TNN online "สตาร์ทอัพ" ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น

TNN ONLINE

Wealth

"สตาร์ทอัพ" ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น

สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น

ธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยได้รับความนิยมไม่แพ้กับต่างประเทศ แต่รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันสตาร์ทอัพไทยก็ไม่ได้หยุดพัฒนาและเติบโตไม่แพ้กับต่างชาติเลยทีเดียว

หลายคนอาจจะคุ้นหูกับ “Startup” ซึ่งช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นที่นิยมและเป็นที่สนใจอย่างมากทั้งในไทยและทั่วโลก ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจจะเน้นที่การสร้างเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ  เพื่อสร้างสินค้าและผลิตภัณฑ์ขึ้นมาในตลาด ถ้ายังไม่เห็นภาพ ก็ให้นึกถึง   Grab, Uber GET เป็นต้น  

สำหรับ ในประเทศไทยในปี 2018 เป็นปีที่มีจำนวนการระดมทุนของสตาร์ทอัพไทยมากกว่าปีก่อนเล็กน้อย แต่จำนวนเงินลดลงมาอยู่ที่ 61.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ในปี 2017 มีการระดมทุนรวม 106.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในปีนี้ คาดว่ามีสตาร์ทอัพในไทยราวๆ 800 ราย ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและได้รับการระดมทุนแล้วกว่า 100 ราย โดยสตาร์ทอัพไทยก็มีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่ภาครัฐเองก็ตื่นตัวมากขึ้นในการเข้ามีมีส่วนสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไทย


สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น

สตาร์ทอัพไทย อย่าง “bellugg” เป็นสตาร์ทอัพไทยรายแรก ที่พัฒนาแพลตฟอร์ม ฺbellugg Luggage Delivery ที่ให้บริการขนส่งกระเป๋าเดินทาง จากสนามบินไปยังโรงแรมที่พัก หรือจากที่พักไปยังสนามบิน โดยต้องการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย แต่ยังไม่สามารถเข้าเช็คอินที่โรงแรมได้ หรืออาจจะมีสัมภาระจากการช้อปปิ้งจำนวนมาก ทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง จะคิดค่าบริการตามขนาดของกระเป๋า คือ ขนาดเล็ก(ต่ำกว่า 22 นิ้ว) ราคา 300 บาท /เที่ยว ขนาดกลาง(22-28 นิ้ว) ราคา 450 บาท /เที่ยว ขนาดใหญ่ (มากกว่า 28 นิ้ว) ราคา 600 บาท /เที่ยว ซึ่งน้ำหนักและระยะทางในการขนส่งไม่มีผลใดๆต่อราคา เน้นเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่นิยมใช้บริการก็หนีไม่พ้นนักท่องเที่ยวจีน ที่เป็นยังท่องเที่ยวอันดับต้นๆของไทย  โดย “bellugg”เปิดบริการมาแล้วกว่า 3 ปี และตั้งแต่เปิดให้บริการมาก็มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น
สิทธิ เนื่องจำนงค์ และ   สิภวิช ธำรงวราภรณ์ Co-founder เบลลัคค์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า เฉพาะยอดผู้ใช้ในไทยของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 60,000  user ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 120,000 user เนื่องจากเชื่อมั่นว่า การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มที่ดี

ปัจจุบัน เบลลัคค์ ขยายแพลตฟอร์มไปยังต่างประเทศ โดยเน้นประเทศที่คนไทยนิยมไปท่องเที่ยว ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง  สิงคโปร์ ไต้หวัน และมีแผนจะขยายไปยังเวียดนาม และอินโดนีเซีย ในปีหน้า(63) 

สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น

นอกจาก สตาร์ทอัพรุ่นพี่ ที่เปิดมาหลายปี ยังมีสตาร์ทอัพน้องใหม่อย่าง “Logisty”ที่เพิ่งจะเปิดให้บริการมาได้เพียง 3 เดือน แต่นับว่ามีจุดเด่นและกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการโลจิสติกส์โดยเฉพาะ โดย“Logisty” เป็นแอพพลิเคชันและเว็บไซต์ที่เน้นให้บริการบริษัทขนส่ง ที่มักจะประสบปัญหารถจอดนิ่งและลดการวิ่งรถเที่ยวเปล่าของบริษัท 

สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น

ชนะพล ตัณฑโกศล Co-founder โลจิสตี้ คอมพานี จำกัด กล่าวว่า จากการข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก พบว่าปัญหาของการตีรถเที่ยวเปล่าหลังจากวิ่งส่งงานไปแล้ว คิดเป็นสัดส่วน 30-40% ของงาน ซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้ไปประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี ดังนั้นแพลตฟอร์มนี้จะเป็นตัวช่วยงานการหารถร่วมและหางานเสริมให้กับบริษัทขนส่งที่มีความต้องการดังกล่าว โดยในระยะแรกจะเปิดให้ดาวน์โหลดและใช้บริการฟรี ขณะที่ ในอนาคตเมื่อมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 User หรือภายในสิ้นปีนี้ ก็มีแผนที่จะเรียกเก็บค่าบริการสมาชิก แต่จะเรียกเก็บในอัตราที่ถูก โดยจะเน้นในการต่อยอดการให้เช่าพื้นที่โฆษณา 

สตาร์ทอัพ ยังอินเทรนด์ โตได้ไกลกว่าที่เห็น
จากตัวอย่างสตาร์ทอัพไทยทั้งสองรายที่กล่าวมาข้างต้น มีทั้งรายที่อยู่ในระยะเริ่มต้น และรายที่ประสบความสำเร็จจนสามารถยืนอยู่ในตลาด ไปจนถึงก้าวออกไปยังต่างประเทศได้ แต่การเป็นสตาร์ทอัพเองก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ในรายที่ต้องอาศัยต้นทุนในการนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยี ก็ต้องอาศัยการระดมทุนเพื่อเป็นการจุดประกายธุรกิจออกมาก่อน

โดยการระดมทุนในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นจากองค์กร (CVC) และนักลงทุนรายย่อย (VC & Angel Investors) ประเภทอื่น ๆ เชื่อว่าจะทำให้การแข่งขันยังคงดุเดือด เพราะสตาร์ทอัพในไทยก็ยังคงติดเทรนด์ และมีสตาร์ทอัพรายใหม่ๆเกิดขึ้นเรื่อยๆ

แต่การเฟ้นหา "ยูนิคอร์นในประเทศ" ก็เป็นเรื่องยากเช่นเดียวกัน เพราะปัจจุบัน สตาร์ทอัพไทยที่มีศักยภาพสูง ก็มักจะมองหาการลงทุนนอกประเทศ หรือ "สมองไหล" เพราะการระดมทุนในประเทศไม่เอื้ออำนวย ซึ่งนับเป็นประเด็นที่น่าคิดอยู่ไม่น้อย


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง