TNN online รอช้าไม่ได้! นักวิทยาศาสตร์อเมริกาจับมือแพทย์ สร้างแอปพลิเคชันช่วยวินิจฉัย ‘Stroke’

TNN ONLINE

Tech

รอช้าไม่ได้! นักวิทยาศาสตร์อเมริกาจับมือแพทย์ สร้างแอปพลิเคชันช่วยวินิจฉัย ‘Stroke’

รอช้าไม่ได้! นักวิทยาศาสตร์อเมริกาจับมือแพทย์ สร้างแอปพลิเคชันช่วยวินิจฉัย ‘Stroke’

โรคหลอดเลือดสมอง แสดงอาการแล้วรอช้าไม่ได้ แต่ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ในอเมริกาทดลองสร้างแอปพลิเคชันช่วยตรวจโรคให้ไวขึ้นแล้ว

เมื่อเจอใครก็ตามที่แสดงอาการของโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันที และในบางครั้งกว่าที่จะวินิจฉัยโรคได้นั้นอาจจะใช้เวลานาน จึงได้มีการนำเอาปัญหานี้ไปพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันที่จะช่วยวินิจฉัยและแสดงผลของโรคได้เร็วขึ้น

รอช้าไม่ได้! นักวิทยาศาสตร์อเมริกาจับมือแพทย์ สร้างแอปพลิเคชันช่วยวินิจฉัย ‘Stroke’

ที่มาของภาพ https://images.unsplash.com/photo-1453847668862-487637052f8a?ixlib=rb-1.2.1&ixid=eyJhcHBfaWQiOjEyMDd9&auto=format&fit=crop&w=755&q=80

ในปัจจุบัน เมื่อผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรคหลอดเลือดสมองเข้าสู่ห้องฉุกเฉิน จะมีการวินิจฉัยสองกรณีด้วยกันคือจะต้องส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจแบบ CT scans หรือรอแพทย์เข้าตรวจ จึงได้มีความพยายามที่จะช่วยเร่งเวลาของกระบวนการตรวจและช่วยลดขั้นตอนการแสกนที่ไม่จำเป็นออก นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตทและโรงพยาบาล Houston Methodist จึงได้จับมือกันสร้างแอปพลิเคชันตัวหนึ่งออกมาเพื่อแก้ปัญหานี้

รอช้าไม่ได้! นักวิทยาศาสตร์อเมริกาจับมือแพทย์ สร้างแอปพลิเคชันช่วยวินิจฉัย ‘Stroke’

ที่มาของภาพ https://newatlas.com/medical/stroke-diagnosis-app/

โดยพวกเขาเริ่มต้นจากการสร้างชุดข้อมูลที่ได้จากการให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกว่า 80 คนช่วยทดสอบการพูด และในเวลาเดียวกันก็ได้บันทึกวิดีโอด้วย iPhone ไปด้วย จากนั้นก็ได้นำชุดข้อมูลนี้ไปให้ระบบเอไอเรียนรู้และสร้างอัลกอริทึมที่จะช่วยระบุความผิดปกติของการพูดและการขยับของกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งจะเป็นตัวระบุชัดในกลุ่มอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนี้ โดยผลการทดสอบพบว่าสามารถใช้วินิจฉัยได้ถูกต้องกว่า 79% เลยทีเดียว

ถึงแม้ว่าหากเกิดกรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขึ้นจริง การส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจในโรงพยาบาลจะยังคงเป็นวิธีการที่แม่นยำที่สุด แต่การพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ก็น่าสนใจมากเนื่องจากจะสามารถประเมินผลได้ภายในเวลาเพียงแค่ 4 นาทีเท่านั้น 
หากพัฒนาจนใช้งานได้อย่างแพร่หลายจริง จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและส่งต่อไปรับการรักษาได้เร็วยิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวแนะนำ