TNN online เหตุใด"ซากเรือไททานิค"จึงอันตราย? ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาจโยงเรือดำน้ำไททัน

TNN ONLINE

World

เหตุใด"ซากเรือไททานิค"จึงอันตราย? ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาจโยงเรือดำน้ำไททัน

เหตุใดซากเรือไททานิคจึงอันตราย? ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาจโยงเรือดำน้ำไททัน

ตำนานเรือที่ไม่มีวันจม "ไททานิค" ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ถึงอันตรายที่อยู่รอบๆซากเรือ ที่อาจเชื่อมโยงกับการหายไปของยานดำน้ำไททัน

ตำนานเรือที่ไม่มีวันจม "ไททานิค" ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ถึงอันตรายที่อยู่รอบๆซากเรือ ที่อาจเชื่อมโยงกับการหายไปของยานดำน้ำไททัน

การค้นหา "เรือดำน้ำไททัน" ซึ่งมีผู้โดยสาร 5 คนสูญหายไปขณะที่กำลังดำดิ่งลงไปดูซาก "เรือไททานิค" ในมหาสมุทรแอตแลนติก ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง และเต็มไปด้วยความกดดัน ท้าทาย เพราะยิ่งเวลาผ่านไปหลายวัน ปริมาณออกซิเจนในเรือก็เหลือน้อยลงไปทุกที 


ประวัติเรือไททานิค


เรือไททานิค หรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิก หรือชื่อเต็มคือ เรือไปรษณีย์หลวงไททานิก (Royal Mail Ship Titanic) เป็นเรือโดยสารซึ่งจมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติกเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 หลังชนภูเขาน้ำแข็งระหว่างการเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การจมของไททานิค นับเป็นภัยพิบัติทางทะเลในยามสงบครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ 


ไททานิค เคยเป็นสิ่งของเคลื่อนได้ที่ใหญ่ที่สุดที่ทำด้วยฝีมือมนุษย์ในขณะการเดินทางเที่ยวแรก เป็นหนึ่งในสามเรือโดยสารชั้นโอลิมปิกซึ่งดำเนินการโดยไวต์สตาร์ไลน์ สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1909-1911 โดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนดวูล์ฟฟ์ในเบลฟาสต์บรรทุกผู้โดยสาร 2,223 คน


ลักษณะเฉพาะของเรือไททานิค


ไททานิกเป็นเรือที่เปิดศักราชใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเรือเดินสมุทร เนื่องจากเป็นเรือลำแรก ๆ ของโลกที่สร้างโดยโลหะและรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2,435 คน ยาว 269.0622 เมตร กว้าง 28.194 เมตร ขนาดของเรือ 46,328 ตัน แบ่งเป็น 9 ชั้น เรียงจากชั้นบนลงชั้นล่างได้ดังนี้

9. ดาดฟ้า สงวนไว้ให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นสอง มีปล่องไฟ 4 ตัว สูงตัวละ 19 เมตร และห้องยิมเนเซียม[6]
8. ชั้น A ห้องนั่งเล่น ห้องสมุด[6] ห้องสูบบุหรี่ คาเฟ่ขนาดเล็ก และเนิร์สเซอรี่ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
7. ชั้น B ห้องอาหาร a la carte ร้านกาแฟแบบปารีสของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง [7] และห้องสูบบุหรี่ผู้โดยสารชั้นสอง
6. ชั้น C ห้องสมุดของผู้โดยสารชั้นสอง ห้องเอนกประสงค์ของผู้โดยสารชั้นสาม
5. ชั้น D ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นสอง
4. ชั้น E ห้องนอนของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง สอง สาม ลูกเรือ
3. ชั้น F ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นสาม
2. ชั้น G สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำแบบตุรกี[6] และห้องเก็บกระเป๋าเดินทาง
1. ชั้นห้องเครื่อง มี 16 ห้อง หม้อน้ำรวม 29 ชุด ส่งเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์ 3 ตัว เครื่องยนต์ 3 ตัว หมุนใบจักร 3 ใบ รวม 50000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 23 น็อต (42.596 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วมาตรฐาน 21 น็อต (38.892 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ห้องเครื่องทั้ง 16 ห้องมีกำแพงสูงถึงชั้น F และมีประตูกลซึ่งจะปิดลงมาทุกบานทั่วลำเรือเมื่อพบเหตุผิดปกติที่ห้องเครื่องใดห้องเครื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไม่เกิดรอยรั่วในหลายห้องเครื่องจนเกินไป ตามหลักการลอยตัวแล้ว เรือจะไม่จม ถึงแม้จะเป็นจุดอ่อนที่สุดของเรือซึ่งก็คือหัวเรือ ก็ยังรับรอยแตกได้ถึง 4 ห้องเครื่องติดกันโดยไม่จม




อันตรายบริเวณรอบซากเรือไททานิค


ในปี 1912 เรือสำราญไททานิค ได้ล่องข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โดยเริ่มต้นจาก เซาแธมป์ตัน สหราชอาณาจักร ในวันที่ 10 เมษายน และเวลาเพียง 5 วัน ของความสุขของผู้คนบนเรือ ก็วูบหายลง เมื่อเรือชนเข้ากับก้อนน้ำแข็ง ในวันที่ 15 เมษายน จนหักเป็นสองท่อน และจมลง มีผู้เสียชีวิต 1,517 ราย จากผู้โดยสารและลูกเรือราว 2,200 คน


