TNN online เปิดประวัติ "สุทิน คลังแสง" ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

TNN ONLINE

การเมือง

เปิดประวัติ "สุทิน คลังแสง" ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เปิดประวัติ สุทิน คลังแสง ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เปิดประวัติ "สุทิน คลังแสง" ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เปิดประวัติ "สุทิน คลังแสง" ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 


สุทิน คลังแสง (เกิด 9 มีนาคม พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 จังหวัดมหาสารคาม ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (ประธานวิปฝ่ายค้าน) อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย และ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดมหาสารคาม



ดร. สุทิน คลังแสง เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สมรสกับ ดร.ฉวีวรรณ คลังแสง อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ มีบุตร 2 คน คือ นายรัฐ คลังแสง และ นางสาวฐาธิปัตย์ คลังแสง


ดร. สุทิน คลังแสง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ระดับปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Doctor of Philosophy Magadh University ประเทศอินเดีย นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า



ดร. สุทิน คลังแสง 


- เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2544 และ 2548 

- ต่อมาจึงได้มาสมัครในระบบเขตเลือกตั้งที่จังหวัดมหาสารคาม ในนามพรรคพลังประชาชน ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย 

- และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23


- ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน

- ในปี พ.ศ. 2563 ดร.สุทิน คลังแสง ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย


ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 9 และได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้ 29 ที่นั่ง คือผู้สมัครของพรรคในลำดับที่ 1-29




เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2563 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

พ.ศ. 2551 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

อ้างอิง




ข้อมูล : พรรคเพื่อไทย  / วิกิพีเดีย 

ข่าวแนะนำ