เกิดแผลเรื้อรังอย่าชะล่าใจ สัญญาณเสี่ยงการเกิด"โรคมะเร็งลิ้น"
เกิดแผลเรื้อรังอย่าชะล่าใจ สัญญาณเสี่ยงการเกิด"โรคมะเร็งลิ้น"
เกิดแผลเรื้อรังอย่าชะล่าใจ สัญญาณเสี่ยงการเกิด"โรคมะเร็งลิ้น"
โรคมะเร็งลิ้น เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งช่องปากที่มีความรุนแรง และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยค่อนข้างมาก โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคมาจากพฤติกรรมสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงพฤติกรรมการเคี้ยวหมาก และการมีแผลบริเวณลิ้นเรื้อรัง ซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งลิ้นได้
อาการแสดงที่ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งลิ้น ได้แก่ มีก้อน เจ็บ หรือมีแผลที่ลิ้นเรื้อรังนานประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ขึ้นไป หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากหากพบว่าเป็นโรคมะเร็งลิ้นตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โอกาสในการรักษาหายมีมากกว่า
หลักการวินิจฉัยของโรคมะเร็งลิ้น เบื้องต้นแพทย์จะตรวจดูลักษณะและขนาดของก้อนหรือแผล และตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อให้ได้ผลตรวจยืนยันอย่างทางการ รวมถึงอาจมีการทำ CT Scan หรือ MRI ร่วมด้วย เพื่อดูขนาดของก้อนเพิ่มเติม
การรักษาโรคมะเร็งลิ้น จะขึ้นกับระยะของตัวโรคและสุขภาพของผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก จากนั้นจะดูความรุนแรงของโรคจากผลชิ้นเนื้อหลังการผ่าตัดประกอบว่าผู้ป่วยควรได้รับรังสีรักษา และหรือให้ยาเคมีบำบัดต่อไปหรือไม่
ซึ่งหลักการของการผ่าตัดลิ้น ที่สำคัญคือเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกให้หมด และจะพิจารณาต่อไปว่าสูญเสียเนื้อลิ้นไปเพียงใด และสามารถซ่อมแซมอย่างไรได้บ้าง หากสูญเสียไม่มาก อาจซ่อมแซมโดยการเย็บปิดแผลได้เลย แต่หากสูญเสียเนื้อลิ้นมาก อาจจำเป็นต้องนำเนื้อเยื่อบริเวณอื่นมาซ่อมแซม เพื่อให้ลิ้นมีรูปร่างและการทำงานใกล้เคียงภาวะปกติ เช่น ผิวหนังบางๆบริเวณต้นขา ผิวหนังและหรือร่วมกับกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังแบบหนาบริเวณแขนหรือต้นขายกลอยมาซ่อมแซมซึ่งกรณีนี้ต้องมีการเย็บต่อเส้นเลือด
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ บางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่คอร่วมด้วยเนื่องจากมะเร็งลิ้นมักจะมีการแพร่กระจายไปตามต่อมน้ำเหลืองที่คอ ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์อาจพิจารณาให้รังสีรักษา และหรือให้ยาเคมีบำบัดต่อไป
อย่างไรก็ตาม การสูญเสียเนื้อลิ้น อาจมีผลต่อการพูด และการรับประทานอาหารไปบ้าง แต่เนื้อลิ้นส่วนที่ยังอยู่ จะสามารถรับรสชาติได้เท่าหรือใกล้เคียงของเดิม
ขอบคุณบทความจาก: นพ.ดนุภัทร รัตนวราห แพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา อนุสาขาด้านศัลยกรรมโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ รพ.เวชธานี
ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Website : https://www.tnnthailand.com/news/health/
Facebook : https://bit.ly/TNNHealthFacebook
Youtube : https://bit.ly/TNNHealthYoutube
TikTok : https://bit.ly/TNNHealthTikTok
Instagram : https://www.instagram.com/tnn_health/
Line @TNNHEALTH : https://lin.ee/MNckVHq
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://bit.ly/TNNHealthFacebook
ข่าวแนะนำ