ปัจจุบันเรือไททานิคจมอยู่ใต้ทะเลที่ความลึกเกือบ 3.8 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากชายฝั่งเกาะนิวฟันด์แลนด์ ของแคนาดาราว 400 กิโลเมตร ซึ่งแม้ว่าจะรู้ตำแหน่งของมันค่อนข้างแน่นอนแล้ว แต่การที่จะนำยานดำน้ำลงไปสำรวจซากเรือไททานิคนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และเต็มไปด้วยอันตรายมากมาย 



เหตุใดซากเรือไททานิคจึงอันตราย? ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาจโยงเรือดำน้ำไททัน ภาพจาก รอยเตอร์

 



โดยบรรดานักวิเคราะห์ได้ระบุถึงอันตรายรอบๆ ซากเรือไททานิคที่อาจเกี่ยวข้องกับการหายไปของยานดำน้ำไททันไว้ดังนี้


1. จุดที่ซากเรือจมอยู่นั้นค่อนข้างลึก โดยปกติแล้ว แสงจะไม่สามารถส่องผ่านลงไปใต้ทะเลได้เกิน 1 กิโลเมตร และจุดที่ซากเรือไททานิคจมอยู่นั้นลึกเกือบ 4 กิโลเมตร แน่นอนว่าบริเวณดังกล่าวมืดสนิท ซึ่งแม้ว่าจะมีการใช้ไฟจากยานดำน้ำนำทาง ก็อาจจะต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าจะไปถึง แถมยังเสี่ยงที่จะหลงทางอีกด้วย


สำนักข่าวบีบีซี ได้อ้างอิงข้อมูลจากอดีตผู้โดยสารที่เคยร่วมทริปทัวร์ซากเรือไททานิค ของบริษัท “โอเชียนเกต” เมื่อปีที่แล้วว่า เมื่อเราลงไปถึงก้นทะเล ความมืดถือเป็นอุปสรรคสำคัญ ทำให้ต้องใช้เวลานานถึง 90 นาที ในการค้นหาซากเรือไททานิค


2. แรงดันอากาศใต้ทะเลลึก ซึ่งรอบๆ บริเวณซากเรือไททานิคมีความดันบรรยากาศอยู่ที่ประมาณ 40 เมกะปาสคาล หรือมากกว่าบริเวณผิวน้ำถึง 390 เท่า นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเราจึงต้องการยานดำน้ำที่มีผนังที่หนาและแข็งแรง


3. กระแสน้ำลึก ซึ่งแม้ว่าปกติแล้วกระแสน้ำที่อยู่ใต้ทะเลจะไม่ได้รุนแรงเท่ากับบริเวณพื้นผิว แต่ก็มีปราฎการณ์หลายอย่างที่ทำให้วัตถุ หรือ ยานพาหนะใต้น้ำถูกพัดปลิวหายไปได้ อาทิ ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า การไหลเวียนของเทอร์โมฮาไลน์ ที่เกิดจากกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็น ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายสายพานพัดเอาน้ำทะเลไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆ ของมหาสมุทรทั่วโลก


4. ตัวซากเรือไททานิคเองที่มีโอกาสถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ หลังจากที่มันจมอยู่ก้นทะเลมานานกว่า 100 ปี แต่ตรงจุดนี้นั้นทางผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ตราบใดที่ไม่ได้ไปสัมผัสกับตัวเรือโดยตรงก็น่าจะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น


5.  การพัดพาของตะกอนใต้ทะเล แม้ว่าข้อนี้จะดูเป็นไปได้น้อยที่สุด แต่ก็เคยมีตัวอย่างให้เห็น ว่าการพัดพาของตะกอนใต้ทะเลที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันก็เคยสร้างความเสียหายแก่วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นในอดีตมาแล้ว



เหตุใดซากเรือไททานิคจึงอันตราย? ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาจโยงเรือดำน้ำไททัน ภาพจาก รอยเตอร์

 



ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการลงไปสำรวจซากเรือไททานิคในปัจจุบัน ยังคงอันตรายไม่ต่างไปจากเมื่อปี 1986 ที่มีการลงไปสำรวจซากเรือไททานิคเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มันจมลงไปก้นทะเล แม้ว่าวิทยาการจะก้าวหน้าขึ้นกว่าแต่ก่อนแล้วก็ตาม



เหตุใดซากเรือไททานิคจึงอันตราย? ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาจโยงเรือดำน้ำไททัน ภาพจาก รอยเตอร์

 



เรือดำน้ำไททันสูญหาย


เรือดำน้ำไททันสูญหายขณะพา 5 ลูกเรือดำดิ่งทะเลลึกดูซากเรือ ไททานิค โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ แคนาดา และหน่วยงานรัฐบาลอีกหลายหน่วย กำลังช่วยบริษัทเอกชนในกฏิบัติการค้นหา  หลังขาดการติดต่อในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยต่างส่งเครื่องบินและเรือไปยังบริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติก โดยในเรือดำน้ำมีคนอยู่ 5 คน ซึ่งรวมถึง ‘ฮามิช ฮาร์ดิง’ อภิมหาเศรษฐีอังกฤษอยู่ในเรือดำน้ำด้วย




ที่มา TNN WORLD TODAY / wikipedia

ภาพจาก รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง