TNN ความรุนแรงแผ่นดินไหว แต่ละขนาดส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

TNN

InfoGraphic

ความรุนแรงแผ่นดินไหว แต่ละขนาดส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

ความรุนแรงแผ่นดินไหว แต่ละขนาดส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

รู้จักระดับของ "แผ่นดินไหว" ความรุนแรงแผ่นดินไหว แต่ละขนาดส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

รู้จัก ขนาด และ ความรุนแรงแผ่นดินไหว คืออะไร

ขนาด (Magnitude แมกนิจูดของแผ่นดินไหว 
เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด  บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น “ริกเตอร์


ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity)
แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก



ขนาดแผ่นดินไหว แบ่งออกเป็น ตามแรงสั่นสะเทือนดังนี้              

แผ่นดินไหว 1.0 - 2.9 

: เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ

แผ่นดินไหว 3.0 - 3.9

: เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน

แผ่นดินไหว 4.0 - 4.9

: เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว

แผ่นดินไหว 5.0 - 5.9

: เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่

แผ่นดินไหว 6.0 - 6.9

: เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย

แผ่นดินไหว 7.0 ขึ้นไป

: เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น


วันที่ 29 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งรายงานเกิดเหตุ แผ่นดินไหว ที่ต.ไผ่ล้อม .บางกระทุ่ม .พิษณุโลก เวลา  00.17 ตามเวลาประเทศไทย ขนาด 4.5 ความลึก 5 กิโลเมตร รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ในหลายพื้นที่บริเวณจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชร



ความรุนแรงแผ่นดินไหว แต่ละขนาดส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?



ที่มา : กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว / https://earthquake.tmd.go.th/mi.htm

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง