมั่นคงในโลกที่แตกแยก


(2) การสร้างการเติบโตและสร้างงานสำหรับยุคใหม่


(3) ปัญญาประดิษฐ์ในฐานะพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม


(4) ยุทธศาสตร์ระยะยาวสำหรับสภาพภูมิอากาศ ธรรมชาติ และพลังงาน


ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีฯ จะเข้าร่วมและร่วมเป็นผู้เสวนาในการประชุมและเวทีเสวนาต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยและเชิญชวนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยโดยเฉพาะโครงการ Landbridge ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็น อาทิ แนวโน้มเศรษฐกิจ ภูมิรัฐศาสตร์โลก ความยั่งยืน และการเปลี่ยนผ่านสีเขียว นอกจากนั้น ยังมีกำหนดการพบกับผู้นำรัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ และภาคธุรกิจ เพื่อหารือประเด็นความร่วมมือในอนาคต



ข้อมูลอ้างอิง : 

กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง