TNN online กบข. จับมือ จุฬาฯ ทำ“ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ สำหรับประเทศไทย”

TNN ONLINE

Wealth

กบข. จับมือ จุฬาฯ ทำ“ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ สำหรับประเทศไทย”

กบข. จับมือ จุฬาฯ ทำ“ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ สำหรับประเทศไทย”

กบข. ร่วมกับ ม.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนา “ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ (Retirement Readiness Index) สำหรับประเทศไทย” ตั้งเป้าแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปี63

วันนี้ ( 20 ก.พ.63) นายวิทัย รัตนากร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา กบข. ได้ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนา “ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ (Retirement Readiness Index) สำหรับสมาชิก กบข.” ได้สำเร็จ  ทำให้ กบข. สามารถนำดัชนีดังกล่าว มาเป็นเครื่องมือและบรรทัดฐานในการวัดความพร้อมในการเข้าสู่การเกษียณอายุให้กับสมาชิกของ กบข. และยังใช้ในการวางแผนพัฒนากลยุทธ์ การสื่อสารกับสมาชิกสำหรับประเทศไทยด้วย 

"ดัชนีฯชุดนี้ จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสมาชิก กบข. และสังคมไทยโดยรวมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  เพื่อช่วยสร้างความตระหนักรับรู้ให้กับประชาชนทั่วไป ถึงความสำคัญของการออมและการวางแผนทางด้านการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับการเกษียณอายุ และจะเป็นประโยชน์กับภาครัฐในการประเมินความพร้อมในการเกษียณอายุของประชาชนทั่วไป  ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผน ปรับปรุงแนวทางต่างๆ เพื่อให้ประชาขนคนไทยมีการเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพ  คาดว่าจะสามารถเผยแพร่ผลดัชนีได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้” นายวิทัย กล่าว

กบข. จับมือ จุฬาฯ ทำ“ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ สำหรับประเทศไทย”

ด้าน รศ. ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้กับสังคมโดยรวมของประเทศ  

ทั้งนี้ การส่งเสริมการออมและบริหารเงินออมเพื่อการเกษียณ รวมถึงการดูแลสุขภาพทางการเงิน (Financial Health) ของสมาชิก ถือเป็นภารกิจสำคัญของ กบข. ภายใต้ยุทธศาสตร์สมาชิกคือศูนย์กลาง หรือ Member Centric โดยในปี 2563 กบข. กำหนดภารกิจแยกตามลักษณะความพร้อมในการออม และบริหารเงินเพื่อการเกษียณของสมาชิกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) กลุ่มออมเพิ่ม หมายถึงกลุ่มที่มีความพร้อมทางการเงินแต่ยังไม่ได้ใช้บริการออมเพิ่มกับ กบข. และกลุ่มที่มีความจำเป็นควรทยอยออมเพิ่มเพื่อเป้าหมายเงินเกษียณที่เพียงพอ

2) กลุ่มเลือกหรือปรับแผนลงทุน หมายถึงกลุ่มสมาชิกที่ กบข. จะดำเนินการสื่อสารเชิงรุกเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแผนลงทุนที่ กบข. มีให้บริการ เป้าหมายคือให้สมาชิกเลือกแผนลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

และ 3) กลุ่มแก้ปัญหาทางการเงิน หมายถึงสมาชิก กบข. ที่มีรายจ่ายเกินรายได้และมีภาระหนี้สินมีความเสี่ยงสูงที่จะมีเงินเกษียณไม่เพียงพอ

โดย กบข. อยู่ระหว่างจัดทำโครงการร่วมกับธนาคารรัฐ และออกมาตรการของ กบข. เพื่อให้ความช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มนี้ ทั้งนี้ หากสมาชิกต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อศูนย์ข้อมูลการเงิน กบข. (Financial Assistant Center) ที่พร้อมให้บริการแบบส่วนบุคคล (Personalized) ได้ทาง My GPF App หรือ อีเมล [email protected]

กบข. จับมือ จุฬาฯ ทำ“ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ สำหรับประเทศไทย”

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง